ศบค.ตีวงค้นหาโรค “กลุ่มแรงงาน” หวั่นซ้ำรอยสิงคโปร์

สังคม
21 เม.ย. 63
13:06
1,388
Logo Thai PBS
ศบค.ตีวงค้นหาโรค “กลุ่มแรงงาน” หวั่นซ้ำรอยสิงคโปร์
ศบค.แถลง (21 เม.ย.) ผู้ป่วย COVID-19 เพิ่ม 19 คน รวม 2,811 คน หายป่วย 2,108 คน เสียชีวิตอีก 1 คน เป็นแท็กซี่ที่มีประวัติรับส่งคนจากสนามมวย เตรียมสแกนแรงงานต่างด้าว ห่วงซ้ำรอยระบาดแบบซูเปอร์สเปรดเดอร์ ขณะที่อาชีพฟรีแลนด์ในไทย ติดเชื้อสูงสุด 395 คน

วันนี้ (21 เม.ย.2563) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าวสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ว่า พบมีผู้ป่วย COVID-19 เพิ่ม 19 คน รวมตัวเลขสะสม 2,811 คน 2,108 คน รักษาตัวในโรงพยาบาล 655 คน และมีผู้เสียชีวิตอีก 1 คน รวมมีผู้เสียชีวิตสะสม 48 คน เป็นชายไทยอายุ 50 ปีคนขับแท็กซี่ที่มีประวัติรับส่งคนจากสนามมวยลุมพินี และเข้ารักษาตัวเมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา 

สำหรับส่วนผู้ป่วยใหม่ 19 คน แบ่งเป็นสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 10 คน ไปในสถานที่ชุมชน ห้าง ตลาดนัด 2 คน อาชีพเสี่ยง 1 คน ร่วมพิธีทางศาสนา 1 คน และมาจากการค้นหาเชิงรุก 1 คนในพื้นที่จ.ยะลา และตรวจพบก่อนผ่าตัด 2 คน ขณะที่ยังอีก 1 คนอยู่ระหว่างกักตัวในสถานที่ที่รัฐกำหนด 1 คนมาจากสหรัฐอมริกา ซึ่งทำให้รวมมีการตรวจพบผู้ติดเชื้อในระหว่างอยู่ในสถานที่กักกันของรัฐรวม 71 คน


"สิงคโปร์" เจอซูเปอร์สเปรดเดอร์ระบาดในแรงงาน

โฆษก ศบค.กล่าวว่า สถานการณ์ในระดับโลก มีผู้ป่วยติดเชื้อ 2,481,287 คน เสียชีวิต 170,436 คน โดยสหรัฐอเมริกามีผู้ ติดเชื้อมากที่สุด 792,759 คน เสียชีวิต 42,514 คน เมื่อวานนี้ (20 เม.ย.)ติดเชื้อเพิ่มวันเดียว 28,494 คน ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 55 ของโลก ส่วนในเอเชียพบว่าญี่ปุ่น ติดเชื้อเพิ่ม 338 คน

ส่วนสิงคโปร์ น่าเป็นห่วงติดเชื้อเพิ่ม 1,426 คน โดยเพิ่มสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของกลุ่มอาเซียนส่วนใหญ่เจอจากกลุ่มแรงงานและคนต่างด้าว อยู่ในห้องรวมกัน 12-20 คน และแต่ละหอพักมีคนอยู่เป็น 1,000 คนขึ้นไป

จากครั้งแรกที่สิงคโปร์พบแรงงานชาวบังกลาเทศ ติดเชื้อ 4 คนในหอพัก มี.ค.จนกระทั่งเมื่อวานนี้ ผู้ติดเชื้อขยายเพิ่มเป็น 1,000 คน หรือซูเปอร์สเปรดเดอร์ ตอนนี้มีตัวเลขสะสมรวม 5,992 คน

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ตอนนี้สิงคโปร์ใช้มาตรการล็อกดาวน์หอพักและอื่น ๆ 43 แห่งตั้งหน่วยงานดูแลแรงงานเพื่อหยุดการแพร่ระบาด โดยไม่ให้เคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวระหว่างหอพัก  แรงงานทุกคนจะได้รับค่าจ้างระหว่างกักตัว พร้อมจัดทีมดูแล คัดกรองในบริเวณดังกล่าว ส่วนแรงงานที่หายดีแล้ว หรือไม่พบเชื้อจะนำไปพักบนเรือ

ดังนั้นจากกรณีของสิงคโปร์ทำให้กระทรวงสาธารณสุขของไทย และระดับจังหวัดจะร่วมสแกนพื้นที่ตรวจสอบความเป็นอยู่แรงงาน และมีสาธารณสุขต่างด้าว อาสาสมัคร เข้าไปดูแลและให้ความรู้ในหลายจังหวัดของไทย เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับที่เกิดกับสิงคโปร์

ขณะนี้ไทยมีทั้งคนไทยที่จะเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และอีกสวนเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน นั้นจะต้องควบคุมป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค เพื่อไม่ให้เกิดซูเปอร์สเปรดเดอร์แบบที่สิงคโปร์เจอ

โดยวันนี้ จะมีคนไทยเดินทางกลับจากไต้หวัน 120 คน ถึงไทยเวลา 17.45 น. ส่วนญี่ปุ่น เวลา 15.30 น. จำนวน 80 คน และเวลา 16.30 น. 20 คน โดยจะเข้ากักตัวในสถานที่ที่รัฐกำหนด 14 วัน

อ่านข่าวเพิ่ม จับตา 14 วันกลุ่มเสี่ยงแจกของดอนเมืองหวั่น "ซูเปอร์สเปรดเดอร์"

เปิด 20 อาชีพเสี่ยงติดเชื้อสูงสุดในไทย


นอกจากนี้โฆษก ศบค.กล่าวว่า จากข้อมูลทางระบาดวิทยาที่กรมควบคุมโรคนำเสนอพบว่าในสัปดาห์ 15 -16 นี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากการเดินทางกลับจากต่างประเทศ และกลุ่มที่ไปตลาดนัด รวมถึงกลุ่มที่จะไปรับบริจาคด้วย ต้องพยายามป้องกันตัวเอง โดยพบว่ากลุ่มจากต่างประเทศกลับมา 71 คน รวมทั้งที่อยู่ในสถานที่กักตัวของรัฐ แต่ยังขอให้มั่นใจว่ามีมาตรการ 100% ที่ต้องรับมือกลับจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างขึ้นพบว่ามีกลุ่มอาชีพเสี่ยง หรือทำงานในสถานที่แออัด 39 คน ไปสถานที่ชุมนุมชน เช่น ตลาดนัด 24 คน

จากการวิเคราะห์ผู้ป่วยทั้งหมดมาเป็น 20 อาชีพเสียงที่พบการติดเชื้อแล้วกลับพบว่ากลุ่มฟรีแลนซ์หรืออาชีพรับจ้างทั่วไป ติดเชื้อมากที่สุด 395 คน ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว 308 คน และพนักงานบริษัท โรงงาน 235 คนพนักงานในสถานบันเทิง 176 คน กลุ่มนักเรียนและนักศึกษา 64 คน

กลุ่มพวกนี้ เป็นวัยทำงานอายุ 29-30 ปี เป็นกล่มก้อนใหญ่มากที่ต้องให้ความสำคัญเพราะเป็นพาหะนำโรค นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแรงงานต่างด้าว 

เชื่อว่าหลายคนอาจจะเบาใจได้ แต่อย่าวางใจ เพราะตัวเลข 2 หลักที่เจอ 19 คนก็ยังไม่ได้วางใจ เพราจากสิงคโปร์จาก 4 คนสู่หลักพันคนได้ และขอความร่วมมือเอกชนให้ WFH เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

ไทยเสี่ยงระบาดระลอก 2

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ ตอบคำถามการติดเชื้อระลอกใหม่ว่า ขณะนี้ไทยมีการคุมแล้วเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นส่วนที่ช่วย และการ ผ่อนปรน ต้องเรียนจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และอังกฤษ สหรัฐ อิหร่าน รวมทั้งชาติอื่นๆที่เขามีทั้งเริ่มผ่อนปรน และไม่ผ่อนปรน

ทางศบค.และกระทรวงสาธารณสุข มีการพูดคุยกันว่าเราดูรายละเอียดและศึกษาแนวทางจากประเทศเหล่านี้  โดยอธิบกรมควบคุมโรคระบุว่าต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่ามาตรการล็อกดาวน์ ไม่ได้ยกเลิก แต่เป็นการผ่อนปรน โดยตอนนี้ยังอยู้ในช่วงของสถานการณ์ฉุกเฉิน และยังต้องอาศัยความร่วมมือจากระดับพื้นที่ในการควบคุมโรค

วันนี้ผู้ติดเชื้ออยู่ในตัวเลข 2 หลัก แต่ต้องช่วยให้ต่ำกว่า 10 คนให้ได้อย่างน้อย 14 วัน หากทำแบบนี้ได้ไทยจะเป็นชาติแรกของโลกที่จะซีลตัวเองคุมโรค และอยู่ภายใต้เงื่อนไของ New Normal

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็ก 2 ขวบชุมพรติด COVID-19 จากแม่ "รับเชื้อ" ในโรงพยาบาล

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง