กรมชลฯ คาดน้ำท่วมอุบลฯ ยาวอีก 1 เดือน จ่อรับน้ำจากศรีสะเกษ

ภัยพิบัติ
13 ต.ค. 65
11:48
1,142
Logo Thai PBS
กรมชลฯ คาดน้ำท่วมอุบลฯ ยาวอีก 1 เดือน จ่อรับน้ำจากศรีสะเกษ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมชลประทานประเมินสถานการณ์น้ำ จ.อุบลราชธานี อาจต้องเผชิญน้ำท่วมไปอีก 1 เดือน เพราะน้ำมูลยังล้นตลิ่ง-มวลน้ำก้อนใหม่จากศรีสะเกษไหลมาสมทบ

วันนี้ (13 ต.ค.2565) ไทยพีบีเอสออนไลน์ ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์น้ำใน จ.อุบลราชธานี ค่อนข้างทรงตัว โดยระดับน้ำแม่น้ำมูล เมื่อเวลา 06.00 น. ระดับน้ำอยู่ที่ 11.51 เมตร ระดับน้ำทรงตัวเท่ากับช่วงเช้าวันที่ 12 ต.ค. ซึ่งเทียบกับระดับน้ำสูงสุดของปี 2562 (10.97 เมตร)

แต่กรมชลประทาน ประเมินว่า วันที่ 14 ต.ค.นี้ ระดับน้ำอาจจะเพิ่มประมาณ 3 เซ็นติเมตร เพราะน้ำจากแม่น้ำมูลยังล้นตลิ่งอีกกว่า 4 เมตรครึ่ง และวันที่ 14 ต.ค.จะมีมวลน้ำอีกก้อนจาก จ.ศรีสะเกษ หากไหลมาถึงอาจทำให้พื้นที่น้ำท่วมใน จ.อุบลราชธานี ต้องอยู่กับน้ำไปอีกเกือบ 1 เดือน

 

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ตามแผนการจัดการน้ำตัดยอดน้ำเซบาย 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ลบ.ม./วินาที) ไปอีกทางเหนือเขื่อน 1,200 ลบ.ม./วินาที จะลดปริมาณน้ำไหลเข้าสู่เมืองอุบลราชธานี ได้เพียง 2,000 ลบ.ม./วินาที ขณะที่ปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลมีอัตรา 5,000 ลบ.ม./วินาที

ชาวบ้านหนีน้ำท่วมอยู่ศูนย์พักพิง

ขณะที่บริเวณจุดสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี จ.อุบลราชธานี มีชาวบ้านจากชุมชนหาดสวนยา อ.วารินชำราบ มากกว่า 200 คน อพยพเข้ามาอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว เทศบาลเมืองวารินชำราบ บางครอบครัวหอบลูกหอบหลานย้ายมาอยู่จุดนี่ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. เนื่องจากบ้านถูกน้ำท่วมสูง 2-3 เมตร จนมิดหลังคา

 

จากการสังเกต พบว่า ชาวบ้านบางคนใช้เรือพายขนาดเล็กเพื่อเข้าไปสำรวจบ้าน และนำอาหารไปให้กับสุนัข

ชาวบ้านส่วนใหญ่ ยอมรับว่า รู้สึกกังวลหากต้องอยู่ที่นี่ต่ออีก 1 เดือน เพราะหมายถึงการทำมาหากิน รวมทั้งการเผชิญชีวิตที่ยากลำบากโดยเฉพาะช่วงหน้าหนาว ประกอบกับจุดนี้ยังขาดแคลนเรื่องส้วม ซึ่งอยากให้มีส้วมลอยน้ำเข้ามาให้บริการชาวบ้าน

เขตเมืองบางจุดน้ำยังท่วมสูง 40 ซม.

จากการสำรวจถนนอุบลฯ-ตระการพืชผล ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี หลายชุมชนยังมีน้ำท่วมสูงประมาณ 40 ซม. ระยะทาง 100 เมตร โดยเจ้าหน้าที่จิตอาสาได้จัดรถรับ-ส่งชาวบ้านที่สัญจรผ่านจุดน้ำท่วม

ส่วนสภาพการจราจรบนทางหลวง 231 ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี การจราจรชะลอตัว มีการวางบิ๊กแบ็กและกระสอบทรายตลอดแนว 2 ฝั่งถนน เพื่อป้องกันน้ำมูลเอ่อล้นตลิ่งขึ้นมาบนถนน ซึ่งหากน้ำท่วมจะทำให้การเดินทางเข้า-ออกถูกตัดขาดทันที

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือน 14 ต.ค.นี้ "น้ำมูล" ล้นตลิ่งพีคสุด-คาดท่วมยาวถึงสิ้น ต.ค.

ปิดไม่มีกำหนด น้ำล้อม "สวนสัตว์อุบลฯ" สัตว์ 600 ชีวิตปลอดภัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง