ร้านอาหารแห่ขอสินเชื่อพยุงธุรกิจ

เศรษฐกิจ
15 มิ.ย. 64
10:07
386
Logo Thai PBS
ร้านอาหารแห่ขอสินเชื่อพยุงธุรกิจ
หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์เปิดโครงการจับคู่กู้เงินร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อพยุงธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุดมีร้านอาหารสนใจขอสินเชื่อแล้ว 3 พันราย วงเงินสินเชื่อกว่า 800 ล้านบาท

เจ้าของร้านอาหารหลายแห่ง ให้ความสนใจยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน 5 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการจับคู่กู้เงินที่กระทรวงพาณิชย์จัดขึ้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับร้านอาหารว่า หลังจากเปิดให้เจ้าของร้านอาหารขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2564 มีร้านอาหารยื่นขอสินเชื่อทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ รวม 3,001 รายวงเงินที่ขอสินเชื่อรวมกัน 879 ล้านบาท

โดยธนาคารออมสินมีผู้ยื่นขอกู้แล้วรวม 2,520 ราย วงเงินขอสินเชื่อรวม 750 ล้านบาท ธนาคาร SME D Bank มีผู้ยื่นขอกู้ 146 ราย วงเงินขอสินเชื่อรวม 64 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทยมีผู้ยื่นขอกู้ 98 ราย วงเงินขอสินเชื่อรวม 43 ล้านบาท ธ.ก.ส.ยื่นขอกู้ 49 ราย วงเงินขอสินเชื่อ 22 ล้านบาท ส่วน บสย.มีผู้ยื่น 188 ราย

โดย บสย.แจ้งว่ายินดีค้ำประกันให้ทุกรายที่ธนาคารปล่อยกู้ให้ ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อให้ร้านอาหารทั่วประเทศเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้

นอกจากนี้ยังให้พาณิชย์จังหวัดจัดหาสถานที่ขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ เช่น จังหวัดภูเก็ตจากการไปตรวจราชการได้รับรายชื่อร้าน
อาหารรวม 300 กว่ารายที่ประสงค์จะยื่นขอกู้ จึงสั่งการให้พาณิชย์จังหวัดภูเก็ตจัดสถานที่เป็นกรณีเฉพาะให้พบกับ 5 สถาบัน
การเงินสาขาที่นั่นโดยตรง ได้รับแจ้งว่าจะดำเนินการตั้งแต่วันพุธที่ 16 มิถุนายนเป็นต้นไป

นายกสมาคมร้านอาหารไทยและสตรีทฟู้ด ระบุว่า มาตรการดังกล่าวสามารถช่วยผู้ประกอบการได้มาก โดยเฉพาะ
เวลานี้ที่ผู้ประกอบการต้องการสภาพคล่องแต่อัตราดอกเบี้ยยังสูง

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องการให้ขยายระยะเวลา ให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ลดค่าจีพีไปอีก 3 เดือน จากเดิมที่ลดลงเหลือร้อยละ 25 เป็นเวลา 1 เดือนซึ่งกำลังสิ้นสุดในเดือนนี้ และขอให้รัฐเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรโดยเร็วเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

สำหรับสินเชื่อร้านอาหาร จะมีหลายประเภท เช่น ธนาคารกรุงไทยจะเป็นสินเชื่อฟื้นฟู 2 ปีคิดอัตราดอกเบี้ย 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเฉลี่ย 5 ปีแรกอยู่ที่ 4.4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี ส่วน สินเชื่อ หรือของธนาคารออมสิน มีหลายประเภทเช่น สินเชื่อซอฟท์โลน ธปท.เพื่อฟื้นฟูกิจการ 2 ปีแรกคิด 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เฉลี่ย 5 ปีแรก อยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเป็นต้น

สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารที่สนใจของสินเชื่อยังมีเวลายื่นขอสินเชื่อได้ถึงวันที่ 20 มิถุนายนนี้ สามารถเดิน
ทางไปที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ หรือไปที่สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งโดยตรงเพื่อยื่นเรื่องขอกู้เงิน
โดยสถาบันการเงินจะใช้เวลาพิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องการให้ขยายระยะเวลา ให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ลดค่าจีพีไปอีก 3 เดือน จากเดิมที่ลดลงเหลือร้อยละ 25 เป็นเวลา 1 เดือนซึ่งกำลังสิ้นสุดในเดือนนี้ และขอให้รัฐเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรโดยเร็วเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารที่สนใจของสินเชื่อยังมีเวลายื่นขอสินเชื่อได้ถึงวันที่ 20 มิถุนายนนี้ สามารถเดิน
ทางไปที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ หรือไปที่สถาบันการเงินทั้ง 5 แห่งโดยตรงเพื่อยื่นเรื่องขอกู้เงิน
โดยสถาบันการเงินจะใช้เวลาพิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง