รัฐเกียร์ว่าง? ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นตอฝุ่นเหนือ

เศรษฐกิจ
29 มี.ค. 66
19:23
732
Logo Thai PBS
รัฐเกียร์ว่าง? ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นตอฝุ่นเหนือ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ภาคธุรกิจ กระทุ้งรัฐบาลเลิกเกียร์ว่างแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 คลุมภาคเหนือ ชี้ต้นตอมาจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงราว 10 ล้านไร่ วอนใช้ไม้แข็ง จัดการทั้งระบบตัดวงจรปัญหา

ข้อมูลจากกรีนพีซน่าสนใจ ช่วงปี 2558-2563 พบพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น และการเผาส่งผลทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ แต่คำถามสำคัญคือภาครัฐได้วางมาตรการกับต้นตอเหล่านี้อย่างไร

ปลายปีแล้ว กรีนพีซ ประเทศไทย รายงานผลวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเกี่ยวกับ "ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์" และเกษตรพันธสัญญาในภาคเหนือของไทย ช่วงปี 2558-2563 พบว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในต้นเหตุของมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาลุ่มน้ำโขงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กว่า 10 ล้านไร่

ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าในช่วง 6 ปีนั้น ป่าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดกว่า 10 ล้านไร่ แบ่งเป็นเขตตอนบนของลาว กว่า 5 ล้านไร่  รัฐฉาน เมียนมากว่า 2 ล้านไร่ และภาคเหนือตอนบนของไทยกว่า 2 ล้านไร่

เฉลี่ย 6 ปี พบว่าจำนวน 2 ใน 3 ของจุดความร้อน พบในพื้นที่ป่า และจำนวน 1 ใน 3 ของจุดความร้อน พบในพื้นที่ปลูกข้าวโพด

เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แต่ละปี พบว่าปี 2558-2561 และ 2563 พบจุดความร้อนมากที่สุดในป่าผลัดใบ ส่วนปี 2562 พบจุดความร้อนมากที่สุดในพื้นที่ "ปลูกข้าวโพด"

อ่านข่าวเพิ่ม ข้าวโพดกินป่า (จุดความร้อน) มลพิษข้ามแดน 

การปลูกข้าวโพดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นการผลิตป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และส่งออก เป็นสัดส่วนที่มากกว่าการปลูกเพื่อเลี้ยงประชากรในประเทศ 

ขณะที่รายงานวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดโดย UNCTAD รายงานว่า เกษตรกรในแขวงไชยบุรีของลาว "ปลูกข้าวโพด" เพื่อป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ใน จีน เวียดนามและไทย

ภาพ:รายงานกรีนพีช

ภาพ:รายงานกรีนพีช

ภาพ:รายงานกรีนพีช

ภาคธุรกิจจี้รัฐเจรจากลุ่มอาเซียนแก้ปัญหาฝุ่น

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ระบุว่า ปัญหาการเผาข้าวโพด เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ที่ผ่านมาพยายามผลักดันมาโดยตลอด เพราะการเผามีผลต่อการผลิตคาร์บอน และกระทบต่อการส่งออก เพราะยุโรปไม่รับซื้อสินค้า เนื้อไก่-เนื้อหมู ที่มีส่วนทำให้เกิดคาร์บอน ดังนั้นรัฐต้องเจรจากับประเทศในอาเซียนหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

ผมถาม ก.เกษตร 4 ปีทำอะไร ถ้าเป็นผมจะลดคาร์บอนไปสำรวจ ตรงไหนจุดอ่อนจะลงทุนยังไงไม่ให้เผา รัฐต้องร่วมมือเอกชน ต้องรีบไปคุยเกษตรกร ไม่ใช่พูด แต่ไม่ทำ ที่ผ่านมาประชาธิปัตย์ ทำสวนทางให้ราคาข้าวโพดสูง ก็ยิ่งปลูกเพิ่ม เผาเพิ่ม 

อ่านข่าวเพิ่ม คุณภาพอากาศ "แม่สาย" ยังแย่ ค่าฝุ่นสูง-มีกลิ่นควันไฟ 

จี้นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ "รัฐ-เอกชน" ร่วมรับผิดชอบ

นายพรศิลป์ กล่าวอีกว่า ทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบทั้งรัฐ เอกชน พ่อค้า หากรัฐประกาศให้หยุดซื้อทันที ก็ต้องยอมรับผลที่จะเกิดตามมา เช่น อาหารสัตว์ไม่เพียงพอ หรือให้นำเข้าทดแทนจากแหล่งใด หรือให้นำเข้าข้าวสาลี 

ส่วนเมียนมา ยังปลูกข้าวโพดขายให้จีน และเวียดนาม แต่ปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยให้ราคาข้าวโพดสูง เมื่อเข้ามาก็ขายได้ราคาสูง และนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นหัวโต๊ะแก้ปัญหา

ธุรกิจทุกคนเกี่ยวข้อง แต่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ ก.ทรัพย์ ก.เกษตร ต้องรับผิดชอบ คิดว่าถึงเวลาต้องซีเรียสกับมัน นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ ควรเป็นหัวโต๊ะสนใจ ก็พร้อมให้ข้อมูลตามที่พูดไปแล้ว 

ไทยนำเข้าข้าวโพดเมียนมาปีล่าสุด 33 ล้านตัน

ข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหา คือ รัฐบาลต้องประกาศนโยบายชัดเจน ต้องมีเงินเข้ามาช่วยระหว่างรัฐ-เอกชน นำเทคโนโลยีที่ช่วยเกษตรขจัดการเผา และสุด ท้ายตลาดรองรับ

สถิติการนำเข้าข้าวโพด จากเมียนมาของไทยปี 2563–2566 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปี 2563 นำเข้ากว่า 7 ล้านตัน ปี 2564 นำเข้ากว่า 98 ล้านตัน ปี 2565 นำเข้ากว่า 33 ล้านตัน และเดือนม.ค.ปีนี้เพียงเดือนเดียว นำเข้าแล้วกว่า 1 ล้านตัน

ส่วนภาครัฐหน่วยงานอื่น ก็มีเหตุผลว่าทำไมจึงยังไม่ใช้ "ไม้แข็ง" หรือมาตรการขั้นเด็ดขาดกับการแก้ปัญหา "ฝุ่นควัน"

มท.ยังไม่ส่งสัญญาณประกาศเขตภัยพิบัติฝุ่น

ข้อเรียกร้องภาคประชาชนที่หน้าอำเภอแม่สาย ตั้งแต่ 2 วันที่แล้ว คือการประกาศเขตภัยพิบัติฝุ่น ซึ่งท่าทีของจังหวัดชัดเจนตั้งแต่ต้นว่ายังไม่ประกาศ โดยใช้กลไกที่มีอยู่ ซึ่งผู้ว่าฯ จะมีงบฯ ที่ใช้แก้ปัญหาอยู่แล้ว 10 ล้านบาท

ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เห็นว่าเป็นการพิจารณาของ ผู้ว่าฯ หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น ขณะเดียวกันอ้างว่าหลักเกณฑ์ยังไม่ชัดเจน เพราะ “ฝุ่น” ต่างจากภัยพิบัติในอดีตที่มีความเสียหายเป็นรูปธรรม

สธ.เชื่อใช้กลไกปกติ รับมือผู้ป่วยจากฝุ่นได้

ส่วนมุมมองด้านสาธารณสุข นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดสาธารณสุข ให้ความเห็นกรณีที่ฝุ่น ยังไม่วิกฤตในมุมสาธารณสุข อาจเทียบเคียงได้กับภัยภิบัติล่าสุดเช่น โควิด-19 ที่มีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยจากฝุ่นยังใช้กลไกปกติรับมือได้ เช่น ผู้ป่วยนอกที่เข้ารักษาโรคทางเดินหายใจ โรงพยาบาลยังรับมือได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กลิสต์! ใครต้องปลดล็อก ประกาศเขตภัยพิบัติ "ฝุ่น"

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง