วันนี้ (14 ธ.ค.2564) สถานีรถไฟใจกลางเมือง "หัวลำโพง" ยังคงเป็นจุดรับและส่งผู้โดยสาร รวมทั้งขนส่งสินค้า หลากหลายอาชีพผูกพันกับสถานีรถไฟเเห่งนี้ สินค้าขนาดใหญ่จากแหล่งค้าขายอย่างสำเพ็ง พาหุรัด ถูกแพ็ครวมกันและส่งต่อกระจายไปยังต่างจังหวัดโดยขบวนรถไฟ
หนึ่งในผู้ใช้บริการรถไฟ บอกว่า นำสินค้าจากสำเพ็ง มาส่งให้ลูกค้าที่นี้ทุกวัน เขาจึงไม่เห็นด้วยหากจุดบริการสัมภาระจุดนี้ต้องย้ายไปที่ใหม่

ส่วนธุรกิจโรงแรมที่อยู่ในรอบหัวลำโพง ระบุ ขณะนี้เริ่มมีลูกค้าเข้าพัก บางส่วนเป็นลูกค้าจากต่างจังหวัดที่ตั้งใจเข้ามาซื้อสินค้าและมาโรงพยาบาล ซึ่งก็อาจจะเสียลูกค้ากลุ่มนี้ไปบ้าง ทางโรงเเรมก็คงต้องปรับตัวหาลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ

ความไม่ชัดเจนเรื่องสถานีหัวลำโพง ทำให้มีการจัดการเสวนา "อนาคตสถานีหัวลำโพงประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา"
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงศ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า จะไม่มีการปิดหัวลำโพง แต่แค่ลดบทบาท เหลือเดินรถชานเมืองเท่านั้น ส่วนรถระยะไกลย้ายมาที่สถานีกลางบางซื่อแทน เพื่อการเดินรถมีประสิทธิภาพ
ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา เห็นแย้งว่า สถานีกลางบางซื่อ เดินทางไม่สะดวก ไม่ควรใช้วิธีบังคับให้ทุกคนไปใช้บริการ เพราะทั้งรถติดและทำมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ขณะที่ นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์ ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า สนับสนุนการย้าย บางส่วนมาที่สถานีกลางบางซื่อ เพราะเห็นถึงศักยภาพในอนาคต แต่กระทรวงคมนาคมควรพัฒนาโครงข่ายการขนส่งให้เชื่อมต่อยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดเวทีถก "อนาคตหัวลำโพง" ใช้ทำอะไร-ไปทางไหน
รถไฟปรับปลายทาง กระทบคน (หัวลำโพง) แค่ไหน
หลากหลายความทรงจำ ก่อนถึงวันปิด "หัวลำโพง"
แท็กที่เกี่ยวข้อง: