ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มองการถ่ายโอนภารกิจดับไฟป่า คืบหน้าไปถึงไหน?

ภูมิภาค
23 ก.พ. 66
11:36
885
Logo Thai PBS
มองการถ่ายโอนภารกิจดับไฟป่า คืบหน้าไปถึงไหน?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไทยพีบีเอสภาคเหนือ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ เดโช ไชยทัพ อนุกรรมการแก้ปัญหาฝุ่นควัน ในฐานะสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยเฉพาะแผนการถ่ายโอนภารกิจแก้ปัญหาไฟป่าให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ยังขาดความชัดเจนการทำแผนและงบประมาณ

“กรมป่าไม้ถ่ายโอนมาแล้วเพียงแต่ อปท.กำลังเป็นมือใหม่หัดขับ ยังไม่มีการจัดการที่ดีพอ ยังไม่มีความรู้ กลไก ยังไม่มีงบประมาณ”

นายเดโช ไชยทัพ ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) ในฐานะ อนุกรรมการแก้ปัญหาฝุ่นควัน สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พูดถึงภารกิจการถ่ายโอนอำนาจดับไฟป่า เป็นของท้องถิ่นถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการเพิ่มอำนาจ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมไฟป่าได้ดีขึ้น เพียงแค่ว่าประชาชนได้เข้ามามีฐานอำนาจชัดเจนว่า “ทำอะไร ได้แค่ไหน” ในฐานะของพลเมือง เดิมเป็นหน้าที่ของ กรมป่าไม้ กรมอุทยานฯ บริหารจัดการ เนื่องจากคนน้อยก็เลยคิดว่าการถ่ายโอนภารกิจเป็นเรื่องสำคัญ ตอนนี้ก็เริ่มถ่ายโอนแล้วแต่เป็นช่วงเริ่มต้น

นายเดโช ไชยทัพ ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ)

 

การถ่ายโอนภารกิจดับไฟป่าให้กับท้องถิ่น จะต้องมีความรู้มากขึ้น จัดให้มีพนักงาน เครื่องมือ ตัวชี้วัด ฐานข้อมูล เช่น ปีนี้เกิดหนึ่งหมื่นไร่ ปีหน้าจะดูแลให้ลดลงได้อย่างไร เมื่อ อปท.223 แห่งใน จ.เชียงใหม่ตรวจสอบได้จะทำให้การแห้ปัญหา

 

ตอนนี้ถ่ายโอนภารกิจดับไฟป่า แต่โอนไม่สมบูรณ์ ความรู้ไม่ได้ไปเสริม ไฟป่าคืออะไร เครื่องมือที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ

 

บทบาทหน้าที่เป็นของใครต้องคุยกับ อปท.

ท้องถิ่นเป็นโจทย์กลาง บางพื้นที่จะทะเลาะกัน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กับผู้บริหาร อบต. หน้าที่การพูดคุยบทบาทเป็นของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เรื่องงบประมาณมากหรือน้อย งบและบประมาณที่ใช้ต้องเป็นงบประมาณที่ท้องถิ่นต้องการด้วย เช่น งบลาดตระเวน ซึ่งต้องให้ท้องถิ่นต้องเป็นฝ่ายทำโครงการ ใช้งบประมาณอะไรที่สอดคล้องกับพื้นที่ เป็นผู้คิดค้นแผนกับทุกท้องที่ ทุกตำบลมีแผน ทั้งการควบคุมไม่ให้เกิดไฟตรงไหน และแผนการอนุญาต ผ่อนปรนการใช้ไฟกี่ไร่ ให้นำเข้าสู่แผนทั้งหมด

 

เมื่อไม่มีการทำแผนก็ไม่รู้ ตำบลนี้มีความจำเป็นใช้ไฟเท่าไหร่ในพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ป่า

 

ความเป็นการใช้ไฟในการเกษตร ประเด็นต้องไม่ให้ลุกลามออกนอกกรอบ ใช้พื้นที่เท่าที่จำเป็น เช่น พื้นที่เก็บเห็ด ประมาณ 100 ไร่ ทำแนวกันไฟ 100 ไร่ แต่ตอนนี้ไม่อนุญาตเพราะกลัวโดนจับ จากเผา 100 ไร่ ก็เผาเป็นพันเป็นหมื่นไร่ หากวางแผน การถ่ายโอนภารกิจก็จะช่วยลดปัญหา ความชัดเจนในความจำเป็นจะใช้ไฟ โดยต้องให้อำนาจการตัดสินใจอยู่ท้องถิ่นและชุมชน

 

อำนาจการตัดสินใจใช้ไฟในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรกรรม

ปัจจุบันอำนาจการตัดสินใจอนุญาตเผา เป็นหน้าที่คณะกรรมการจังหวัดเชียงใหม่ เริ่มจากอำเภอ จังหวัด การจัดการต้องดูเงื่อนไข และชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ขอ ต้องเป็นหน่วยงานราชการขออนุญาตใช้ไฟ ในการจัดการไฟในพื้นที่ป่า เมื่อประชาชนไม่มีสิทธิ์ขอ เช่น จ.เชียงใหม่มีพื้นที่ป่า 1.8 ล้านไร่ ทำกินในเขตป่าสงวน ถ้าการใช้ไฟไม่มีสิทธิ์ขอ ก็ขโมยจุดลุกลามที่ดินทำกินไปยังพื้นที่ป่า ประเด็นนี้สำคัญจะทำอย่างไรให้เกิดแผน เกิดการพูดคุยชุมชนในท้องถิ่นแยกแยะว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็น และจะบริหารจัดการอย่างไร ต้องให้ท้องถิ่นได้ตัดสินใจมากขึ้น

 

ต้นแบบทดลองบริหารจัดการใช้ไฟ

คณะกรรมการศูนย์บัญชาการและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ทดลองทำต้นแบบ 12 ตำบลในจังหวัด เรื่องการถ่ายโอนภารกิจ โดยให้เริ่มทำแผน รับรู้ว่าการถ่ายโอนขอบเขตรับผิดชอบ

 

ตอนนี้ให้ท้องถิ่นมีข้อมูล ทำแผนการจัดการจริง แยกแยะไฟจำเป็นหรือไม่จำเป็นได้ ถ้าทดลองขออนุญาต อำเภอก็จะให้ท้องถิ่นเป็นคนตัดสินใจ ว่าควรอนุญาตหรือไม่อนุญาต ถ้าบริหารจัดการดับไฟได้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

 

ส่วนแผนการเสนองบประมาณ ทั้ง 12 ตำบลจะเป็นผู้นำเสนอ เรื่องงบประมาณจะทำอะไรได้บ้าง การกลั่นกรองเรื่องถ่ายโอนภารกิจเรื่องงบประมาณที่สอดคลองและจำนวนที่เหมาะสม ผ่าน สตง. สำนักงบประมาณ ถ้าหากมองเรื่องไฟป่าและฝุ่นควันเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าใช้วิธีจัดการงบประมาณแบบเดิมจะเกิดปัญหา ถ้ากรมป่าไม้ และกรมอุทยานฯเห็นด้วย ก็จะนำเสนอเข้าคณะกรรมการกระจายอำนาจ

 

ใครจะเป็นผู้ทำแผน ให้ได้แผนที่ดีได้ ผู้บริหาร วิชาการ ประชาสังคม ต้องจะช่วยคิด การทำให้เกิดแผนที่ดีขึ้นมา ไม่ได้เกิดขึ้นมาได้ไม่ง่าย

 

ส่วนข้อกังวลอาจเป็นภาระงบประมาณ ในระยะยาว ชุมชนต้องจัดการตัวเอง เช่น พ.ร.บ.ป่าชุมชน ให้สิทธิ์หารายได้ เช่น การท่องเที่ยว เก็บของป่า ปลูกต้นไม้ ฯลฯ ชุมชนอาจเก็บรายได้คล้ายภาษี เอาค่าบริหารนิเวศน์คืนให้กับชุมชน คนดูแลป่า ได้รับสนับสนุนแลกเปลี่ยนคาร์บอน ภาคเอกชนมาหนุนเป็นงบประมาณ คนดูแลป่าก็ต้องหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เอางบประมาณดูแลป่า หรือตั้งเป็นกองทุน เป็นทิศทางให้เกิดความยั่งยืน ชุมชนก็จะใช้จ่ายพอเหมาะพอควรเกี่ยวกับดุแล และป้องกันไฟป่า

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง