ช่วงปี 2522-2526 อิตาเลียนไทย เผชิญปัญหา สภาพธุรกิจก่อสร้างแข่งขันสูง ต้องหาพันธมิตรต่างชาติโดยฉพาะญี่ปุ่น เริ่มประมูลงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ โครงการแยกก๊าซมาบตาพุด ต่อมาก็มาได้รับงานใหญ่ในปี 2539 คือ การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ท่ามกลางการถูกโจมตี และการร้องเรียนว่ามีการล็อคสเปค
จุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ การนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีเปรมชัย เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่เป็นหัวหอกสำคัญ ท่ามกลางความเห็นต่างของผู้พ่อและพี่เขย ต่อมาเมื่อทั้ง 2 คน เสียชีวิตในเวลาไล่เลี่ยกัน "เปรมชัย" ก็ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของอาณาจักรแสนล้าน
โครงการ ไอทีดี โดยมีงานก่อสร้างที่อยู่ในมือจำนวนมาก ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ วงเงินกว่า 22,000 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ,สายสีทอง ,สายสีเขียว และสายสีแดง และยังมีโครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช โครงการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 โรงไฟฟ้าแม่เมาะมูลค่า 35,000 ล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท
ส่วนโครงการต่างประเทศ ที่สำคัญ คือโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ส่วนโครงการที่เตรียมจะเข้าประมูล คือโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 600,000 ล้านบาท รวมถึงรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน วงเงิน 120,000 ล้านบาท โดยเปรมชัย เคยให้สัมภาษณ์ว่า ปีนี้คาดว่าจะได้งานจากภาครัฐมูลค่ารวม 300,000 ล้านบาท หรือ ประมาณร้อยละ 30 ของโครงการทั้งหมด