สารเคลือบพลาสติกที่ระเหยในอากาศ เปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศของเราได้

Logo Thai PBS
สารเคลือบพลาสติกที่ระเหยในอากาศ เปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศของเราได้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสารประกอบเติมแต่งอื่น ๆ ในพลาสติกนั้น สามารถรบกวนการสร้างฮอร์โมนเพศของสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างรุนแรง

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการรัทเจอร์สได้ศึกษาเคมีที่เป็นสารเคลือบเติมแต่งในพลาสติกอย่าง บิสฟีนอล-เอ (Bisphenol-A) หรือ BPA ที่ช่วยให้พลาสติกนั้นแข็งแรงและยืดหยุ่นกว่าเดิม ว่าส่งผลกระทบต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตอย่างไรบ้าง เพื่อค้นหาสารเติมแต่งที่ปลอดภัยต่อร่างกายของมนุษย์มากกว่าเดิม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มทำการทดลองในหนู ก่อนที่จะค้นพบว่าสารชนิดนี้ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และความผิดปกติของเซลล์สืบพันธุ์

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ จึงได้ศึกษาผลกระทบของตัวพลาสติกที่ถูกสาร BPA เติมแต่งเข้าไปต่อ ก่อนที่จะค้นพบว่าอนุภาคของใยสังเคราะห์ไนลอน (Nylon) พลาสติกประเภทหนึ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทออย่างกว้างขวางนั้น ส่งผลกระทบต่อระบบต่อมไร้ท่อและการสืบพันธุ์ของหนูเพศเมีย ซึ่งทำให้หนูนั้นเกิดปัญหาสุขภาพทั้งน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น และการเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลง

แต่ก็ยังโชคดีที่ว่าระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตของหนูทดลองนั้น ไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก เมื่อได้รับการทดสอบให้สูดดมอนุภาคพลาสติกเข้าไปในระดับเดียวกับที่มนุษย์ได้รับเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

ถึงกระนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฟีบี สเตเปิลตัน (Phoebe Stapleton) ที่ได้เผยแพร่การศึกษานี้ก็ได้กล่าวว่า การหลีกเลี่ยงอนุภาคของพลาสติกยังคงเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าเราจะไม่ใช้วัสดุปูพื้นที่ทำจากพลาสติก ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ และไม่เก็บอาหารในกล่องพลาสติกแล้วก็ตาม เนื่องจากมนุษย์ก็ยังคงได้รับอนุภาคนี้ผ่านอากาศทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในการหายใจอยู่ดี

ที่มาข้อมูล: Technology Networks
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง