ทุบสถิติ! กางตัวเลข 5 ปีหายนะฝนถล่มของจริงยังไม่มา

ภัยพิบัติ
12 ก.ย. 65
14:37
1,785
Logo Thai PBS
ทุบสถิติ! กางตัวเลข 5 ปีหายนะฝนถล่มของจริงยังไม่มา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"อาจารย์สันต์" จากนิด้า โพสต์เตือนหายนะภัยฝนตกทุบสถิติในรอบ 5 ปี เกิน 100 มม.พบ 8 วันอยู่ในปี 2565 และทุบสถิติของเดือนก.ย.นี้ ชี้วันที่เลวร้ายที่สุดของปีนี้ อาจจะยังมาไม่ถึง

วันนี้ (12 ก.ย.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong ระบุว่า น้ำท่วมกรุงเทพฯ: สรุปแล้วตกลงว่า น้ำมากฝนมาก หรือว่าเป็นที่การบริหารจัดการไม่ดี  

ผมบอกเลยครับว่า วันที่แย่ที่สุดของปีนี้ อาจจะยังมาไม่ถึง ทำใจไว้เลย แน่นอนว่าปีที่แย่ที่สุด ก็น่าจะยังมาไม่ถึงเช่นกัน

ข้อมูลระบุว่า วิเคราะห์ตัวเลขข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตัวเลขที่คิดว่าบ่งชี้ได้ดีว่าท่วมหรือไม่ท่วม เมื่อฝนตกเฉียบพลัน คือตัวเลขรายวัน เพราะว่าน้ำท่วมแบบฝนตกส่วนมากก็เกิดจากการระบายระยะสั้นไม่ทัน  

ส่วนค่าปริมาณฝนรายเดือน จะเหมาะกับการวิเคราะห์การท่วมของ กทม.จากน้ำเหนือ ซึ่งปัญหาที่เจอเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ ปัญหาท่วมจากฝนตกหนักในพื้นที่แบบรายวัน

ตารางที่ 1: ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด ในรอบ 24 ชั่วโมง
ตัวเลขตั้งแต่ 1 ส.ค.-10 ก.ย.เช็กระดับ 100 มม.

  • ปี 2560 มีเกิน 100 มิลลิเมตร 3 วัน
  • ปี 2561 มีเกิน 100 มิลลิเมตร 0 วัน
  • ปี 2562 มีเกิน 100 มิลลิเมตร 0 วัน
  • ปี 2563 มีเกิน 100 มิลลิเมตร 1 วัน
  • ปี 2564 มีเกิน 100 มิลลิเมตร 4 วัน
  • ปี 2565 มีเกิน 100 มิลลิเมตร  8 วัน

ช่วง 6 ปี มีเกิน 100 มม. ทั้งหมด 16 วัน โดยมี 8 วันอยู่ในปี 2565

กราฟที่ 1: ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด ในรอบ 24 ชั่วโมง
ตัวเลขตั้งแต่ 1 ส.ค.-10 ก.ย.

ภาพ:เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong

ภาพ:เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong

ภาพ:เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong

เช็กระดับฝนเกิน 120 มม.

  • ปี 2560 มีเกิน 120 มิลลิเมตร 0 วัน
  • ปี 2561 มีเกิน 120 มิลลิเมตร 0 วัน
  • ปี 2562 มีเกิน 120 มิลลิเมตร 0 วัน
  • ปี 2563 มีเกิน 120 มิลลิเมตร 1 วัน
  • ปี 2564 มีเกิน 120 มิลลิเมตร 2 วัน
  • ปี 2565 มีเกิน 120 มิลลิเมตร 6 วัน

ช่วง 6 ปีมีเกิน 120 มม ทั้งหมด 9 วันโดยมี 6 วันอยู่ในปี 2565 และทั้ง 9 วันอยู่ในช่วง 3 ปีหลัง

ภาพ:เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong

ภาพ:เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong

ภาพ:เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong

 

กราฟที่ 2: ค่าเฉลี่ย 7 วันของ ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด ในรอบ 24 ชั่วโมง ตัวเลขตั้งแต่ 7 ส.ค.-10 ก.ย.

  • ปี 2560 สูงสุด 66.9 มิลลิเมตร วันที่ 31 ส.ค.
  • ปี 2561 สูงสุด 50.3 มิลลิเมตร วันที่ 9 ก.ย.
  • ปี 2562 สูงสุด 24.9 มิลลิเมตร วันที่ 26 ส.ค.
  • ปี 2563 สูงสุด 70.4 มิลลิเมตร วันที่ 3 ก.ย.
  • ปี 2564 สูงสุด 85.0 มิลลิเมตร วันที่ 1 ก.ย.
    ปี 2565 สูงสุด 99.9 มิลลิเมตร วันที่ 10 ก.ย.

ปีนี้ค่า 99.9 นับเป็นสถิติสูงสุดของ 7-day Moving Average ที่พบในเขต กทม.ในรอบ 6 ปี ถ้าเราดูเส้นกราฟสีแดงจะเห็นได้ว่า พุ่งทำลายสถิติแบบที่น่ากังวลมากว่ามันอาจจะไม่จบแค่นีี้

กราฟที่ 3: ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ที่สถานีวัดที่สูงที่สุด ในรอบ 24 ชั่วโมง
ตัวเลขช่วง 3 เดือนตั้งแต่ 1 ส.ค.-31 ต.ค.

ภาพ:เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong

ภาพ:เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong

ภาพ:เฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong

กราฟบ่งบอกอนาคต

เราจะเห็นได้ว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กราฟแท่งสีเทาจะมีกราฟแท่งสูงๆ ในช่วงครึ่งหลังของหน้าฝน คือกลาง ก.ย.-ปลายต.ค.นี้ หนาแน่นกว่าในช่วงต้นหน้าฝน
ดังนั้น นี่คือความน่ากังวลว่า วันที่เลวร้ายที่สุดของปีนี้ อาจจะยังมาไม่ถึง

ท้ายตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย 10 วันแรกของเดือนก.ย.

  • ปี 2560 ค่าเฉลี่ย 60.0 มิลลิเมตร
  • ปี 2561 ค่าเฉลี่ย 43.9 มิลลิเมตร
  • ปี 2562 ค่าเฉลี่ย 24.2 มิลลิเมตร
  • ปี 2563 ค่าเฉลี่ย 52.8 มิลลิเมตร
  • ปี 2564 ค่าเฉลี่ย 54.4 มิลลิเมตร
  • ปี 2565 ค่าเฉลี่ย 81.4 มิลลิเมตร

ทุบสถิติราบคาบ

  • ปีนี้ฝนที่ตกในเขต กทม.ช่วงต้นเดือน ก.ย.มีค่าเฉลี่ยรายวันสูงมาก และเกิดขึ้นแบบหลายวันติดกัน
  • ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยราย 7 วันทุบสถิติรอบ 6 ปีของช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค. 
  • ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 10 วันแรกของเดือนก.ย.นี้ ทุบสถิติเช่นกัน
  • จำนวนวันที่ฝนตกหนักกว่า 100 มิลลิเมตร ทุบสถิติ
  • จำนวนวันที่ฝนตกหนักกว่า 120 มิลลิเมตร ทุบสถิติ ปัญหาที่ใหญ่มากคือ ค่าเฉลี่ยรายเดือนอาจไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย แต่ Extreme day กลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก นี่คือ Character ของปัญหา Climate Crisis

สถิติที่ยังไม่ทุบ

ดร.สันต์ ระบุว่า ปริมาณฝนสูงสุดรายเฉพาะวัน สถิติเดิมที่ 223 มิลลิเมตร คือเมื่อวันที่ 14 ต.ค.2560 

คิดว่านี่คือแค่จุดเริ่มต้น ซึ่งไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้นของปีนี้ แต่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของหายนะภัยที่จะมาในปีต่อๆไปด้วย

 

ยิ่ง Global Warming รุนแรงขึ้นเท่าใหร่ เราจะยิ่งเจอ Extreme Weather Event แบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ หายนะจริง ย่อมรุนแรงกว่าสัญญาณเตือน และถ้าน้ำทะเลสูงขึ้นมากกว่านี้อีก ในช่วงปี 2603

สิ่งที่กังวลที่สุดตอนนี้คือ กทม. และอีกหลายพื้นที่โดยรอบ จะยังคงสามารถอยู่อาศัยได้หรือไม่ 

ถ้าผู้คนยังไม่ใส่ใจ และละเลยปัญหาสิ่งแวดล้อมกันแบบนี้ มนุษย์เราส่วนมากก็มองเห็นกันแต่ พวกใครพวกมัน การเมือง เงินในกระเป๋า GDP และความมักง่ายสารพัด

ทั้งนี้รอบหน้าจะเอาแผนที่น้ำท่วมในปี 2603 มาวิเคราะห์ร่วมกับเรื่องโลกร้อน แล้วค่อยมาดูกันว่า พ่อบ้านแม่บ้าน มนุษย์ธรรมดา จะเอาตัวรอดกันอย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง