เมื่อปี 2551 ศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ ร้องเรียนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบผู้บริหารโรงเรียนเรียกรับเงิน 100,000 บาท และปี 2552 นายชาญชัย อิสระสนารักษ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ให้โรงเรียนชื่อดัง 4 แห่งในกรุงเทพฯ เข้าข่ายเรียกรับ "แป๊ะเจี๊ยะ" ส่งข้อมูลการรับสมัครนักเรียนใหม่ทั้งหมด
ศ.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยอมรับว่าการจ่ายเงินให้เด็กเข้าเรียน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะสามารถการันตีคุณภาพการศึกษาของลูกได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงิน หรือ แป๊ะเจี๊ย ก็เป็นวัฒนธรรมเงียบที่พร้อมจะทำลายระบบการศึกษาไทย และไม่แปลกใจที่ผู้ปกครองยอมจ่ายแป๊ะเจี๊ยะในราคาสูงถึง 400,000 บาท เพราะผลวิจัยธนาคารโลกชี้ชัดว่า คุณภาพการศึกษาเด็กกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีความรู้ความสามารถต่างกันถึง 3 ปี ทำให้เกิดช่องว่างความเลื่อมล้ำการศึกษาไทยระหว่างคนรวยและคนจน
จากการตรวจสอบเส้นทางการศึกษาเด็กกรุงเทพฯ พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้ลูกเข้าโรงเรียนเกรดเอ ตั้งแต่ระดับอนุบาล เช่น ร.ร.ละอออุทิศสวนดุสิต ชั้นประถมศึกษา คือ ร.ร.สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มัธยมตอนต้นถึงตอนปลาย คือ ร.ร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ร.ร.เตรียมอุมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขณะที่นายคมเทพ ประภายนต์ นายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ กล่าวว่า ทางสมาคมเป็นห่วงกรณีผู้ปกครองยอมจ่ายเงินเพื่อให้บุตรหลานได้เข้าเรียนในโรงเรียนดัง มีชื่อเสียง และต้องเร่งแก้ปัญหาแป๊ะเจี๊ยะอย่างรวดเร็ว เพราะถือเป็นวงจรที่ทำลายการศึกษาไทย และอาจส่งผลต่อค่านิยมของเด็กที่เห็นว่าเงินสามารถซื้อทุกอย่างได้ แม้กระทั่งที่นั่งในโรงเรียนดัง
แท็กที่เกี่ยวข้อง: