วันนี้ (18 กันยายน 2563) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงถึงกรณีนายหมัด มะมิน ล่ามของสำนักแรงงาน ณ กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย อายุ 54 ปี เสียชีวิต พร้อมระบุรายละเอียดการติดเชื้อ COVID-19
21 ก.ค.63 ได้รับการตรวจที่ประเทศซาอุฯ ตรวจเจอเชื้อ COVID-19 ร่วมกับมีภาวะวิกฤตทางระบบการหายใจ ขณะนั้นยังไม่ได้แอดมิท รักษาตัวอยู่ที่บ้าน
26 ก.ค.63 มีอาการมากขึ้น หายใจไม่ทั่วท้อง มีไข้ ไอ ก็เลยไปโรงพยาบาล ได้รับการแอดมิท รักษาตัวในโรงพยาบาล King Fahad Medical City นอนที่โรงพยาบาลได้ประมาณ 4-5 วัน อาการแย่ลง
31 ก.ค.63 ต้องย้ายจากวอร์ดสามัญไปที่ ICU
10 ส.ค.63 คนไข้มีอาการหยุดหายใจ ต้องปั๊มหัวใจ และใส่ท่อช่วยหายใจ
21 ก.ค.63 ผลเป็นบวกครั้งที่ 1
5 ส.ค.63 ผลเป็นบวกครั้งที่ 2

ภาพ : กระทรวงสาธารณสุข
ภาพ : กระทรวงสาธารณสุข
ก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทยมีการตรวจซ้ำอีกครั้ง 25 ส.ค.63 ผลเป็นลบครั้งที่ 1 วันที่ 30 ส.ค.63 ผลเป็นลบครั้งที่ 2
1 ก.ย.63 เวลา 20.30 น. เดินทางออกจากกรุงริยาด โดย Air Ambulance พร้อมทีมแพทย์อินโดนีเซีย ขณะที่นำส่งแพทย์ได้ถอดเครื่องช่วยหายใจ ใช้เวลาเดินทางกว่า 10 ชั่วโมง
ในวันเดียวกัน เวลา 23.30 น. รถพยาบาลชั้นสูง พร้อมอุปกรณ์ ทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่กู้ชีพเดินทางออกจากโรงพยาบาลราชวิถีไปยังสนามบินดอนเมือง

ภาพ : กระทรวงสาธารณสุข
ภาพ : กระทรวงสาธารณสุข
2 ก.ย.63 เวลา 01.30 น. ถึงไทย ทีมแพทย์ศูนย์กู้ชีพนเรนทร รพ.ราชวิถี รับผู้ป่วยจาก Air Ambulance ด้วย Patient Isolation Transport Unit พร้อมติดตามอาการและสัญญาณชีพตลอดการนำส่ง
3 ก.ย.63 เวลา 08.00 น. ผู้ป่วยมีการหอบเหนื่อยเหนื่อยมากขึ้น แพทย์จึงใส่ท่อช่วยหายใจ และได้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่วันที่ 3-18 ก.ย.63 อาการทรงๆ ทรุดๆ มาตลอด
18 ก.ย. 63 เวลา 12.00 น. เสียชีวิต

ภาพ : กระทรวงสาธารณสุข
ภาพ : กระทรวงสาธารณสุข
ขณะที่ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ป่วยโควิด 19 ลำดับที่ 3,430 ของไทย จากการสอบสวนโรคพบประวัติชัดเจนว่า ติดเชื้อ COVID-19 ที่ซาอุดีอาระเบียตั้งแต่ ก.ค.2563 การนำผู้ป่วยกลับประเทศไทยด้วยเครื่องบินพยาบาลมีระบบป้องกันการติดเชื้อ เมื่อถึงประเทศไทยอยู่ในระบบการดูแลรักษาที่มีมาตรฐาน ไม่พบผู้สัมผัสเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยคนนี้นับเป็นผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 เป็นรายที่ 59 ของประเทศไทยในทางระบาดวิทยาและทางสถิติ เนื่องจากยังเป็นการรักษาต่อเนื่องจากการรักษาโรค COVID-19 ในครั้งแรก แต่ในทางการแพทย์ถือว่าเสียชีวิตจากแบคทีเรียดื้อยา โดยจะเสนอให้คณะกรรมการวิชาการภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 พิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติมถึงการเสียชีวิตของผู้ป่วยคนนี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
รอ สธ.ยืนยัน "ล่ามไทย" จากซาอุฯ ติด COVID-19 เสียชีวิตคนที่ 59
แท็กที่เกี่ยวข้อง: