นายภูมิธรรม ยอมรับว่า อยู่ในแผน ซึ่งหมายถึง แผนการพัฒนากองทัพเรือกับสหรัฐฯ แต่ในคำอธิบาย กลับระบุไม่ชัดว่า แผนที่ว่านี้ หมายถึง "ไทย" เปิดดีลให้ "สหรัฐฯ" ขอใช้พื้นที่ "ฐานทัพเรือพังงา" เป็นฐานทัพ เพื่อหวังแลกดีล-เจรจากำแพงภาษีตอบโต้ 36 % ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ จริงหรือไม่
- กมธ.เศรษฐกิจฯ วุฒิสภา ชงเปิดอภิปรายด่วน ปมภาษีนำเข้า 36%
- หวั่นเสียโอกาส 47 อุตฯ 11 คลัสเตอร์ยื่นคลังเจรจาลดภาษีสหรัฐฯ
- ไทยเตรียมซอฟต์โลน 2 แสนล้าน รับมือภาษีทรัมป์ SME กระทบหนัก

ทีมข่าวไทยพีบีเอส โทรศัพท์ไปสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กับนายภูมิธรรม ซึ่งย้ำคำเดิมว่า อยู่ในแผน แต่ไม่รู้ว่าเป็นแผนอะไร หรือจะเป็นแผนที่เจรจาลดภาษีหรือไม่ และในฐานะรองนายกฯ ด้านความมั่นคง คงต้องพูดคุยประเด็นนี้กับกองทัพเรือ

"รศ.ปณิธาน" ชี้ กลาโหม ต้องแจงปมสหรัฐฯ ขอตั้งฐานทัพ
ขณะที่ รศ.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง และการต่างประเทศ ระบุว่า ไม่แน่ใจว่า การดีลรอบนี้ จะดีลเงื่อนไขฐานทัพเรือพังงา เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ แต่ก่อนหน้านี้ มีข้อเสนอจากสหรัฐฯ เพราะต้องการขยายฐานทัพเรือฝั่งทะเลอันดามัน-มหาสมุทรอินเดีย ในสมัยของประธานาธิดี "บารัค โอบามา" และ "ไบ เดน"

รศ.ปณิธาน ยังระบุว่า กระทรวงกลาโหม ต้องออกมายืนยันว่าเป็นข้อตกลงเดิม หรือ ข้อตกลง-ข้อเสนอใหม่ เพราะจะแตกต่างกัน เมื่ออำนาจการต่อรองทางด้านความมั่นคงลดลงจากเดิม หลังจากสหรัฐฯ ไปตั้งฐานทัพประเทศอื่น ๆ ก่อนตั้งข้อสังเกตถึงจดหมายของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เขียนถึงความต้องการดีลเรื่องความมั่นคง

ขณะที่แหล่งข่าวในกองทัพเรือ ระบุว่า รัฐบาล ยังไม่ได้ส่งสัญญาณใด ๆ มายังกองทัพเรือ ทั้งในส่วนฐานทัพเรือพังงา และการจะขอใช้พื้นที่ทางทหารที่อู่ตะเภา ก่อนระบุว่า หากสหรัฐฯ ต้องการตั้งฐานทัพในพื้นที่จังหวัดพังงา เพราะต้องการขยายอิทธิพลไปยังมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งปัจจุบันสหรัฐฯ ตั้งฐานทัพอยู่ 3 ประเทศหลัก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์
อ่านข่าว : "ภูมิธรรม" ปัดตอบปมสหรัฐฯ ขอใช้ "ฐานทัพเรือพังงา" ต่อรองลดภาษี
ไทยเตรียมเจรจารอบ 3 สหรัฐฯ ปรับเงื่อนไขภาษี-ลดผลกระทบเอกชน
"ทักษิณ" เข้าบ้านพิษณุโลก ร่วมถก "ทีมไทยแลนด์" รับมือภาษีทรัมป์