ส่อง "นโยบายกระดาษ" ฝุ่น PM2.5 คลุมเมืองซ้ำ แต่มาตรการไม่คืบ

สิ่งแวดล้อม
30 ก.ย. 62
11:12
2,899
Logo Thai PBS
ส่อง "นโยบายกระดาษ" ฝุ่น PM2.5 คลุมเมืองซ้ำ แต่มาตรการไม่คืบ
กรีนพีช ระบุมาตรการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ของภาครัฐยังอยู่แค่บนกระดาษและในห้องประชุม ติงคำอธิบายแบบเดิมว่าปัจจัยจากอุตุนิยมวิทยา ที่มีผลทำให้ค่าฝุ่นพุ่ง ชงเสนอปรับค่ามาตรฐานใหม่ และต้องยอมให้จำนวนวันที่มีฝุ่นเกินแค่ร้อยละ 5 ใน 365 วันหรือ 18 วันในรอบปี

วันนี้ (30 ก.ย.2562) นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า หลังจากฤดูกาลฝุ่นช่วงต้นปี 2562 ในหลายพื้นที่ของประเทศได้ผ่านพ้นไปท่ามกลางคำถามของสาธารณะชนต่อมาตรการรับมือของหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ช่วงเดือนก.ย.2562 มลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามพรมแดนในสุมาตรา และกาลิมันตันของอิน โดนีเซียส่งผลให้คุณภาพอากาศรวมถึง อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อประชาชนหลายจังหวัดทางภาคใต้ ลมตะวันออกได้พัดพามวลอากาศสะอาดจากอ่าวไทยเข้าสู่พื้นที่ภาคใต้ ส่งผลให้ความเข้มข้น PM2.5 ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ในขณะที่อิทธิพลความกดอากาศสูงจากจีนก็ได้ส่งผลให้ความเข้มข้น PM2.5 ในหลายพื้นที่ของภาคกลางโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครเพิ่มสูงขึ้นในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

เราอาจจะได้รับคำอธิบายแบบเดิมๆ จากหน่วยงานรัฐว่าปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา (อุณหภูมิ ความเร็ว/ทิศทางลม ความกดอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ฯลฯ) มีอิทธิพลต่อคุณภาพอากาศและในที่สุดก็อาจใช้เป็นข้ออ้างว่า

เดี๋ยวคุณภาพอากาศก็น่าจะดีขึ้น และความเป็นจริงที่ใช้เป็นข้ออ้างนี้เอง ที่ทำให้มาตรการต่างๆ และการควบคุมมลพิษทางอากาศและฝุ่น PM2.5 จากแหล่งกำเนิด อยู่แต่บนกระดาษและในห้องประชุม

ในการส่องมาตรการของรัฐในวันที่ฝุ่น PM2.5 มาเยือนอีกครั้งหนึ่ง เราจะพิจารณาจากรายงานสถาน การณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและผลการดําเนินงานของกรมควบคุมมลพิษในปี พ.ศ.2562

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง "ประยุทธ์" สั่งด่วนแก้ฝุ่น PM2.5 คลุมเมือง

การติดตามตรวจสอบปริมาณฝุ่น PM2.5 

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ได้เฝ้าระวังติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 พื้นที่กรุงเทพ มหานครและปริมณฑล ที่มักพบเกินมาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ระหว่างเดือนธ.ค.–เม.ย.ของทุกปี โดยมีสถานีตรวจวัด PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งหมด 19 สถานี ดังรูป

 

ทั้งนี้คพ.ระบุว่า ทำการรายงานข้อมูลสถานการณ์ PM2.5 ในช่วงเดือนธ.ค.–เม.ย.) จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของคพ.และสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกทม. เพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนรับทราบข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย สะดวกและทันต่อสถานการณ์ผ่านช่องทางเว็บไซต Air4Thai และเฟซบุุ๊กแฟนเพจกรมควบคุมมลพิษเป็นประจําทุกวัน

นอกจากนี้ยังใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อแจ้งเตือนหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินมาตรการในการลดฝุ่น PM2.5 และการเฝ้าระวังและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไปและประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามสถานการณ์ PM2.5 อย่างต่อเนื่อง

คพ.ยังได้ใช้แบบจําลองทางคณิตศาสตร์พยากรณ์สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ล่วงหน้า 1 วัน ใน 11 พื้นที่ ซึ่งผลการพยากรณ์รายงานอยู่ในรายงานสถานการณ์ประจําวัน ในปี 2563 คพ.จะพยากรณสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ครอบคลุมพื้นที่กทม.และปริมณฑล

ระหว่างเดือนพ.ย.2561-เดือนพ.ค.2562 มีการประชุมของคพ.และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กทม.และปริมณฑลทั้งหมด 16 ครั้ง โดยมุ่งขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” อย่างเป็นรูปธรรมภายในเดือนต.ค.จากนั้นจะมีการประชุมมอบนโยบายแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเดือนพ.ย.นี้ 

ข้อคิดเห็นของกรีนพีซ

ขยายเครือข่ายสถานีตรวจวัด PM2.5 รายงานคุณภาพอากาศตามเวลาจริงรายชั่วโมงและใช้ฐานข้อมูลคาดการณ์คุณภาพอากาศในอีก 5-7 วันล่วงหน้า

ขอบเขตของอันตรายด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะ PM2.5 ในประเทศไทย ส่งผลให้มีความต้องการเร่งด่วนในการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศแบบทันท่วงทีมากขึ้นเพื่อที่ประชาชนและชุมชนจะสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลดังกล่าวและมีมาตรการระยะสั้นในการปกป้องสุขภาพของตนได้

เราเห็นได้ชัดเจนว่าการรายงานข้อมูลสถานการณ์ PM2.5 จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของคพ.ในเขต กทม.และปริมณฑล ครอบคลุมเนื้อที่ราว 7,761 ตารางกิโลเมตร) จำนวน 19 จุดนั้นไม่เพียงพอ

แม้ว่าจะมีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อพยากรณ์สถานการณ์ PM2.5 ล่วงหน้า 1 วัน เพื่ออุดช่องว่าง แต่ข้อมูลในรายงานสถานการณ์ประจำวันที่รวมการพยากรณ์ก็ยากที่จะเข้าถึงอยู่ดี

ส่วนสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครที่มีกระจายอยู่ทุกเขตนั้นจะรายงานผ่านเว็บไซต์ http://bangkokairquality.com/bma/ ที่แยกต่างหากจากแพลทฟอร์มของ คพ. แม้ว่าคพ.จะนำข้อมูลมารายงานรวมกัน แต่ก็ไม่ได้ผนวกอยู่บนแอพพลิเคชั่น Air4Thai สร้างความลักลั่นในการสื่อสารมากขึ้นไปอีก

 

นอกเหนือจากความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศราคาสูงของหน่วยงานภาครัฐ การสร้างข้อมูลสาธารณะโดยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศราคาต่ำเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเมืองและชุมชนเพื่อเร่งการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศตามเวลาจริงและเป็นข้อมูลของพื้นที่นั้นๆ จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เห็นการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐในเรื่องนี้ เราจึงได้เห็นเครือข่ายนักวิชาการริเริ่มนวัตกรรม เช่น Dust Boy ขึ้นเอง ส่วนประชาชนก็ต้องซื้อหาเครื่องมือมาติดตั้งโดยไม่รอภาครัฐ

เครือข่ายการตรวจวัด PM2.5 โดยใช้เครื่องมือขนาดเล็กที่ริเริ่มโดยประชาชนและกลุ่มต่างๆ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

กรีนพีซ ยืนยันว่าการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศตามเวลาจริง (รายชั่วโมง) เป็นแนวทางหนึ่งที่มี ประ สิทธิภาพในการปรับปรุงคุณภาพอากาศ การรายงานคุณภาพอากาศที่ทันท่วงทีจะขยายการรับรู้ในทางสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนการลงมือปกป้องสุขภาพ

ความก้าวหน้าในการควบคุมและลดมลพิษทางอากาศของจีนหลังจากดําเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศของประเทศคือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพภาพอากาศตามเวลาจริงก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อการกำหนดนโยบายและการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศ

ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศหนึ่งที่มีโครงการตรวจวัดคุณภาพอากาศท่ีเข้มข้นที่สุดและเป็นผู้นำในการยกระดับการจัดการคุณภาพอากาศในเมืองหลักต่างๆ อ่านเพิ่มเติมจากรายงานสถานะคุณภาพอากาศกรุงปักกิ่ง ปี พ.ศ.2553-ส.ค.2563

วาระแห่งชาติ-มาตรฐานคุณภาพอากาศ PM2.5 ต้องเข้มงวดขึ้น

องค์การอนามัยโลก (WHO, 2011) ระบุว่าไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่ามีระดับฝุ่นละอองที่ปลอดภัยหรือระดับฝุ่นละอองท่ีไม่แสดงผลเสียต่อสุขภาพอนามัย (There is no evidence of a safe level of exposure or a threshold below which no adverse health effects occur) ดังน้ัน จึงเป็นภาระกิจชองหน่วยงานรัฐทั้งในด้านสุขภาพอนามัยและหน่วยงานด้านควบคุมแหล่งกำเนิดจะต้องพยายามปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพอากาศให้เข้มงวดข้ึนในระยะยาว

มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศของประเทศไทยมีรูปแบบเดิมตามที่ใช้ในปี พ.ศ.2524 ซึ่งแตกต่างจากมาตรฐานนานาประเทศที่ได้มีการพัฒนามาโดยตลอด และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มาตรฐานแตกต่างกันออกไป

มาตรฐานฝุ่นละอองในบรรยากาศประกอบด้วยมาตรฐานระยะสั้น (24 ชั่วโมง) และระยะยาว (1 ปี) ความแตกต่างของรูปแบบมาตรฐานอยู่ที่มาตรฐานระยะสั้นสำหรับประเทศไทย จะกำหนดค่าสูงสุดที่ระดับฝุ่นละออง ต้องไม่เกินแม้แต่วันเดียวในรอบปี มีข้อเสนอให้ปรับมาตรฐานฝุ่น PM10 และ PM2.5 ของประเทศไทยให้เป็นรูปแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 95 กล่าวคือ

ยอมให้มีจำนวนวันที่เกินมาตรฐานได้ร้อยละ 5 ใน 365 วัน หรือเท่ากับ 18 วันในรอบปี

 

 

การใช้รูปแบบมาตรฐานแบบเปอร์เซ็นต์ ไทล์มีความเหมาะสมกับพลวัตรของคุณภาพอากาศ การที่ความเข้มข้นสูงสุดของ PM2.5 มีความแปรปรวนสูงอาจได้รับอิทธิพลจากสภาพอุตุนิยมวิทยาท่ีเลวร้ายในเวลาสั้นๆ หรือมีแหล่งกำเนิดมลพิษที่มากผิดปกติในพื้นท่ีหรือพัดพาจากพื้นที่อื่นในวันน้ัน เมื่อพบว่าค่าเกินมาตรฐานแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์ จะเป็นส่ิงบอกเตือนหน่วยงานว่าต้องมีมาตรการระยะสั้นในการควบคุมมลพิษอากาศจากแหล่งกำเนิดไม่ให้เกินจำนวนวันที่เกินค่ามาตรฐานที่ยอมได้

ด้วยเหตุนี้เอง จะต้องปรับตัวเลขความเข้มข้นของ PM2.5 ให้เป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และเพื่อนำไปสู่มาตรการที่เข้มงวดในการลดการปล่อย PM2.5 จากแหล่งกำเนิด ค่าเฉลี่ย PM2.5 รายปีจะต้องปรับให้เป็น 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นี่คือการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมประการหนึ่ง หากรัฐบาลจะต้องขับเคลื่อนวาระแห่งชาติในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเดือนพ.ย.และธ.ค.นี้

คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งของ #RightToCleanAir #ขออากาศดีคืนมา โดยร่วมผลักดันคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้กำหนดมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไป (ambient air standard) ขึ้นใหม่โดยมีค่าเฉลี่ยรายปี 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงเป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2562

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช้านี้ กทม.-ปริมณฑล ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ 13 พื้นที่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง