“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” สั่งเร่งตรวจสอบ "สะพานถล่ม" คาดเป็นวัสดุก่อสร้าง

อาชญากรรม
10 ก.ค. 66
22:38
1,758
Logo Thai PBS
“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” สั่งเร่งตรวจสอบ "สะพานถล่ม" คาดเป็นวัสดุก่อสร้าง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” สั่งเร่งช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต กรณีสะพานถล่ม ย่านลาดกระบัง ยึดความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก ระบุต้องตรวจสอบหลายอย่าง แต่ไม่เกี่ยวกับน้ำท่วม เพราะเสาเข็มลึกถึง 60 เมตร

วันนี้ (10 ก.ค.2566) เวลา 21.00 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงเหตุการณ์สะพานข้ามแยกหน้าโลตัส ลาดกระบัง ถล่มลงมาว่า ขณะนี้ยังคงต้องประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของโครงสร้างก่อน เพราะโครงสร้างได้รับความเสียหายมาก มีความไม่เสถียร อาจมีการพังต่อเนื่องได้ การเข้าพื้นที่ต้องประเมินความปลอดภัยทางวิศวกรรมก่อน ต้องมั่นใจว่าเมื่อเข้าไปจะไม่เสียหายมากขึ้น

ตอนนี้ได้มอบหมายให้ รองปลัดกทม. ร่วมกับ ผอ.สำนักการโยธา และวิศวกรรมสถานฯ วิศวกรและผู้รับเหมา มาประเมินสถานการก่อน ว่ามีความปลอดภัยแค่ไหนในการเข้าไป ซึ่งตอนนี้มีผู้เสียชีวิต ติดอยู่ข้างใน 1 คน และยังไม่แน่ชัดว่ามีผู้ติดค้างอยู่ข้างในซากอีกหรือไม่

การเข้าไปกู้ภัยไม่สามารถเข้าได้ทันที ต้องประเมินทางวิศวกรรมด้วย และมอบให้ ผอ.เขตดูแลการคมนาคมการเข้าออกพื้นที่ การตัดไฟในบางจุด เร่งจัดการเพื่อให้กลับสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็ว ทุกส่วนต้องดูคู่ขนานกันไป

สำหรับผู้บาดเจ็บ มอบให้ทางศูนย์เอราวัณ และผอ.โรงพยาบาลลาดกระบัง เป็นผู้รวบรวมตัวเลขผู้บาดเจ็บ สูญหาย และหากใครมีญาติ หรือคนรู้จักที่คาดว่ายังไม่ได้กลับบ้าน ติดต่อไม่ได้ หรือสูญหายจากเหตุการณ์ ให้โทรไปที่เบอร์ 199 และได้มีการตั้งศูนย์ช่วยเหลืออยู่ที่วัดพลมานีย์ สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

ผมว่าจะการตรวจสอบโครงการนี้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2564 ระยะทางก่อสร้าง 3.3 กิโลเมตร เดิมกำหนดเสร็จในเดือนสิงหาคมปี 2566 แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การก่อสร้างต้องขยายออกไปซึ่งกำหนดเสร็จคือวันที่ 17 ธันวาคม 2567 ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร
ส่วนสาเหตุที่สะพานพังถล่ม เนื่องจากว่าเกิดข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง ไม่ได้ใช้วัสดุก่อสร้างชิ้นเดียว แต่ต้องใช้โครงยึด หรือ (launcher) ร้อยเข้ากับชิ้นส่วนอื่น ๆ จำนวนหลายชิ้นด้วยกัน หากทำไม่รอบคอบ ทำให้พลาดได้ง่ายที่จะเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อฐานรากหรือไม่ นายชัชชาติยืนยันว่า ปัญหาน้ำท่วมไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ทำให้เกิดความผิดพลาดอย่างรุนแรง โครงการก่อสร้างนี้ตอกเสาเข็มลึกถึง 60 เมตร

ส่วนสาเหตุที่เคลื่อนร่างผู้เสียชีวิตออกจากจุดเกิดเหตุได้ช้า เนื่องจากซากปรักหักพังมีความเสี่ยงที่จะพังถล่มลงมาได้ จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม เข้ามาตรวจสอบในพื้นที่ก่อน

สอดคล้อง รศ.สุพจน์ ศรีนิล รองอธิการบดีด้านวิศวกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เดินทางมาสำรวจพื้นที่ คาดว่า สาเหตุเกิดจากโครงยึดกับตอม่อสะพานเอียง จากการใช้สลิงยกขึ้นไปเพื่อไปวางบนเสาตอม่อสะพานขาด แต่เนื่องจากเกิดเอียงระหว่างยกขึ้นมา จึงทำให้โครงยึดถล่มลงมา ส่งผลให้เสาตอม่อขาด 2 เสา

เมื่อถามถึงเหตุการณ์ในลักษณะนี้ว่าเกิดขึ้นบ่อยหรือไม่ รศ.สุพจน์กล่าวว่า เป็นกรณีแรก หลังจากนี้ต้องมีการตรวจสอบว่า อุปกรณ์เครื่องมือไม่มีความพร้อมหรือไม่ เพราะการก่อสร้างสะพาน ก็ใช้วิธีนี้ เป็นปกติทำทั่วไป จึงต้องไปตรวจสอบว่า เพราะอะไรโครงยึดถึงเอียงตัวได้

ต้องไปตรวจสอบการ การดีไซน์เสาตอม่อเสริมเหล็กยังไง เพราะขาดหลุดไปเลย ความบางความหนาไม่เกี่ยวกัน ขึ้นกับความแข็งแรงเสร็มเหล็ก

สำหรับการเก็บกู้ซากปรักหักพังหลังจากนี้ จะต้องใช้วิธีการตัดชิ้นส่วนแล้วยกออกเพื่อความปลอดภัย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดเอกสารโครงการทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง หลังถล่มทับคนตาย 1 เจ็บ 7

“ดร.เอ้” เคยโพสต์เตือนเมื่อปีที่แล้ว "สะพานนี้" น่าห่วง เกิดอุบัติเหตุบ่อย

“นายกฯ” กำชับหน่วยงานเร่งดูแลผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต เหตุ “สะพานถล่ม”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง