เลือกตั้ง2566 : นักวิชาการเตือน กกต.อย่าทำให้เกิด "รัฐประหาร" ซ้ำ

การเมือง
11 พ.ค. 66
14:24
1,412
Logo Thai PBS
เลือกตั้ง2566 : นักวิชาการเตือน กกต.อย่าทำให้เกิด "รัฐประหาร" ซ้ำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิชาการชี้ ส.ว.ไม่ควรโหวตเลือกนายกฯ หรือควรดูกระแสประชาชนบ้าง จวก กกต.สลัดบ่วงบุญคุณให้พ้น ก่อนที่จะทำให้เกิดรัฐประหารซ้ำอีก ถ้าเลือกตั้งไม่เป็นธรรม

วันนี้ (11 พ.ค.2566) นักวิชาการ 5 สถาบันการศึกษา ในนามเครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชน แถลงข่าวเปิดโหวตเสียงประชาชน หัวข้อ “ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่สมาชิกวุฒิสภาควรโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ซึ่งจะเปิดให้โหวต ระหว่าง 15-18 พ.ค

สภาชุดที่แล้ว “งูเห่า” มากสุดในประวัติศาสตร์

ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า บัตรเลือกตั้งกับซองเหมือนเป็นบัตรโหล ซองโหล จึงกังวลใจและขอเรียกร้องให้ กกต.ปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรมโดยไม่ต้องคำนึงถึง ว่าใครเป็นเลือกคนเลือกเข้ามา ขอให้ประชาชนเป็นหูเป็นตาหากพบความผิดปกติเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายบันทึกเอาไว้

อยากให้ประชาชนช่วยส่งเสียงไปยัง ส.ว. แม้ว่าเสียงข้างมากในสภาจะเป็นอย่างไรอยากให้เสียงข้างมากเป็นผู้ตั้งรัฐบาลให้ ส.ว.เคารพตรงนี้ และกลไกอำนาจ ส.ว.ยังอยู่ถึงปีหน้า

ดร.ปริญญา กล่าวอีกว่า สภาชุดที่แล้วเป็นสภาที่มี ส.ส.งูเห่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการใช้เงินเพื่อจูงใจในการย้ายข้างย้ายฝั่ง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ต้องการปฏิรูปประเทศไม่ใช่ความสุขที่ประชาชนคนไทยต้องการ ขนาดเสียงปริ่มน้ำยังมีปัญหาขนาดนี้ถ้าเป็นเสียงข้างน้อยปัญหาจะมากขนาดไหน

ขณะที่เดือนกรกฎาคมจะมีกฎหมาย 2 ฉบับที่สำคัญคือร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีและ พ.ร.ก.แก้ไข พ.ร.บ. ป้องกันทรมานอุ้มหายฯ

ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนะลงคะแนนให้ ส.ว.รู้ว่าเสียง ปชช.ไปทางไหน

ดร.ปริญญาเสนอไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่ ให้ใช้วิธีการในการลงมติตามข้อบังคับของที่ประชุมรัฐสภากำหนดไว้ว่า ให้การลงคะแนนออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการตามมาตรา 56 (2) ที่ให้ออกเสียงลงคะแนน โดยเปิดเผยเรียงลำดับตามอักษรโดย ส.ส.และ ส.ว.คละกัน อาจทำให้ส.ว.บางคนเกิดความกังวล ซึ่งใน (3) สามารถที่จะเปลี่ยนวิธีการลงคะแนนได้ จึงเสนอให้ ส.ส.ลงก่อน และให้ ส.ว. ลงทีหลัง เพื่อให้ ส.ว.ทราบว่าเสียงของประชาชนนั้นไปทางไหน

ส่วนข้อกังวลที่จะเป็นสุญญากาศทางการเมือง หากเลือกนายกรัฐมนตรีรอบแรกไม่ได้ เพราะต้องตั้งรัฐบาล 376 เสียง ส.ว. อาจงดออกเสียง เลือกนายกฯไม่สำเร็จนั้น ดร.ปริญญา กล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจะเกิดการต่อรอง ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น

ที่ร้ายกว่าคือจะมีการใช้วรรค 2 ของมาตรา 172 คือ นายกฯ คนนอกบัญชี ถ้าเลือกตามวรรค 1 ไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่ผลดี เพราะหลักการง่ายมากแค่ประชาชนเจ้าของอำนาจ เลือกไปทางไหนก็ให้ ส.ว.โหวตไปตามนั้น ระหว่างเลือกคนที่เลือกท่านมา กับฟังเสียงประชาชน ขอให้เลือกประชาชน

ดร.ปริญญายอมรับกังวลใจว่า การเลือกตั้งอาจเป็นโมฆะ เพราะที่มีการพูดกันถึง กกต. ชุดนายวาสนา เพิ่มลาภ ที่เคยถูกจำคุกมาแล้วและยกกรณีของเชียงใหม่ เขต 8 ที่ กกต.ให้ใบส้ม ไม่ถูกต้องเพราะไม่ใช่การซื้อเสียง และสั่งให้ กกต.ชดใช้ และไม่อยากให้เกิดการรัฐประหารอีก

เพราะอยากให้สังคมไทยก้าวพ้นไปจากจุดนี้ ไม่ควรจะเกิด อยากให้การเลือกตั้งครั้งนี้เรียบร้อย เพราะหากมีปัญหาจนโมฆะ อาจถูกฟ้องร้องและมีค่าเสียหายสำหรับการจัดการเลือกตั้ง 6,000 ล้านบาท

หวังให้ กกต.สลัดจากบ่วงบุญคุณ ที่ไร้ความชอบธรรม

ส่วนการเมืองหลังการเลือกตั้งอยู่ที่ประชาชน ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า เสียงประชาชนต้องมาก่อน อยากให้ ส.ว.ตอบสนองความต้องการของประชาชนทั่วไป ทิ้งมรดกที่ดีให้แก่ลูกหลาน คาดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะมีผู้ออกมาใช้สิทธิ 75-80 %

ขอส่งสารไปยัง กกต. ที่มาจาก ส.ว. ที่มาจาก คสช. ที่ทำให้เลี่ยงไม่ได้ว่า ตนและประชาชนจะสงสัยว่า บางพรรคการเมืองมีอิทธิพลเหนือ กกต. และหลายเหตุการณ์ทำให้คนตั้งข้อสงสัยถึงการทำหน้าที่ของกกต. โดยเฉพาะประเด็นล่าสุดเรื่องการยิงเลเซอร์ บนสะพานพระราม 8
ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ขณะที่การพิมพ์บัตรเลือกตั้งระบบเขต ไม่มีชื่อผู้สมัคร ไม่มีชื่อพรรคที่ไม่อำนวยความสะดวก ให้ประชาชน และป้ายหน้าหน่วยเลือกตั้งบางจุดไม่มีชื่อผู้สมัคร จนทำให้ประชาชนเคลื่อนไหวในโซเชียลล่าชื่อขับ กกต.

สิ่งเหล่านี้ สะท้อนถึงความไม่ไว้วางใจในการทำงานของ กกต. ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างความรุนแรง บานปลายจนกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยโดยรวม จนทำให้ กกต.กลายเป็นคนบาป เพราะเป็นต้นเหตุทำให้เกิดชนวนความรุนแรงขัดแย้งของสังคมขึ้นมา

ดร.พิชาย ตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมามี กกต.ชุดแรกชุดเดียว ที่สังคมไว้วางใจ นอกจากนั้นมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขึ้น เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จึงอ่อนแอ

ระยะเวลาที่เหลือไม่กี่วัน ก็ยังคงมีความหวังว่า กกต.จะเปลี่ยนวิธีคิด สลัดจากบ่วงบุญคุณ ที่ไร้ความชอบธรรม ยืนหยัดในหลักการที่ถูกต้อง ในการรักษาและสร้างสรรค์ประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ ทหารฉวยโอกาสทำรัฐประหารอีกครั้ง จนทำให้การเลือกตั้งถูกยกเลิก กกต. อาจถูกยุบไปด้วย

และที่สำคัญคือจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ที่เป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองไทยขึ้นมา หวังว่าตั้งแต่ 14 พ.ค. จะเห็น กกต.โฉมใหม่ และขอให้ประชาชนจับตาการทำงานให้ กกต. ทำงานเพื่อรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง

เตือนให้ ส.ว.เคารพเสียงประชาชน

ด้าน ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว จากมหาวิทยาลัยบูรพา ระบุขอส่งเสียงไปยัง ส.ว.ให้เคารพเสียงของประชาชน พร้อมขอให้เคารพเสียงของประชาชน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนตื่นตัวมากที่สุด ด้วยความคาดหวัง อยากเห็นบ้านเมืองดีขึ้นกว่านี้

ขณะนี้มีสัญญาณนรก จากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ไม่สมควรทำ แต่ทำได้
ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยบูรพา

ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยบูรพา

ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยบูรพา

และยังอยากให้ ส.ว.มีมติในช่วงที่เปิดสมัยวิสามัญว่า ส.ว.จะมีท่าทีอย่างไรกับผลการเลือกตั้งถ้าประชาชนคิดเห็นเป็นอย่างไร ส.ว.จะเคารพเสียงประชาชนออกมาเป็นมติหรือสัญญาประชาคมกับประชาชนทั้งประเทศ เพื่อคลายความกังวลใจ และเพื่อสร้างบรรยากาศทางการเมืองให้ดีขึ้น อย่าให้องค์กรเหล่านี้เป็นองค์กรที่สร้างความคลุมเครือ

ส่วนข้อกังวลว่า การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะ หวังว่าเห็นความผิดพลาดเล็กน้อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อมารวมกันก็เป็นมวลใหญ่ของปัญหาและนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมกับผลการเลือกตั้ง

ถ้า 14 พ.ค.มีปัญหา กกต.จะย่อมาจาก “กูใกล้ตาย”

ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง มหาวิทยาลัยรังสิต ยอมรับว่า มีอคติกับ ส.ว.เพราะที่มาที่ไปรู้ดีอยู่แล้ว ขณะที่ในการจัดการเลือกตั้ง กกต.ก็ยังไม่ได้ชี้แจงกระบวนการในการนับคะแนน อย่างชัดเจน และกังวลที่สุดว่า จะเกิดปัญหาเรื่องการนับคะแนน

ถ้าวันที่ 14 พ.ค. จัดการเลือกตั้งแล้วยังมีปัญหา กกต.จะเท่ากับ ย่อมาจาก "กูใกล้ตาย" และหลายคนคาดการณ์ว่า หลังเลือกตั้งอาจจะมีปัญหา เพราะตอนนี้มีสมรภูมิทางความคิด มีอคติในใจในแต่ละมุมมองของคนเป็นพื้นฐาน

ไม่อยากให้กกต.ถูกกล่าวหาว่า เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความขัดแย้งในสังคมไทย ไม่อยากให้ถูกตีตราเช่นนี้ แต่อยากให้เป็นผู้สร้างสันติภาพในการเมืองไทยหรือ PeaceMaker ไม่ใช่ Warmaker

ดร.วันวิชิต กล่าวว่า ไม่อยากให้กังวลว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นโมฆะหรือไม่ เพราะยิ่งประชาชนตื่นตัวออกมาใช้สิทธิ์มากขึ้น ยิ่งมากเท่าไหร่ด้วยฉันทามติ และเสียงประชาชนจะเป็นเสียงที่ล่วงละเมิดไม่ได้ ที่ใครคนใดคนหนึ่งจะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ

ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง มหาวิทยาลัยรังสิต

ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง มหาวิทยาลัยรังสิต

ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง มหาวิทยาลัยรังสิต

ยิงรอบนี้ กระสุนไม่ใช่ .22 แต่เป็นจรวดฮาพูน

ขณะที่ ดร.ธนพร ศรียากูล นายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ที่พีคที่สุดเท่าที่เคยพบมา มีการยิงปูพรมมากกว่า 1 รอบ จากที่ส่วนใหญ่ยิงรอบแรก แล้วยิงเฉพาะจุด

ดร.ธนพร ศรียากูล นายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร.ธนพร ศรียากูล นายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร.ธนพร ศรียากูล นายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ครั้งนี้มีการยิงปูพรม มากกว่า 2 รอบ และขนาดกระสุนไม่ใช่ .22 อาจเกินกว่าเทียบเท่าจรวดฮาพูนที่ยิงข้ามทวีปได้ และล็อคเป้าได้ ซึ่งเป็น Pattern การเมืองในสนามจริง ทำให้คู่ต่อสู้ไม่กล้าจะบอกว่าใครจะชนะกันแน่

ส่วนหลังเลือกตั้งประเด็นเรื่อง มีการแจกกล้วย อย่าเชื่อว่า ส.ว. ไม่หิวกล้วย เชื่อว่ารัฐสภาจะกลายเป็นสมรภูมิ Banana politic สถานการณ์แย่พอกันทั้งสองฝ่าย ส.ส. และ ส.ว.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง