"กังหันลมขนาดเล็ก" ผลงานเพิ่มประสิทธิภาพผลิตไฟฟ้า

Logo Thai PBS
"กังหันลมขนาดเล็ก" ผลงานเพิ่มประสิทธิภาพผลิตไฟฟ้า

กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากลมได้มาก แต่เสียดายที่มีราคาแพงและจำเป็นต้องใช้พื้นที่กว้างในการติดตั้งจึงไม่เหมาะกับการลงทุนระดับครัวเรือน

  ต่างจากกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กระดับกิโลวัตต์ ซึ่งมีราคาไม่แพงเหมาะสำหรับติดตั้งบนหลังคาบ้านในประเทศไทย ข้อเสียหลักของกังหันลมขนาดเล็กคือใบพัดบิดรับลมในมุมที่ต่ำลงเมื่อมีลมแรงไม่ได้ ต่างจากกังหันลมขนาดใหญ่ที่บิดได้ด้วยไฮโดร ลิค หรือมอเตอร์ไฟฟ้า ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวทำให้กังหันลมขนาดเล็กไม่สามารถบิดรับลมในมุมที่มีพัดที่ที่สุดที่มันควรจะทำงานได้ ทำให้ ดร.ชวิน จันทรเสนาวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สนใจการศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของกังหันลมขนาดเล็ก ที่มาของงานวิจัยหัวข้อ Conceptual design of small wind turbines with morphing blades 

 
โจทย์ของงานวิจัยคือการศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของกังหันลมขนาดเล็ก ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นภายใต้ข้อจำกัด เพราะเมื่อกังหันลมมีขนาดเล็กก็ยากที่จะติดตั้งระบบหรือกลไกต่างๆ ให้กังหันลมบิดใบพัดรับลมในมุมที่เหมาะสมเมื่อมีลมแรงได้ จึงคิดที่จะซ่อนกลไกการปรับบิดใบพัดไว้ภายในใบพัดที่มีความหนาไม่เกิน 3.5 เซนติเมตรและความกว้างของใบพัดไม่เกิน 1 ฟุต ซึ่งมีความเหมาะสมที่สุดกับกังหันลมผลิตไฟระดับครัวเรือนขนาดไม่เกิน 1 กิโลวัตต์
 
ดร.ชวิน ได้ไอเดียมาจาก morphing wing ปีกเครื่องบินอากาศยาน โดยดึงเอาเฉพาะจุดเด่นในเรื่องการปรับบิดรับลมมาใช้ ลบข้อเสียของกลไกการบิดมุม traling edge flap แบบปกติที่มีช่องว่างทำให้อากาศไหลทะลุได้ โดยการซ่อนกลไกไว้ภายในใบพัดทำให้ผิวภายนอกมีความเรียบลู่ลมมากที่สุด และใช้ Shape memory alloy (SMA) วัสดุฉลาดที่สามารถจำรูปได้ ร่วมกับสปริงธรรมดาๆ เป็นกลไกสำคัญในการปรับบิดใบพัดขณะหันหามุมที่มีลมแรงที่สุด 
 
กังหันลมมันผลิตไฟฟ้าอยู่แล้วเราสามารถต่อวงจรภายในให้มันเก็บไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ เมื่อต้องการบิดเปลี่ยนรูปใบพัดก็นำไฟฟ้ามาเป็นตัวให้ความร้อนกับวัสดุฉลาดจำรูป ซึ่งใช้ได้จริง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กังหันลมขนาดเล็กผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง