วิเคราะห์ PETA กับการต่อต้านทารุณสัตว์

เศรษฐกิจ
6 ก.ค. 63
19:45
3,724
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ PETA กับการต่อต้านทารุณสัตว์
วิเคราะห์องค์กร PETA นักเคลื่อนไหวด้านปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ สู่ปมลิงเก็บมะพร้าวในไทย กับข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นในหลายกรณี ทั้งจากเรื่องแคมเปญรณรงค์ต่อต้านการใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากขนแกะ

ไม่ใช่ครั้งแรกที่การขยับตัวของ PETA จุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง แต่ครั้งนี้น่าสังเกตว่า ชุดข้อมูลของ PETA กรณีที่อ้างไทยใช้ลิงเก็บมะพร้าวทารุณกรรมสัตว์ และเรียกร้องให้แบนผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปมะพร้าวจากประเทศไทย ก่อนหน้านี้ เมื่อปีที่ 2562 PETA ระบุว่า อุตสาหกรรมขนแกะในอังกฤษเป็นการทารุณกรรมสัตว์จนเกิดกระแสตีกลับ 

ชื่อขององค์กรพิทักษ์สัตว์ PETA ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง หลังเปิดเผยเกี่ยวกับการทารุณกรรมลิงที่สวนมะพร้าวไทย PETA เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ก่อตั้งเมื่อปี 2523 ที่รัฐเวอร์จิเนียและมีสำนักงานกระจายอยู่อีกหลายประเทศ

องค์กรนี้เคลื่อนไหว 4 ด้าน คือ อุตสาหกรรมปศุสัตว์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมบันเทิง และ การทดลอง การเคลื่อนไหวยังครอบคลุม ตั้งแต่ต่อต้านการทำหมันสัตว์ การทารุณกรรมสัตว์ ไปจนถึงการกำจัดศัตรูพืชต่างๆ หลายครั้งการเคลื่อนไหวของ PETA สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงและช่วยกระตุกต่อมความคิดให้คนในสังคม

กระจกสะท้อน คือ ความพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลเคนยาสั่งห้ามไม่ให้ฆ่าลาเพื่อเอาหนังมาทำยาแผนโบราณ รวมไปถึงการประท้วงต่อต้านการนำขนกระต่ายพันธุ์แองโกรา มาผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพราะทารุณกรรมสัตว์ ขณะเดียวกันก็มีหลายครั้งที่การเคลื่อนไหวขององค์กรนี้ถูกตั้งคำถาม และจุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลก


ย้อนกลับไปเมื่อเดือนก.พ.2562 PETA เคยออกแคมเปญรณรงค์ต่อต้านการใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากขนแกะองค์กรนี้ อ้างว่า อุตสาหกรรมขนแกะทารุณกรรมสัตว์ไม่ต่างจากอุตสาหกรรมขนสัตว์แต่ไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมขนแกะใช้เทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อเพิ่มปริมาณขนทำให้แกะต้องถูกตัดขนบ่อยขึ้น นอกจากนี้อายุเฉลี่ยของแกะในอุตสาหกรรมนี้ ยังลดลงจากปกติ 15 ปี โดยประมาณ เหลือเพียง 4-8 ปี เท่านั้น

ขณะที่องค์กรกำกับดูแลด้านการโฆษณาของอังกฤษ ระบุว่า อุตสาหกรรมขนแกะกับขนสัตว์เอามาเทียบกันไม่ได้ อังกฤษมีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตัดขนแกะโดยเฉพาะ เช่น ห้ามทำให้เกิดบาดแผล รวมทั้งห้ามดึงหาง ขาและหู การไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้อาจถูกนำมาเป็นหลักฐานในชั้นศาล แม้ว่าแนวปฏิบัติเหล่านี้จะไม่ใช่กฎหมายก็ตาม

แถมแกะก็ไม่ได้ถูกฆ่าเพื่อเอาขนเหมือนอุตสาหกรรมขนสัตว์ประเภทอื่นๆ เลยนำมาเปรียบเทียบกันแบบนี้ไม่ได้ หรือในกรณีของไทยกับการเปิดเผยข้อมูลการทารุณกรรมและการใช้แรงงานลิงให้เก็บมะพร้าว 1,000 ลูกต่อวัน

แต่ข้อมูลในเว็บไซต์ของ PETA ประจำภูมิภาคไม่ได้ระบุวัน เวลา และสถานที่ของภาพเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจนมองอีกมุมหนึ่งประเด็นนี้กลายเป็นเส้นบางๆ ระหว่างการดำเนินวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม กับ การทารุณกรรมสัตว์และเกิดคำถามว่า PETA เลือกปฏิบัติหรือไม่ เพราะการผลิตนมวัวหรือตับห่านก็ละเมิดสวัสดิภาพสัตว์เช่นกัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดราม่า? ข้ออ้างลิงเก็บมะพร้าวแบนสินค้าไทย

เร่งชี้แจงแบนมะพร้าวไทยใช้ลิงเก็บมะพร้าว

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง