"คนกรุง" ร้อยละ 77 แบกภาระหนี้บ้าน-ผ่อนรถ-บัตรเครดิต

สังคม
9 ต.ค. 61
17:17
3,019
Logo Thai PBS
"คนกรุง" ร้อยละ 77  แบกภาระหนี้บ้าน-ผ่อนรถ-บัตรเครดิต
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับบ้านสมเด็จโพลล์ เผยคนกรุงร้อยละ 77.5 เป็นหนี้สิน มากสุดผ่อนบ้านร้อยละ 37 เคยผิดนัดผ่อนชำระเผยรอบ 1 ปี มีผู้บริโภคร้องเรื่องการเงินการธนาคารกว่า 300 ราย เป็นหนี้บัตรเครดิตมากสุด จี้รัฐเข้มงวดบังคับใช้ พ.ร.บ.ทวงหนี้เคร่งครัด

วันนี้(9 ต.ค.2561) นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เผยผลทดสอบ หนี้ครัวเรือนคนกรุง ซึ่งเป็นผลสารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหนี้สินครัวเรือน จากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 1,171 กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 24 -28 ส.ค.นี้

ผศ.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สารวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้ต้องการสะท้อนความคิดเห็นเรื่องหนี้สินครัวเรือน จากข้อมูลพบว่า 77.5% ของกลุ่มตัว อย่าง มีหนี้สินโดย 37.6% เป็นหนี้เกี่ยวกับการกู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์

28.2% เป็นการกู้ซื้อรถยนต์ ส่วน 18.8% เป็นการกู้ยืมเงินจากหนี้นอกระบบ และ 17% เป็นการกู้ยืมสินเชื่อส่วนบุคคล และส่วนใหญ่เป็นหนี้ก่อนปี 2561 ที่น่าสนใจคือการซื้อบ้าน ที่พักอาศัย เป็นเหตุผลหรือความจำเป็นอันดับแรกที่ทำให้คนกรุงต้องเป็นหนี้

สำหรับแหล่งเงินกู้อันดับหนึ่ง หรือ 36.4% คือ ธนาคารพาณิชย์ รองลงมา 16.7% คือบริษัทไฟแนนช์ ลิสซิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบหนี้คือ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ นอกจากนี้ 15.3% ยังต้องใช้บริการของคนปล่อยกู้ (หนี้นอกระบบ)

นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงตัวเลขหนี้สินหรือหรือการกู้ยืมเงิน พบว่า 40% เป็นหนี้น้อยกว่า 100,000 บาท รองลงมา 30% เป็นหนี้ในช่วง 1-5 แสนบาท และอันดับสาม 17.4% เป็นหนี้ในช่วง 5 แสน – 1 ล้านบาท

ชี้เคยถูกทวงถามหนี้-ผิดนัดผ่อนชำระ

สำหรับสภาพคล่องในการชำระหนี้ พบว่า 53.4% เคยผิดนัดผ่อนชำระ และ 34.4% ไม่เคยผิดนัดผ่อนชำระ ส่วนเรื่องความรู้เกี่ยวกับเรื่องหนี้ คนกรุงส่วนใหญ่ 67.5% ทราบข้อมูลเรื่องอัตราดอกเบี้ยของการกู้ยืมเงิน ขณะที่ 52.3% ทราบว่ามีกฎหมายเรื่องทวงถามหนี้ และ 46.3% ที่เคยถูกทวงถามหนี้ โดย 33.5% ถูกทวงถามหนี้ในลักษณะของจดหมาย รองลงมา 19.6% เป็นพูดจาไม่สุภาพ และ 15.4% คิดดอกเบี้ยแพงเกินจริง

ผศ.สิงห์ กล่าวว่า มีกลุ่มตัวอย่าง 22.8% ที่เคยถูกดำเนินคดี ฟ้องศาลหรือยึดทรัพย์ และเมื่อสอบถามถึงมาตรการที่ทางรัฐดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้ พบว่า 40% รู้ว่ามีแหล่งสินเชื่อที่เป็นมาตรการใหม่ เช่น คลินิกแก้หนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย  สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับของธปท. 

เปิดตัวเลขร้องเรียนธนาคาร 392 ราย

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ และเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า การช่วยเหลือของภาครัฐ เช่น สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง และสินเชื่อรายย่อย เพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกับของ ธปท.คิดดอกเบีย้ ที่สูงถึง ร้อยละ 36 ต่อปี ซึ่งไม่ได้เป็นการช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างแท้จริง รัฐควร กำหนดอัตราดอกเบีย้ ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกาหนด คือร้อยละ 15 ต่อปี หากจะช่วยคนที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ที่แท้จริง

นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มพบ. ภาพรวมว่าคนกรุงเทพฯ มีข้อมูลไม่ชัด เจนเพียงพอที่จะตัดสินใจเข้าสู่มาตรการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ข้อมูลจาก มพบ.และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ 1 ม.ค.- 30 ก.ย.นี้ มีการร้องเรียนเรื่องการเงินการธนาคาร รวม 392 ราย เรื่องหนี้ 349 ราย แบ่งเป็นปัญหาหนี้บัตรเครดิต 160 ราย หนี้จากการเช่าซื้อ 105 ราย หนี้จากสินเชื่อ 80 ราย และหนีนอกระบบ 4 ราย และ 152 รายถูกดำเนินคดี และ 11 ราย ถูกทวงหนี้ผิดกฎหมาย

โดยเสนอให้คณะกรรมการฯ มีหนังสือถึงสำนักงานตารวจแห่งชาติ และอธิบดีกรมการปกครอง สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของถือปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.ทวงถามหนีโดยเคร่งครัด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง