จากกรณี นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. เปิดเผยข้อมูลจากกองระบาดวิทยาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. - 10 พ.ค.64 พบผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 รวม 327 คน อายุตั้งแต่ 24 - 100 ปี โดยผู้เสียชีวิตพบมีโรคประจำตัวถึง 86% และไม่มีโรคประจำตัว 14%

สำหรับโรคประจำตัวที่พบมากที่สุด ความดันโลหิตสูง 73% เบาหวาน 55% ไขมันในเลือดสูง 30% โรคไตเรื้อรัง 17% โรคหัวใจ 13% โรคอ้วน 8% และโรคปอด 8% โดยจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากสุด 5 อันดับ คือ
- กทม. 151 คน
- สมุทรปราการ 24 คน
- นนทบุรี 23 คน
- ปทุมธานี 2 คน
- เชียงใหม่ 10 คน
(อ่านข่าวเพิ่มเติม : 1 เดือน โควิดคร่าชีวิตผู้ป่วย กทม. 151 คน)
ไทยพีบีเอสออนไลน์ ย้อนสถิติ กทม.พบผู้ป่วย COVID-19 รวมสะสมแล้ว 20,429 คน มีรายวันมากกว่า 500 คนต่อเนื่อง และเป็นอันดับ 1 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อรายวันมากที่สุด

- 1 เม.ย. - 4 พ.ค. จำนวน 14,520 คน
- 5 พ.ค. จำนวน 789 คน
- 6 พ.ค. จำนวน 739 คน
- 7 พ.ค. จำนวน 869 คน
- 8 พ.ค. จำนวน 1,112 คน
- 9 พ.ค. จำนวน 980 คน
- 10 พ.ค. จำนวน 565 คน
- 11 พ.ค. จำนวน 855 คน
ขณะที่ข้อมูลการเสียชีวิตใน กทม.ระลอกใหม่เฉพาะเดือน พ.ค. กทม.พบผู้เสียชีวิตรายวันแตะสองหลัก 5 วัน
- 1-29 เม.ย. เสียชีวิต 49 คน
- 30 เม.ย. เสียชีวิต 9 คน
- 1 พ.ค. เสียชีวิต 10 คน
- 2 พ.ค. เสียชีวิต 8 คน
- 3 พ.ค. เสียชีวิต 10 คน
- 4 พ.ค. เสียชีวิต 8 คน
- 5 พ.ค. เสียชีวิต 4 คน
- 6 พ.ค. เสียชีวิต 6 คน
- 7 พ.ค. เสียชีวิต 18 คน
- 8 พ.ค. เสียชีวิต 7 คน
- 9 พ.ค. เสียชีวิต 8 คน
- 10 พ.ค. เสียชีวิต 13 คน
- 11 พ.ค. เสียชีวิต 17 คน
10 วัน กทม.ป่วยหนัก (ปอดอักเสบ) เพิ่ม 100 คน
ขณะที่สถิติจำนวนผู้ติดเชื้ออาการหนัก (ปอดอักเสบ) ใน กทม. ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. - 10 พ.ค. พบว่ามีตัวเลขเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน

- 1 พ.ค. จำนวน 417 คน
- 2 พ.ค. จำนวน 423 คน
- 3 พ.ค. จำนวน 441 คน
- 4 พ.ค. จำนวน 461 คน
- 5 พ.ค. จำนวน 466 คน
- 6 พ.ค. จำนวน 496 คน
- 7 พ.ค. จำนวน 476 คน
- 8 พ.ค. จำนวน 507 คน
- 9 พ.ค. จำนวน 512 คน
- 10 พ.ค. จำนวน 527 คน
สถิติยอดผู้ป่วยรายวันที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในประเทศ อาจเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนผลการค้นหาเชิงรุกทั้งในพื้นที่ตลาด สถานที่เสี่ยง รวมถึงชุมชนแออัดที่พบการแพร่ระบาด เช่น ชุมชนเขตคลองเตย ที่ กทม.ได้ตรวจค้นหาเชิงรุกตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยข้อมูล ณ วันที่ 9 พ.ค.รวมตรวจแล้ว 19,623 คน พบผู้ติดเชื้อเพิ่มสองหลักเกือบทุกวัน รวมสะสม 654 คนแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ป่วยหนักที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับยอดผู้เสียชีวิตเป็นอีกโจทย์ที่ กทม.จำเป็นต้องเดินหน้าแก้ไขและป้องกัน ทำให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเตรียมเปิดจุดบริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล 25 จุด ควบคู่กับการฉีดวัคซีนในสถานพยาบาล ท่ามกลางชาวกรุงร่วมลงทะเบียนจองวัคซีนป้องกัน COVID-19 ผ่านหมอพร้อม โดยยอดจองล่าสุด วันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้จองวัคซีนใน กทม.แล้ว 556,418 คน จากยอดจองทั้งประเทศ 1,874,185 คน
