ปลุกชีพจร "อัมพวา" บนฐานนิเวศวัฒนธรรม-วิถีชีวิตชุมชน

ไลฟ์สไตล์
26 ต.ค. 66
07:11
807
Logo Thai PBS
ปลุกชีพจร "อัมพวา" บนฐานนิเวศวัฒนธรรม-วิถีชีวิตชุมชน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เทศบาลตำบลอัมพวา ต่อยอดขยายผลโครงการวิจัยสมุทรสงครามอยู่ดีสู่ภาคปฏิบัติ สร้างความอยู่ดี กินดีมีสุข แก่คนพื้นที่ บนฐานนิเวศวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และวิถีชุมชน ฟื้นความมีชีวิตชีวาคืนสู่อัมพวา

จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้ส่งผลต่อกรอบความคิดในการพัฒนา มองเป็นโอกาสในการฟื้นตัวใช้อดีตเป็นบทเรียน หันกลับมามองต้นทุนสำคัญที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติที่เป็นผลมาจากความหลากหลายทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และระบบนิเวศ

การพัฒนาที่เริ่มจากทุนของพื้นที่ พื้นที่ต้องได้ประโยชน์คือจุดประสงค์หลัก การฟื้นคืนภาพลักษณ์ของชุมชนตลาดน้ำอัมพวา นอกจากการสร้างกลไกการเรียนรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นการสร้างโอกาสและอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่อีกช่องทางหนึ่งด้วย

จ.สมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีต้นทุนสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่เป็นฐานสำคัญสำหรับการต่อยอดสู่ อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นตัวขับเคลื่อนหรือการใช้ประโยชน์วัฒนธรรม ศิลปะ และการออกแบบในทางธุรกิจ

รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการวิจัยสมุทรสงครามอยู่ดี:การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนฐานนิเวศวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่า โครงการสมุทรสงครามอยู่ดี เป็นโครงการวิจัย เพื่อแสวงหาข้อมูลและพัฒนาชุดความรู้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนฐานนิเวศวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตชุมชนที่

การขับเคลื่อนกระบวนการวิจัยของเรา เริ่มต้นจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลท้องถิ่นอย่างละเอียด และลงสำรวจพื้นที่จริง ร่วมกับภาคีในพื้นที่ แล้วนำข้อค้นพบมาออกแบบเป็นชุดความรู้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
วิจิตรฝาผนัง วัดเกษมสรณาราม (วัดบางจาก)

วิจิตรฝาผนัง วัดเกษมสรณาราม (วัดบางจาก)

วิจิตรฝาผนัง วัดเกษมสรณาราม (วัดบางจาก)

ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้เกิดผลผลิต แผนที่นิเวศวัฒนธรรม และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ท้องถิ่นที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่ และระบบฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ที่เกี่ยวเนื่องกับนิเวศวัฒนธรรม ช่างฝีมือท้องถิ่น ศิลปิน ตลอดจนผู้ประกอบการวัฒนธรรมในพื้นที่ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดขยายผลการใช้ประโยชน์ในการสร้างความยั่งยืนแก่เศรษฐกิจและวิถีชุมชนได้อย่างยั่งยืน

กฤษฎี กลิ่นจงกล นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

กฤษฎี กลิ่นจงกล นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

กฤษฎี กลิ่นจงกล นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

นายกฤษฎี กลิ่นจงกล นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า งานวิจัย “สมุทรสงครามอยู่ดี” ที่ทางเทศบาลได้นำไปต่อยอดมีด้วยกัน 2 เรื่องสำคัญได้แก่ การท่องเที่ยวทางน้ำ และงานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยในส่วนของการท่องเที่ยวทางน้ำ ช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้จะมีการฟื้นเรื่องตลาดน้ำ ตลาดเรือขึ้นมาใหม่ พร้อมกับมีแผนสร้างคนพายเรือให้ตลาดน้ำในอนาคตด้วย และได้ให้นโยบายกับโรงเรียนว่าเด็กอัมพวาต้องว่ายน้ำได้พายเรือเป็น

พายเรือคลองบางจาก

พายเรือคลองบางจาก

พายเรือคลองบางจาก

ขณะเดียวกันสมุทรสงครามอยู่ดีฯ ยังช่วยปูทางผลักดันคลองบางจาก ทำให้เกิดกิจกรรมนักท่องเที่ยวมาพายเรือเก็บขยะแล้วก็นำไปต่อยอดโดยการนำเด็กนักเรียน ป.5 ป.6 ออกมาเก็บขยะและเกิดเป็นกิจกรรม “พายไปกิน พายไปชิม พายไปอนุรักษ์” จนเกิดเป็นอาชีพมัคคุเทศก์น้อย

พายเรือคลองบางจาก

พายเรือคลองบางจาก

พายเรือคลองบางจาก

ทั้งนี้ยังถูกนำไปต่อยอดทำให้เกิดกิจกรรมใหม่คือการพายเรือไปชมหิ่งห้อย ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อหิ่งห้อยเหมือนเช่นเรือยนต์ โดยเราตั้งเป้าไว้ที่คลองบางจากเพราะอยู่ใกล้อัมพวา แล้วมีต้นทุนที่ดีด้วยทั้งเรื่องอาหาร ขนม บ้านสวน โรงเจ ประการสำคัญคลองบางจากมีสตอรีไม่แพ้คลองอัมพวา เป็นอีกตลาดที่คู่กับตลาดน้ำอัมพวาแต่ไม่มีใครรู้ มีโรงเลื่อย มีชาวบ้านมีร้านทองในคลองบางจาก

ทั้งยังถูกนำไปต่อยอดงานด้านศิลปวัฒนธรรม ตั้งชมรมศิลปวัฒนธรรมอัมพวาขึ้นโดยการรวบรวมครูอาจารย์ที่รักในงานด้านศิลปะทั้งครูโขน ครูดนตรีไทย ครูรำ ครูต่าง ๆ มาสอนเด็ก ๆ ในเขตเทศบาลฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
การแสดงจากเยาวชน ชมรมศิลปวัฒนธรรมอัมพวา

การแสดงจากเยาวชน ชมรมศิลปวัฒนธรรมอัมพวา

การแสดงจากเยาวชน ชมรมศิลปวัฒนธรรมอัมพวา

การสื่อความหมายแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และ การท่องเที่ยว โดย "วิหารพระพุทธบาท วัดบางกะพ้อม" มรดกศาสนสถานพื้นถิ่นสำคัญของ อ. อัมพวา ตัวอาคารตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นลวดลายมงคลแบบจีนผสมกับกลิ่นอายแบบตะวันตก บนผนังภายในอาคารตกแต่งด้วยประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงลงสีโดยเล่าเรื่องพระพุทธเจ้า

ประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงลงสี วัดกะพ้อม

ประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงลงสี วัดกะพ้อม

ประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงลงสี วัดกะพ้อม

อีกทั้งยังมี จิตรกรรมฝาผนัง วัดเกษมสรณาราม (วัดบางจาก) ที่เล่าเรื่องพุทธประวัติ ทศชาติชาดก และรอยพระพุทธบาท

นอกจากนี้ยังมีร้านปิ่นสุวรรณเบญจรงค์ ผู้ผลิตเครื่องเบญจรงค์ที่ผลงานมีชื่อเสียงโด่งดังจากผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพฝีมืออันประณีตและความคิดสร้างสรรค์ ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ในมิติของการพัฒนาลดขั้นตอนการผลิตและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

เบญจรงค์ปิ่นสุวรรณ-เบญจกาย

เบญจรงค์ปิ่นสุวรรณ-เบญจกาย

เบญจรงค์ปิ่นสุวรรณ-เบญจกาย

รวมทั้งอาหารท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ผ่านการสร้างสรรค์อาหาร “โภชนศิลป์” เพื่อมุ่งสู่สากล

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” กล่าวว่า การมองทิศทางในอนาคตพื้นที่เป็นคำตอบ เนื่องจากในพื้นที่มีทั้งหน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่น ภาคชุมชน ภาคเอกชน วัด ที่ร่วมกันขับเคลื่อน ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยแรงภาครัฐได้เพียงอย่างเดียว

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย

เงื่อนไขของการสร้างการเปลี่ยนแปลง ต้องประกอบด้วย มีความรู้ มีเครือข่าย ซึ่ง 2 อย่างแรกจะไปหาเงินมาลงมือปฏิบัติ เมื่อได้มีกลไกรัฐมาสนับสนุนยิ่งสามารถพัฒนาได้เร็วขึ้น การประสานทุกอย่างเข้าด้วยกันบนแพลตฟอร์ม นั่นคือพื้นที่ เช่นการลงพื้นที่ดึงมหาวิทยาลัย ท้องถิ่น ประชาชนเข้าร่วม ด้วยจุดเด่นของแต่ละฝ่าย ไม่ได้ลดทอนความเด่นของใคร แต่ใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่าย

การทำน้ำตาลมะพร้าว

การทำน้ำตาลมะพร้าว

การทำน้ำตาลมะพร้าว

การจัดการทุนด้านวัฒนธรรม สิ่งที่จำเป็นมาก คือในพื้นที่มีอะไรอยู่ และคนในพื้นที่เป็นเจ้าของ และเป็นส่วนที่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่พื้นที่มี เพราะว่าการประกอบการใดๆ ถ้าเราผลิตส่วนไหนเราก็จะได้ส่วนนั้น แต่ถ้าของนอกเยอะประโยชน์ก็จะไปตกกับคนนอก ถ้าเป็นคนในเยอะคนในก็จะได้ประโยชน์
ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ศิลปิน ช่างฝีมือ ปราชญ์ชาวบ้าน ภาคธุรกิจเอกชน ร่วมมือกันออกแบบสร้างระบบนิเวศทางวัฒนธรรมของตนเองใหม่ (Re-designing Community Culture) รื้อฟื้นวัฒนธรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยของคนในพื้นที่ สร้างผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและมูลค่าสูงด้วยนวัตกรรมการสร้างสรรค์

และเกิดการสร้าง “นวัตกรทางวัฒนธรรม” โดยเน้นการขับเคลื่อนในกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนคืนถิ่น และช่างฝีมือท้องถิ่น ช่วยกันฟื้นคุณค่าของทุนที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในพื้นที่

รอยพระพุทธบาท วัดกะพ้อม

รอยพระพุทธบาท วัดกะพ้อม

รอยพระพุทธบาท วัดกะพ้อม

เบญจรงค์ปิ่นสุวรรณ-เบญจกาย

เบญจรงค์ปิ่นสุวรรณ-เบญจกาย

เบญจรงค์ปิ่นสุวรรณ-เบญจกาย

วิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ

วิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ

วิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ

โภชนศิลป์

โภชนศิลป์

โภชนศิลป์

อ่านข่าวอื่นๆ : 

ขึ้นเหนือรับลมหนาว หย่อนใจในหุบเขา บ้านแม่สามแลบ จ.แม่ฮ่องสอน

เที่ยว "ทุ่งดอกบัวตอง" 2566 บนดอยแม่อูคอ จ.แม่ฮ่องสอน

ครม.เคาะ "วันหยุดปีใหม่ 4 วัน" 29 ธ.ค.66-1 ม.ค.67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง