Hot Feel Like A Fire! อุตุฯ เตือน 23 เม.ย.หลายพื้นที่ ดัชนีความร้อนทะลุ 50 องศาฯ

ภูมิภาค
22 เม.ย. 66
18:38
660
Logo Thai PBS
Hot Feel Like A Fire! อุตุฯ เตือน 23 เม.ย.หลายพื้นที่ ดัชนีความร้อนทะลุ 50 องศาฯ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนประชาชน พรุ่งนี้ (23 เม.ย.) ค่าดัชนีค่าร้อน บางนา-กทม., สัตหีบ-ชลบุรี, ภูเก็ต ทะลุ 50 องศาเซลเซียส เสี่ยงเกิดภาวะลมแดดหรือฮีทสโตรก แนะนำอย่าทำกิจกรรมกลางแจ้ง ดื่มน้ำสะอาดให้มาก

วันนี้ (22 เม.ย.2566) กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศช่วงวันที่ 23 - 26 เม.ย.2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน คาดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวันของวันที่ 23 เม.ย.2566 สูงมากกว่า 54 องศาเซลเซียส

อ่านข่าวอื่นๆ : เช็กดัชนีความร้อนกระทบสุขภาพ - แพทย์แนะวิธีสังเกตอาการ

เตือนประชาชนหลายพื้นที่พยายามสังเกตอาการตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง มีโรคประจำตัว  ควรลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้สวมเสื้อผ้าระบายอากาศได้ดี สวมหมวก แว่นกันแดด ควรทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้ความช่วยเหลือกัน หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สุรา น้ำอัดลม ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ และที่สำคัญเตรียมเบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลที่ใกล้เคียงหรือ 1669 ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ 

กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยา

สำคัญจังหวัดที่มีดัชนีความร้อนสูงสุดรายภาคประจำวันที่ 23 เม.ย.2566 ได้แก่

  1. ภาคเหนือ จ.เพชรบูรณ์ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 46.5 อยู่ในระดับมีผลอันตรายต่อสุขภาพ
  2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.โกสุมพิศัย จ.มหาสารคาม ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 44.3 อยู่ในระดับมีผลอันตรายต่อสุขภาพ
  3. ภาคกลาง เขตบางนา กทม. ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน51.3 อยู่ในระดับมีผลอันตรายต่อสุขภาพ
  4. ภาคตะวันออก อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 52.0 อยู่ในระดับมีผลอันตรายต่อสุขภาพ
  5. ภาคใต้ จ.ภูเก็ต ค่าคาดหมายดัชนีความร้อนมากกว่า 54 อยู่ในระดับมีผลอัตรายมากต่อสุขภาพ มีความเสี่ยงสูงเกิดภาวะฮีทสโตรก 

ค่าดัชนีความร้อน คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น ว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร โดยค่าดัชนีความร้อนคำนวณจากค่าอุณหภูมิอากาศและค่าความชื้นสัมพัทธ์ ใช้เพื่อระบุความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้

เข้าใจโดยง่ายคือ ร่างกายเรารู้สึกร้อนมากกว่าอุณหภูมิที่เห็นจากเทอร์โมมิเตอร์ หรือจากแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา, กรมอนามัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง