วานนี้ (5 ม.ค.2564) นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก Opass Putcharoen ระบุว่า น้ำหนักตัวทุกกิโลกรัมที่เพิ่มขึ้น เป็นเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค COVID-19 ที่รุนแรง ปัจจัยที่คนมักจะนึกถึงว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิด COVID-19 ที่รุนแรงคือสูงอายุ มีโรคประจำตัว แต่ที่น้ำหนักเกินก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่รุนแรง มีการศึกษาพบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลสูงขึ้นตามน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
เหตุที่คนอ้วนอาจมีโอกาสที่เกิดโรคที่รุนแรงกว่า เป็นจากปอดที่ทำงานลดลง ภูมิคุ้มกัน T cell ทำงานน้อยกว่าปกติ เกิดลิ่มเลือดในปอดได้ง่ายขึ้น หรือบางคนเป็นเบาหวาน ปัจจัยทั้งหมดเพิ่มความรุนแรงของโรค ดังนั้นแม้ว่าจะอายุน้อยๆ ถ้าอ้วนก็มีโอกาสเกิดโรคที่รุนแรงเสียชีวิตจากโควิดได้เท่าคนอายุมาก
นอกจากนี้ นพ.โอภาส ระบุอีกว่า ในกราฟเป็นรูปจากการศึกษาวารสาร PNAS ผู้ป่วยในประเทศอังกฤษที่พบว่าอัตราการนอนโรงพยาบาลในผู้ที่ติดเชื้อโควิดสูงขึ้นตามดัชนีมวลกาย ถ้าดัชนีมวลกายมากกว่า 35 อัตราการนอนโรงพยาบาลสูงกว่าคนปกติเกือบสองเท่า
คนไข้ COVID-19 คนหนึ่งที่มีอาการหนักส่งมารักษาต่อเป็นปอดอักเสบรุนแรง อาการของปอดอักเสบเกิดขึ้นเร็วมาก ทั้งที่ได้ยาต้านไวรัสตั้งแต่เนิ่นๆ สุดท้ายก็ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้เครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจเนื่องจากปอดอักเสบรุนแรงแทบจะไม่ทำงานเลย
เอกสารอ้างอิง PNAS: https://www.pnas.org/content/117/35/21011
รูปประกอบ: https://www.sciencemag.org/.../why-covid-19-more-deadly...
น้ำหนักตัวทุกกิโลที่เพิ่มขึ้นเป็นเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิดที่รุนแรง ...
โพสต์โดย Opass Putcharoen เมื่อ วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2021
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
"เชียงใหม่" ติดเชื้อเพิ่ม 1 คน ทำงานในผับชื่อดัง
ร้านอาหารปรับตัวรับมาตรการห้ามนั่งกินหลัง 21.00 -06.00 น.
แท็กที่เกี่ยวข้อง: