Philophobia เป็นภาษากรีกมาจากคำว่า Philo ที่แปลว่าความรัก และ Phobia คือความหวาดกลัว รวมแล้วแปลว่า "ความกลัวที่จะตกหลุมรัก" โดยปกติจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่ต้องเผชิญกับ ความสับสนวุ่นวายทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับความรัก บางกรณีเกิดจากความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมที่ห้ามความรัก และ อาจพัฒนาเป็นความกลัวแบบเรื้อรังได้
Philophobia คือความกลัวความผูกพันทางอารมณ์ กลัวที่จะตกหลุมรักหรือมีความรักระยะยาว
Philophobia ยังก่อให้เกิดอาการทางกายภาพที่แตกต่างกันออกไป อาจมีตั้งแต่ความกังวลใจ กระสับกระส่ายต่อหน้าเพศตรงข้าม ไปจนถึงความรู้สึกหวาดกลัวอย่างยิ่งเมื่อมีโอกาสได้พบกับใครสักคน ในกรณีที่รุนแรงที่สุด อาจทำให้เกิดอาการตื่นตระหนกอย่างรุนแรงได้ เช่น เหงื่อออก หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้ จนไปถึงการหลบซ่อนตัวเมื่อเห็นคนรักปรากฏตัว
อ่านข่าว : ความเชื่อ "ผี" ขอขมาน้ำ-ดิน สู่ประเพณีลอยกระทง

ภาพประกอบข่าว : อาการกลัวความรัก
ภาพประกอบข่าว : อาการกลัวความรัก
จิตแพทย์และนักจิตวิทยายังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า "อาการกลัวความรัก" เกิดจากอะไรกันแน่ บางคนจมอยู่กับความทรงจำอันขมขื่นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือคนทั่วไป บางคนมีแผลในใจเพราะถูกปฏิเสธความรัก ทำให้หลีกเลี่ยงการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ ขึ้นมา ที่ใกล้ตัวและพบเห็นได้ทั่วไปคือ "การหย่าร้าง" ที่สำหรับบางคนทำให้กลัวการมีความรักครั้งใหม่ เพราะเชื่อว่าจะนำไปสู่การหย่าร้างหรือการเลิกราที่เจ็บปวดอีกครั้งนั่นเอง

ภาพประกอบข่าว : ปัญหาความสัมพันธ์
ภาพประกอบข่าว : ปัญหาความสัมพันธ์
เว็บไซต์ Fear of love รายงานว่า ในอดีตมีบุคคลสำคัญของโลกที่ต้องเผชิญกับความรู้สึกกลัวความสัมพันธ์ "ที่ยั่งยืน" กลัวความรักจนทำให้ชีวิตของเขาไร้คู่ครอง นั่นคือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ
ราชินีพรหมจรรย์-Virgin queen
ในพระราชประวัติของ "ราชินีพรหมจรรย์" ชื่อที่ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติต่อคำประกาศว่าจะไม่แต่งงานตั้งแต่มีพระชนมมายุได้ 8 พรรษาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ หนังสือ Alison Weir Elizabeth the Queen ระบุว่า ความมุ่งมั่นที่จะรักษาสถานภาพโสดของราชินีองค์นี้ อาจมีปูมหลังจากประสบการณ์ที่ไม่สวยงามนัก อาทิ
- การอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 (พระขนิษฐา-น้องสาว) กับ พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน ที่นำไปสู่หายนะ เพราะชาวอังกฤษมีอคติต่อพระราชินีที่มีคู่ครองเป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามีชาวคาทอลิก
- ความกลัวสูญเสียอำนาจในฐานะราชินี ในศตวรรษที่ 16 กษัตริย์ถือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด และวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ สามีจะมีอำนาจเหนือภรรยา นั่นทำให้ ควีนเอลิซาเบธ รู้ว่าการแต่งงานและการเป็นแม่ จะทำให้อำนาจของพระองค์พังทลายลง
- มีบันทึกเพิ่มเติมว่า พระองค์กลัวการทรงพระครรภ์ (ตั้งครรภ์) เพราะคนรอบข้างเมื่อตั้งครรภ์หรือคลอดบุตร หลายคนเสียชีวิต
- พระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระราชชนกของควีนเอลิซาเบธ เคยสั่งประหาร "แอนน์ โบลีน" พระราชชนนีในข้อหากบฏและล่วงประเวณี และ "แคทเธอรีน ฮาวเวิร์ด" พระวิมาดา (แม่เลี้ยง) ก็ประสบชะตากรรมเดียวกันในเวลาต่อมา
- ขณะที่ควีนเอลิซาเบธ มีพระชนมมายุ 14 พรรษา พระองค์ถูกล่อลวงโดย พล.ร.อ.โธมัส ซีมัวร์ ด้วยข้อหากบฏ นักประวัติศาสตร์มองว่า อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ราชินีแห่งอังกฤษผู้นี้ เลือกที่จะอยู่เพียงลำพัง
อ่านข่าว : เคลียร์ให้ชัด "Soft Power" จากต้นตำรับเกาหลีคืออะไร

อนุสาวรีย์สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
อนุสาวรีย์สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
การต่อสู้ทางอารมณ์ที่ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 หรือใครก็ตามที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคกลัวความรัก ต้องเผชิญนั้น ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ แท้ที่จริงผู้คนเหล่านี้โหยหาความรักและความใกล้ชิด เฉกเช่นคนอื่นๆ ทั่วไป แต่พวกเขาก็ไม่สามารถจัดการหรือควบคุมอารมณ์ได้ดีเท่าไรนัก ความทุกข์ทรมานทางจิตใจนี้ ฝังลึกและบั่นทอนสุขภาพอย่างมาก
สังเกตตัวเองเข้าข่าย "กลัวความรัก" หรือไม่
กรมสุขภาพจิตแนะนำอาการบ่งชี้ที่เห็นชัด ได้แก่
- กลัวการเริ่มต้นความรักครั้งใหม่ ทุกครั้งที่พบเจอกับคนที่ถูกใจและรู้สึกว่าความสัมพันธ์กำลังไปได้สวย จะมีความรู้สึกวิตกกังวล และพยายามจบความสัมพันธ์นั้นให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะไม่ให้ตัวเองต้องเจอกับภาวะเสียใจ

ภาพประกอบข่าว : ปัญหาความสัมพันธ์
ภาพประกอบข่าว : ปัญหาความสัมพันธ์
- ชอบอยู่คนเดียว หลงรักการทำอะไรด้วยตัวคนเดียว หงุดหงิดกับการต้องร่วมกิจกรรมกับคนอื่น เบื่อหน่ายที่จะต้องรอคอยใครสักคน เสพติดการอยู่คนเดียว และไม่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกับ
- มือชา เท้าชา หน้าชา หายใจเร็วและแรง เมื่อมีคนเข้ามาจีบ บางสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ คุณอาจไปเจอกับคนที่ชอบรุก เดินหน้าจีบแบบตรงไปตรงมา ทำให้คุณเกิดภาวะกดดัน ทำตัวไม่ถูก และมีอาการแทรกซ้อนต่างๆ เหมือนคนตื่นเต้น เช่น เหงื่อออกมือ ใจเต้นเร็ว อาเจียน เป็นลม
หากพบว่าตัวเองหรือคนข้างรอบที่รู้จักมีอาการแบบนี้ ควรพูดคุยเพื่อหาทางไปพบแพทย์ การพบจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่ามีอาการทางประสาทเพียงอย่างเดียว การพบแพทย์เพื่อพูดคุยถึงปัญหาและหาทางออกร่วมกัน การรักษาจะมีตั้งแต่การเผชิญหน้าเปิดใจเรื่องความรัก ไปจนถึงการกินยา ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่ควรจะทำ
4 เรื่องที่คน (ตัดสินใจ) โสดต้องรู้
ข้อมูลจาก วริศา มณีธวัช ที่ปรึกษาการเงิน AFPT สมาคมนักวางแผนการเงินไทย เขียนไว้ว่า คนโสดจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนที่มีครอบครัวถึงร้อยละ 11 เนื่องจากต้องการหาความสุข จากความบันเทิง มีการเดินทาง ท่องเที่ยว มากกว่าคนมีครอบครัวมาก จึงต้องเตรียมตัวเรื่องการเงินไว้อย่างรอบคอบ
- สุขภาพ เพราะคนโสดต้องดูแลตัวเอง
- ค่ากินอยู่ ใช้จ่าย สุขสบายยามเกษียณ แม้ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณบางอย่างอาจจะลดลง แต่ค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร (บางคนยังมีหนี้สินอีกด้วย) ค่าใช้จ่ายพวกนี้ยังคงอยู่ หากคุณเป็นคนโสด อาจไม่มีใครมาช่วยแบ่งเบาภาระตรงนี้
- โรคร้ายแรง อันที่จริงจะโสดหรือไม่โสด ทุกคนก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงเหมือนๆ กัน
- กิจกรรมสันทนาการฉบับคนโสด
- คนโสด มีค่าท่องเที่ยว สูงกว่าคนมีครอบครัวร้อยละ 40
- คนโสด มีค่าน้ำมัน สูงกว่าคนมีครอบครัวร้อยละ 4
- คนโสด มีค่าความบันเทิง สูงกว่าคนมีครอบครัวร้อยละ
อ่านข่าว : โลกคนกลางคืนคึก "ห่วงเมาขับ" ตีปีกปิดผับถึงตี 4

ภาพประกอบข่าว : กิจกรรมสำหรับคนโสด
ภาพประกอบข่าว : กิจกรรมสำหรับคนโสด
5 โรคเสี่ยงที่คนโสดอาจเจอ
- มะเร็งเต้านม คนที่เป็นโสด หรือแต่งงานและมีลูกหลังอายุ 35 ปี จะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่มีลูกเร็ว เพราะมะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายที่มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนในร่างกาย
- ช็อกโกแลตซีสต์ สูตินรีแพทย์วิจัยและตรวจสอบพบว่า เลือดประจำเดือนที่ตกค้างในมดลูกเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการปวดท้องน้อยขณะมีประจำเดือน จนทำให้เกิดการอักเสบ นานๆ ไป เกิดพังผืดติดกันทั้งรังไข่ มดลูก ลำไส้ เชื่อมกันไปหมด ยิ่งแต่งงานช้า จะยิ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมาก เพราะเลือดตกค้างอยู่ที่อุ้งเชิงกรานนานขึ้น
- โรคหัวใจ ผลการวิจัยจากสถาบันนักจิตวิทยา สหรัฐอเมริกา ระบุว่าการแต่งงานจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะกับเพศชาย โดยร่างกายจะผลิตฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยขจัดความตึงเครียด ความวิตกกังวล
ภาพประกอบข่าว : ผู้ป่วยโรคหัวใจ
ภาพประกอบข่าว : ผู้ป่วยโรคหัวใจ
- โรคอัลไซเมอร์ ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเผยว่า คนที่แต่งงาน หรือมีคู่ชีวิต มีแนวโน้มเสี่ยงโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์น้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับคนโสด เพราะมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ หรือมีกิจกรรมให้สมองได้ฝึกคิด
- โรคซึมเศร้า บางครั้งที่ความรู้สึกเหงาเข้ามาครอบงำ อาจทำให้คนโสดเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะคนเหงาแล้วเก็บตัว เหงาแล้วมักคิดว่าตัวเองไร้ค่า เหงาแล้วไม่รู้สึกมีชีวิตชีวา คนขี้เหงาประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงกับโรคซึมเศร้า
ภาพประกอบข่าว : ความเสี่ยงโรคซึมเศร้า
ภาพประกอบข่าว : ความเสี่ยงโรคซึมเศร้า
แต่อย่าเพิ่งมองว่าเป็นคนโสดแล้วมีแต่เรื่องลบ หากบริหารความโสดให้ดี
บางทีก็มีความสุขกว่าการมีคู่ที่ต้องเจอสารพัดปัญหาก็ได้
อ่านข่าว : สิทธิบัตรทอง เพิ่มยารักษา"มะเร็งเต้านม"ระยะลุกลาม
การแต่งงานแล้วยังไม่มีลูก ก็ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ช็อกโกแลตซีสต์จะลดลง การอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ หรือ Toxic Relationship ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ, โรคซึมเศร้า หรือได้โรคเครียดมาแทนโรคอัลไซเมอร์ ก็ได้

ภาพประกอบข่าว : การรักษาสมดุลชีวิต
ภาพประกอบข่าว : การรักษาสมดุลชีวิต
ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน ก็ควรดูแลสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต ของตัวเองให้ดีอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย บริหารจิตใจให้จัดการความเครียดที่เข้ามาในทุกๆ วันให้ได้ ชีวิตก็มีความสุขได้แล้ว

ภาพประกอบข่าว : การสร้างความสุขให้ตัวเอง
ภาพประกอบข่าว : การสร้างความสุขให้ตัวเอง
ที่มา : สมาคมนักวางแผนการเงินไทย, Fear of love
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แพทย์ชี้ สาวโสด-ไม่มีบุตรเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่ากลุ่มแต่งงานมีลูกเร็วก่อน 35 ปี
เปิดชีวิต "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" โสด ไร้หนี้ มีร้อยล้าน
รับมือคลื่นมะเร็ง “มฤตยูเงียบ” โรคร้ายคร่าชีวิตคนไทย