มีผลบังคับใช้! กำแพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำ EIA

สิ่งแวดล้อม
8 มิ.ย. 66
10:46
937
Logo Thai PBS
มีผลบังคับใช้! กำแพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำ EIA
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปลดล็อก 9 ปี "วราวุธ" เซ็นคำสั่งใหม่ให้กำแพงกันคลื่น-รอดักทราย เขื่อนกันทรายทุกขนาดต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่ปล่อยผีโครงการที่เสนอผ่านบอร์ดสวล.-ผ่านงบของปี 67 แล้ว "ศศิน"ห่วงห่วง EIA ฟอกโครงการกระทบสวล.

วันนี้ (8 มิ.ย.2566) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2566

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 19 พ.ย.2561

เพื่อกำหนดประเภทโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 48 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงออกประกาศฉบับนี้

สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเล ประกอบด้วย รอดักทราย เขื่อนกันทรายและคลื่น รอบังคับกระแสน้ำ แนวเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งทะเล และ กำแพงติดแนวชายฝั่งทะเล ทุกขนาด ต้องจัดทำ EIA ส่วนขั้นตอนในการเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA นั้น ต้องเสนอในขั้นขออนุมัติ หรือ ในขั้นขออนุญาตโครงการ แล้วแต่กรณี

อ่านข่าวเพิ่ม ชี้ "กำแพงกันคลื่น" ตัวเร่งกัดเซาะแบบโดมิโน

โครงการกำแพงกันคลื่นทุกขนาด ที่เข้าข่ายต้องทำรายงานอีไอเอ

โครงการกำแพงกันคลื่นทุกขนาด ที่เข้าข่ายต้องทำรายงานอีไอเอ

โครงการกำแพงกันคลื่นทุกขนาด ที่เข้าข่ายต้องทำรายงานอีไอเอ

ไม่บังคับใช้โครงการย้อนหลังปี 67-ผ่านงบ 

อย่างไรก็ตาม ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่ไม่ให้ใช้บังคับกับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

โดยผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนการกลั่นกรองโครงการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้เสนอขอรับจัดสรรงบ 2567 ต่อสำนักงบประมาณแล้วก่อนที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

Beach for life สำรวจความเสียหายกำแพงกันคลื่นที่พบสร้างปัญหากัดเซาะรุนแรง

Beach for life สำรวจความเสียหายกำแพงกันคลื่นที่พบสร้างปัญหากัดเซาะรุนแรง

Beach for life สำรวจความเสียหายกำแพงกันคลื่นที่พบสร้างปัญหากัดเซาะรุนแรง

"ศศิน" ห่วง EIA ฟอกโครงการกระทบสวล.

ขณะที่ความเคลื่อนไหวของ นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวว่า เห็นด้วยในหลักการ และขอบคุณทุกฝ่ายที่ผลักดันจนสำเร็จแต่อย่าลืมว่าในวงการสิ่งแวดล้อมการทำ EIA เป็นการฟอกโครงการที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สามารถทำได้อย่างถูกต้อง และเป็นข้ออ้างสำคัญของเจ้าของโครงการว่ามันผ่าน EIA มาแล้วจะมาค้านอีกทำไม

สรุปว่า EIA จะเป็นเสมือน VISA ให้สิ่งแปลกปลอมที่อันตรายถูกทำให้เชื่อว่ามันแก้ไขได้ ทั้งที่ความเป็นจริงก็แค่ดีขึ้นบ้าง หรือมีมาตรการบรรเทาผลกระทบ อาจจะลดผลกระทบได้บ้างไม่ได้บ้าง

นายศศิน ระบุว่า ที่สำคัญคือคณะกรรมการอ่าน EIA โดยหลักการจะไม่สามารถให้ยุติโครงการได้ และไม่สามารถยกเลิก EIA ได้ ถ้าเจ้าของโครงการไม่ถอนออกไปเอง ดังนั้นก็จะมีการผลักดันแก้ไขไปเรื่อยๆ จนกว่ามาตรการจะผ่าน 

ถ้าผ่านจาก EIA ออกมาจะยับยั้งได้ก็เหลือที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แต่ก็ไม่สามารถหยุดโครงการได้ หากเจ้าของโครงการยังเสนอกลับมาใหม่ก็มักจะไปผ่านได้สักวันเมื่อเปลี่ยนคณะกรรมการบางคนที่คัดค้าน

ดังนั้นเมื่อผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ขั้นตอนอื่นๆ ก็จบและเดินหน้าลุยไม่ใช่เฉพาะกำแพงกันคลื่นที่ว่าโครงการตามประกาศที่ต้องทำ EIA อื่นด้วย

Beach for life สำรวจความเสียหายกำแพงกันคลื่นที่พบสร้างปัญหากัดเซาะรุนแรง

Beach for life สำรวจความเสียหายกำแพงกันคลื่นที่พบสร้างปัญหากัดเซาะรุนแรง

Beach for life สำรวจความเสียหายกำแพงกันคลื่นที่พบสร้างปัญหากัดเซาะรุนแรง

ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ระบุอีกว่า ประกาศนี้มีข้อดีตรงที่เจ้าของโครงการก็ลดความอยากที่จะเสนอให้ทันงบปีนั้นๆ ออกไปได้เยอะ เพราะรู้ว่ารีบทำไปก็ไปติดที่ EIA มีเรื่องอื่นไที่ง่ายกว่ามาให้ทำก็มักจะของบ โครงการเขื่อนก็ชะลอ ยาว อาจจะมีเวลาทางแก้ไขด้วยวิธีอื่น หรือหาดปรับสมดุลจนมันไม่เซาะแล้วก็ได้ ถ้ายังไม่ถึงขั้นไปขอ EIA

แต่เรื่องตลกคือ หากอยู่ระหว่างทำ EIA แล้วปัญหาอาจจะถูกแก้ไขโดยวิธีอื่นเรียบร้อย จนผ่านไป EIA ก็ทำต่อได้ พราะเจ้าของโครงการไม่ยอมถอนออก วันหนึ่งกรรมการก็ย่อมให้ผ่าน

แล้วโครงการก็อาจจะถูกเสนอตั้งงบประมาณอีก ยกเว้นว่ามีคนคอยดักไว้ไม่ให้ เสนองบ หรือมีผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่รู้เรื่องมาเสนอยับยั้งไว้ได้

ก่อนหน้านี้ช่วงเดือนธ.ค.2565 เครือข่ายทวงคืนชายหาด และเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด 94 องค์กร กลุ่ม Beach for life ปักหลักชุมนุมด้านหน้า ทส.ยื่น 3 ข้อให้ "กำแพงกันคลื่น" ต้องทำ EIA หลังปลดล็อก 10 ปี พบว่ากรมโยธาธิการและผังเมือง ผุดโครงการ 107 แห่งใช้งบ 6,694 ล้านบาท แต่กระทบวิถีชุมชนและเสียหายต่อนิเวศ หลังจากกำแพงกันคลื่นถูกถอดจากโครงการที่ต้องศึกษาผลกระทบ EIA

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปักหลัก ทส.ยื่น 3 ข้อทวงคืนชายหาดให้ "กำแพงกันคลื่น" ทำ EIA

ปลดล็อก EIA เขื่อนริมตลิ่ง สู่จดหมายถึง"อนุพงษ์" ปมแก้กัดเซาะ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง