ศูนย์เลิกบุหรี่ใน 22 รพ.ต้นแบบช่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเลิกสูบบุหรี่-ลดนักสูบ ประหยัดงบรักษา

สังคม
22 เม.ย. 59
19:11
2,187
Logo Thai PBS
ศูนย์เลิกบุหรี่ใน 22 รพ.ต้นแบบช่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเลิกสูบบุหรี่-ลดนักสูบ ประหยัดงบรักษา
สปสช.จับมือองค์กรวิชาชีพสุขภาพควบคุมยาสูบตั้ง“ศูนย์อบรมผู้นำการส่งเสริมการเลิกและบำบัดผู้เสพยาสูบ” เผย 3 ปี ขยายศูนย์ต้นแบบ 22 แห่งทั่วประเทศ ช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่สำเร็จ ทั้งยังช่วยรัฐประหยัดงบรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากบุหรี่ได้

นพ.ชูชัย ศรชำนิ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.ได้สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อนำไปสู่การอดบุหรี่อย่างมีประสิทธิผล ทั้งการให้คำปรึกษา การติดตามและประเมินผลการอดบุหรี่ เป็นต้น

ขณะเดียวกันยังมุ่งให้เกิดการเชื่อมต่อไปสู่ชุมชนเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากบุหรี่ ซึ่งโครงการพัฒนาและจัดตั้ง “ศูนย์อบรมผู้นำการส่งเสริมการเลิกและบำบัดผู้เสพยาสูบ” ดำเนินการโดยเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ภายใต้แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย สปสช.สนับสนุนการดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มโครงการระยะแรกถึงโครงการระยะที่ 3 มีวัตถุประสงค์สำคัญมุ่งสร้างเครือข่าย พัฒนาศัยภาพด้านการอดบุหรี่ให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศในทิศทางเดียวกัน ใช้รูปแบบการอบรมครู ก. ที่มุ่งสร้างแกนนำอบรมการส่งเสริมการเลิกและบำบัดผู้เสพยาสูบ ขยายดำเนินการสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

“เป็นที่ทราบกันดีว่าบุหรี่เป็นสิ่งที่ทำลายสุขภาพ ไม่เพียงเป็นอุปสรรคสำคัญการรักษาโรค แต่ยังก่อให้เกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งปอด หัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมโป่งพอง เป็นต้น หากป้องกันได้ไม่เพียงแต่ทำให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่ยังลดรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับประเทศได้” ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าว

ทั้งนี้โครงการนี้ได้เน้นไปยังบุคลากรวิชาชีพในหน่วยบริการ ซึ่งแตกต่างจากงานณรงค์ด้านบุหรี่ของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ดำเนินการภาพรวมระดับประเทศให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย

 

สปสช.จับมือองค์กรวิชาชีพสุขภาพควบคุมยาสูบตั้ง“ศูนย์อบรมผู้นำการส่งเสริมการเลิกและบำบัดผู้เสพยาสูบ” เผย 3 ปี ขยายศูนย์ต้นแบบ 22 แห่งทั่วประเทศ ช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่สำเร็จ ทั้งยังช่วยรัฐประหยัดงบรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากบุหรี่ได้

สปสช.จับมือองค์กรวิชาชีพสุขภาพควบคุมยาสูบตั้ง“ศูนย์อบรมผู้นำการส่งเสริมการเลิกและบำบัดผู้เสพยาสูบ” เผย 3 ปี ขยายศูนย์ต้นแบบ 22 แห่งทั่วประเทศ ช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่สำเร็จ ทั้งยังช่วยรัฐประหยัดงบรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากบุหรี่ได้

สปสช.จับมือองค์กรวิชาชีพสุขภาพควบคุมยาสูบตั้ง“ศูนย์อบรมผู้นำการส่งเสริมการเลิกและบำบัดผู้เสพยาสูบ” เผย 3 ปี ขยายศูนย์ต้นแบบ 22 แห่งทั่วประเทศ ช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่สำเร็จ ทั้งยังช่วยรัฐประหยัดงบรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากบุหรี่ได้

 

ด้าน ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ประธานโครงการพัฒนาและจัดตั้งศูนย์อบรมผู้นำการส่งเสริมการเลิกและบำบัดผู้เสพยาสูบ กล่าวว่า การดำเนินโครงการแบ่งเป็น 3 ระยะ โดยโครงการระยะที่ 1 ปี 2555-2556 เป็นการนำร่องจัดตั้งและพัฒนาศูนย์อบรมผู้นำการส่งเสริมการเลิกและบำบัดผู้เสพยาสูบใน 6 พื้นที่เขตบริการ โครงการระยะที่ 2 ปี 2556-2557 ขยายจัดตั้งศูนย์อบรมผู้นำฯ อีก 7 แห่ง จนครบ 13 แห่งในพื้นที่ 13 เขตบริการ และโครงการระยะที่ 3 ปี 2557-2558 ได้จัดตั้งเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง เพื่องานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการควบคุมและบำบัดยาสูบให้เพียงพอเพิ่มขึ้น โดยมีบุคลากรของศูนย์อบรมฯ ที่จัดตั้งก่อนหน้านี้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับบุคลากรในศูนย์ที่จัดตั้งใหม่ ไม่เพียงแต่เป็นการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ยังเป็นรูปแบบในการขยายเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนที่มีพลังและยั่งยืน ทั้งยังช่วยรองรับระบบบริการเลิกยาสูบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า โครงการฯ นี้ได้สร้างความตื่นตัวใหกับบุคลากรในโรงพยาบาลสนใจและทำงานด้านการเลิกยาสูบเพิ่มขึ้น โดยในส่วนครู ก.ที่รับการอบรมมีการถ่ายทอดความรู้ไปยังบุคลากรระดับชุมชน ทั้ง อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งเป็นการขยายเครือข่ายการทำงาน ทำให้จากเดิมที่หาคนทำงานเรื่องนี้ยาก เพราะนอกจากไม่มีการสนับสนุนงบประมาณและองค์ความรู้เกี่ยวกับการอดและเลิกบุหรี่แล้ว ยังเป็นงานที่ไม่ได้อยู่ใน KPI ทั้งของกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.จึงเป็นเพียงแค่งานฝากเท่านั้น จากการติดตามและประเมินผลดำเนินงานศูนย์ที่จัดขึ้น พบว่าอัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จเพิ่มขึ้น บางแห่งสูงถึงร้อยละ 30 หลังการดำเนินงาน 6 เดือน จากแต่เดิมอัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จในสถานบริการภาครัฐอยู่ที่เพียงร้อยละ 10-20 เท่านั้น นับเป็นแนวโน้มที่ดี

“ผลของการดำเนินโครงการ ทำให้งานบุหรี่ในโรงพยาบาล จากที่เคยตั้งรับในหน่วยบริการ รอให้คนป่วยเป็นโรคเรื้อรังก่อนจึงส่งมาเลิกบุหรี่ เป็นการทำงานเชิงรุก มีการพัฒนาทีมและเชื่อมต่อการทำงานลงสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และชุมชน จนในหลายพื้นที่มีการจัดตั้ง “จิตอาสาฟ้าใส” ซึ่งเป็นผู้ที่เคยสูบบุหรี่มาก่อนมาร่วมเป็นพี่เลี้ยงและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ ขณะที่บางพื้นที่ยังได้เชื่อมต่อกับชุมชน วัดและมัสยิด อย่างที่ จ.นครนายก ที่ได้มีการรุกทำงานในวัด โดยชวนเจ้าคณะจังหวัดเข้าร่วม ส่งผลให้วัดในนครนายกเป็นวัดปลอดบุหรี่ทั้งจังหวัด” ผศ.นพ.สุทัศน์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้คงต้องผลักดันศูนย์จัดตั้งขึ้นให้มีความยั่งยืนและให้งานด้านการอดบุหรี่เป็นงานที่อยู่ในระบบไม่ได้เป็นเพียงแต่งานฝาก ซึ่งขณะนี้ รมว.สาธารณสุขได้เห็นความสำคัญของงานนี้และได้จัดเข้าไปอยู่ในแผนงานบริการกระทรวงสาธารณสุข

ผศ.นพ.สุทัศน์ กล่าวต่อว่า งานขับเคลื่อนเพื่อเลิกบุหรี่แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นงานด้านการป้องกันและไม่ใช่บทบาทหน้าที่ สปสช.ในการสนับสนุน แต่งานป้องกันและงานรักษาบางครั้งแยกกันไม่ออก และหลายโรคใช้มาตรการป้องกันดีกว่ารักษา อีกทั้งโครงการนี้เป็นการมุ่งเน้นไปยังบุคลากรของโรงพยาบาลที่เป็นการสร้างต้นแบบ ทั้งนี้หากทำแต่งานรักษาไม่ป้องกันเลย อนาคตประเทศคงลำบากจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง