สภาฯ เตรียมเปิดซักฟอกทั่วไป 17-18 ก.พ.นี้

การเมือง
2 ก.พ. 65
19:38
372
Logo Thai PBS
สภาฯ เตรียมเปิดซักฟอกทั่วไป 17-18 ก.พ.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เคาะวันเปิดอภิปรายทั่วไป 17-18 ก.พ.นี้ รวมเวลา 30 ชั่วโมง ฝ่ายค้านเล็ง 4 ประเด็น 4 วิกฤตคือเศรษฐกิจปากท้อง โรคระบาดคน-สัตว์ ปฏิรูปการเมืองและวิกฤตการบริหารของรัฐบาล ด้านนพ.ชลน่าน ระบุศึกครั้งนี้มีนัยยะทางการเมือง

วันนี้ (2 ก.พ.2565) นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม คณะกรรม การประสานงานร่วมสภาผู้แทนราษฎร (วิป 3 ฝ่าย) เพื่อหาข้อสรุปเรื่องวันและเวลาในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 

ทั้งนี้ส่วนการประชุมวิป 3 ฝ่าย ครม.วิปพรรครัฐบาลและวิปพรรคฝ่ายค้าน ได้ข้อตกลงกรอบอภิปรายทั่วไป 2 วันคือวันที่ 17-18 ก.พ.นี้ วันแรกเริ่ม 09.30 น.ถึงเวลา 00.30 น.ส่วนวันที่ 2 เริ่ม 09.00 น. และปิดประชุมเวลา 24.00 น.โดยใช้เวลา 30 ชั่วโมง ครม.และพรรครัฐบาล รวม 8 ชั่วโมง และฝ่ายค้านอภิปราย 22 ชั่วโมง

นายนิโรธ สุนทรเลขา ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า การอภิปรายครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล ที่จะได้รับทราบถึงข้อบกพร่อง และคำชี้แนะของฝ่ายค้าน แต่มั่นใจว่าฝ่ายรัฐบาลสามารถชี้แจง และตอบข้อซักถามได้ทุกประเด็น

หน.พรรคฝ่ายค้าน ชี้มีนัยยะทางการเมือง 

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เจตนารมณ์การยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 คือการซักถาม และแนะนำการบริหารราชการ แต่ก็ไม่ปฏิเสธทางการเมือง ถึงเจตนาที่จะอภิปรายฯ ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาล พร้อมๆ กับการคาดหวัง ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แม้แต่การเข้าสู่อำนาจแทน

หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยังชี้ว่าการอภิปรายครั้งนี้แค่ทำตามหลักของกฎหมายก่อน แต่ด้วยสถานการณ์ทั้งหมดเชื่อว่า รัฐบาลจะถูกกดดันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเวที การอภิปรายไม่ไว้วางในเดือนพ.ค.นี้ และเห็นว่าอาจจะไม่ใช่เพียงฝ่ายค้านเท่านั้นที่กดดัน แต่ยังหมายถึง 21 ส.ส.ที่พรรคพลังประชารัฐขับออกมา และหากมาร่วมด้วยจะยิ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะยิ่งสูงขึ้น

การออกมาเปิดเผยถึงเจตนาการอภิปรายในครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ถึงนัยยะทางการเมือง ซึ่งนพ.ชลน่าน ต้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากจุดหนึ่ง ไปอีกจุดหนึ่ง และฝ่ายค้านก็มีหลักคิดที่จะลาออกเพื่อกดดันรัฐบาล

ไม่แน่เลย เป้าหมายที่จะห้ำหั่นกัน 21 เสียงมาอยู่ร่วมกับฝ่ายค้าน ไม่ต้องลาออกเลย พ.ค.นี้จะเปิดสภาที่มีกฎหมายสำคัญเข้ ารัฐบาลก็อยู่ไม่ได้แล้ว และถ้า 21 เสียงไมทำงานกับฝ่ายรัฐบาล ก็ล่ม และถ้าเราไม่เตะหมูเข้าปากหมา เราทำแน่นอน

ปากท้อง-วิฤตเศรษฐกิจ-โรคระบาด

สำหรับการอภิปรายฝ่ายค้าน ตั้งไว้ 4 ประเด็น 4 วิกฤต คือ วิกฤตเศรษฐกิจ โดยเน้นอภิปราย ปากท้อง-หนี้สิน-ความเดือนร้อนของประชาชน วิกฤตโรคระบาด "คน-สัตว์" ซึ่งเน้นอภิปราย โควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์-อหิวาต์แอฟริกาในหมู วิกฤตการเมือง เน้นอภิปราย ปฏิรูปการเมือง-กลไกและวิธีการเข้าสู่อำนาจรัฐ-ความไม่ชอบ ในการเลือกตั้ง และวิกฤตบริหารงานของรัฐบาล เน้นอภิปราย ปัญหาเฉพาะเหมืองทอง โครงการจะนะ รวมทั้งปัญหาฝุ่น PM 2.5 การค้าการลงทุน

ร่างกฎหมายลูกสัญญาณกระบวนการเลือกตั้ง

ส่วนสัญญาณการเลือกตั้งที่ชัดเจนตอนนี้ คือกฎหมายลูกที่ผ่านความเห็นชอบของครม. แล้ว ซึ่งจะทำให้มีการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ ทั้งการแบ่งเขตใหม่ บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และลดสเปกไพร์มารีโหวต

ร่างกฎหมายลูก 2 ฉบับ ของครม.อยู่ระหว่างการจัดส่งให้รัฐสภา ร่างกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. มีด้วยกัน 32 มาตรา ประเด็นหลัก คือการเลือกตั้งผ่านบัตร 2 ใบ ใบหนึ่งเลือก ส.ส.เขต 400 เขต หรือหมายถึง 400 คนทั่วประเทศ อีกใบหนึ่งเลือกพรรค นำมาคิดคำนวณเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน หลักการต้องแก้ปัญหา บัตรเขย่ง ซึ่งหมายถึงผลนับคะแนนมีผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับจำนวนบัตร

ส่วนการคิดคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคได้ รวมกันแล้วหารด้วย 100 เพื่อให้ได้คะแนนต่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน ก่อนไปเฉลี่ยให้แต่พรรค หากไม่ครบ 100 คน ให้ปัดเศษจากพรรคที่มีเศษมากที่สุดจนกว่าจะครบตามจำนวน หากเศษเท่ากันให้จับสลาก

สำหรับร่างกฎหมายพรรคการเมือง มีด้วยกัน 5 มาตรา สาระสำคัญหลักๆ คือการแก้ไขการคัดเลือกผู้สมัครขั้นตอน หรือไพรมารี่โหวต โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา เสนอรายชื่อและมีหนังสือแจ้งไปยังคณะกรรมการบริหารพรรค หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดแล้วประกาศให้สมาชิกทราบ

โดยผู้มีสิทธิเสนอรายชื่อคือ กรรมการบริหารพรรคหัวหน้าสาขาพรรคการเมือง และตัวแทนพรรคการ เมืองประจำจังหวัด ส่วนการคัดเลือกผู้สมัครกำหนดให้มี หัวหน้าสาขาพรรค หรือตัวแทนพรรคประจำจังหวัด ประชุมร่วมกับสมาชิก เพื่อลงคะแนนเลือก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง