สิ้นพระเกจิอาจารย์ทั่วไทย อาลัย 12 พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ปี 2566

สังคม
10 ธ.ค. 66
07:41
46,127
Logo Thai PBS
สิ้นพระเกจิอาจารย์ทั่วไทย อาลัย 12 พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ปี 2566
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปี 2566 ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เมื่อนับย้อนทั้งปีประเทศไทยต้องสูญเสียพระเกจิอาจารย์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายรูป

“หลวงปู่สมุทร อธิปญฺโญฺ”

วันที่ 17 ม.ค.2566

สิ้น “หลวงปู่สมุทร อธิปญฺโญฺ” เกจิดังลพบุรี สิริอายุ 90 ปี

หลวงปู่สมุทร อธิปญฺโญฺ หรือ พระราชสังวรญาณ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี-สระบุรี (ธรรมยุต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน (วัดเขาจีนแล) จ.ลพบุรี มรณภาพจากโรคปอดอักเสบ ณ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช อ.เมืองลพบุรี

หลวงปู่สมุทร เป็นบุตรโยมพ่อ คำมี แสงศรี และโยมมารดา แตงอ่อน แสงศรี เกิดที่ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2476 มีพี่น้องรวมกัน 7 คน เป็นผู้ชาย 5 คน เป็นหญิง 2 คน ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว เหลือหลวงปู่เพียงคนเดียว

อุปสมบท เป็นพระในมหานิกาย เมื่ออายุ 22 ปี ก่อนจะไปอยู่กับหลวงปู่บัวพา ที่วัดป่าพระสถิตย์ และหลวงปู่บัวพาให้มาญัตติเป็นธรรมยุติ

อ่านข่าว : ส่องดาวที่ลาลับ คนไทย-ต่างประเทศ ปี 2566

หลวงปู่สมุทร อธิปญฺโญฺ หรือ พระราชสังวรญาณ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี-สระบุรี (ธรรมยุต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน (วัดเขาจีนแล) จ.ลพบุรี

หลวงปู่สมุทร อธิปญฺโญฺ หรือ พระราชสังวรญาณ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี-สระบุรี (ธรรมยุต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน (วัดเขาจีนแล) จ.ลพบุรี

หลวงปู่สมุทร อธิปญฺโญฺ หรือ พระราชสังวรญาณ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี-สระบุรี (ธรรมยุต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน (วัดเขาจีนแล) จ.ลพบุรี

จากนั้นเริ่มศึกษา จนจบชั้น ป.4 โรงเรียนบ้านกุดกุง อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร พ.ศ.2504 สอบได้นักธรรมตรี สำนักเรียนวัดศรีมหาราช จ.ชลบุรี พ.ศ.2506 สอบได้นักธรรมโท สำนักเรียนวัดศรีมหาราช จ.ชลบุรี พ.ศ.2508 สอบได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดพระงามศรีมงคล จ.หนองคาย

ปี พ.ศ.2506 จาริกธุดงค์มายังเขาจีนแล จ.ลพบุรี และก่อตั้งสร้างวัดขึ้น พ.ศ.2507 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส

พ.ศ.2520 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ “พระครูภาวนานุโยค” เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท
พ.ศ.2536 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี
พ.ศ.2537 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก ในสมณศักดิ์เดิม
พ.ศ.2540 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง จ.ลพบุรี
พ.ศ.2543 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง ชั้นเอก
พ.ศ.2546 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัด ลพบุรี-สระบุรี
พ.ศ.2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ “พระวุฒิสารโสภณ”
พ.ศ.2552 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ที่ “พระราชสังวรญาณ”

พ.ศ.2551 ได้รับการถวายปริญญาศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์สาขาวิชาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

หลวงปู่สมุทร เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สายวิปัสสนาธุระสายหลวงปู่มั่น ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จนละสังขาร ในอายุ 90 ปี พรรษา 68

อ่านข่าว : 12 เหตุการณ์ช็อกไทย ปี 2566 สะเทือนทุกวงการ

“หลวงตาขึม วรธัมโม” หรือ พระครูสุชัยวรธรรม

หลวงตาขึม วรธัมโม หรือ พระครูสุชัยวรธรรม รองเจ้าคณะอำเภอยางชุมน้อย เจ้าอาวาสวัดผักขะ ต.ลิ้นฟ้า อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ

หลวงตาขึม วรธัมโม หรือ พระครูสุชัยวรธรรม รองเจ้าคณะอำเภอยางชุมน้อย เจ้าอาวาสวัดผักขะ ต.ลิ้นฟ้า อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ

หลวงตาขึม วรธัมโม หรือ พระครูสุชัยวรธรรม รองเจ้าคณะอำเภอยางชุมน้อย เจ้าอาวาสวัดผักขะ ต.ลิ้นฟ้า อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ

ผ่านมา 4 เดือน วันที่ 26 พ.ค.2566

ชาว ต.ลิ้นฟ้า อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ ต้องสูญเสียเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งลุ่มน้ำมูล

“หลวงตาขึม วรธัมโม” หรือ พระครูสุชัยวรธรรม รองเจ้าคณะอำเภอยางชุมน้อย เจ้าอาวาสวัดผักขะ ต.ลิ้นฟ้า เกจิชื่อดังแห่งลุ่มน้ำมูล ที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานใต้ ให้ความเลื่อมใสศรัทธา ด้วยสิริอายุ 75 ปี พรรษา 55 เจ้าของตำนานเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ

หลวงตาขึม มรณภาพที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี หลังป่วยเป็นไข้ ปอดติดเชื้อ จนทรุดลงเป็นลำดับ

หลวงตาขึม หรือนามเดิม วีระชัย โตมร เกิดวันที่ 25 ส.ค.2490 เป็นชาวบ้านผักขะ อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ มีพี่น้อง 6 คน

พ.ศ.2509 บรรพชาที่อุโบสถวัดผักขะ 2 ปีต่อมา อุปสมบทที่วัดผักขะ มี พระอธิการโสม อัคคปัญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรีธรรมรัตน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า วรธัมโม หมายถึง ธรรมอันประเสริฐ

หลังอยู่ในร่มกาสาวพัตร์ พระอธิการโสมผู้เป็นอุปัชฌาย์ ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ ด้านแพทย์พื้นบ้าน จำพวกสมุนไพรรักษาโรค ให้ ไปพร้อมกับ วิชาอาคมต่าง ๆ ด้านคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม ก่อนไปศึกษากับ หลวงปู่เฮือง ผู้ชำนาญด้วยเบี้ยแก้ ที่ธุดงค์มาจากชัยภูมิ

พ.ศ.2514 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสผักขะ พ.ศ.2516 รักษาการเจ้าอาวาสผักขะ พ.ศ.2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดผักขะ พ.ศ.2542 เป็นเจ้าคณะตำบลลิ้นฟ้า พ.ศ.2554 เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงตาขึมเป็นพระนักพัฒนาที่ขยันขันแข็ง เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวค่อนข้างทุรกันดาร และชาวบ้านส่วนหนึ่งมีฐานะยากจน ท่านจึงจัดตั้งมูลนิธิเพื่อส่งเสริมพระภิกษุ-สามเณร ให้ได้ศึกษาเล่าเรียน สร้างเสนาสนะภายในวัด เช่น ศาลาอเนกประสงค์ หอระฆัง

ความเป็นพระนักพัฒนา ที่สมถะเรียบง่าย มีความเมตตากรุณาแก่ญาติโยม ทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่สาธุชนไปทั่ว

ขอบคุณภาพ : www.kampeenews.com

หลวงปู่นิยม สิริปุญโญ

“หลวงปู่นิยม” แห่งวัดเภาชมพู ต.หนองนกทา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

“หลวงปู่นิยม” แห่งวัดเภาชมพู ต.หนองนกทา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

“หลวงปู่นิยม” แห่งวัดเภาชมพู ต.หนองนกทา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

วันที่ 26 พ.ค.2566
วันเดียวกัน ชาวหนองนกทา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ก็เสียครูบาอาจารย์เหมือนกัน

“หลวงปู่นิยม” แห่งวัดเภาชมพู ต.หนองนกทา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี มรณภาพด้วยโรคชรา สิริอายุ 101 ปี พรรษา 32

หลวงปู่นิยม สิริปุญโญ หรือนามเดิม นิยม ว่องไว เกิดวันที่ 1 เม.ย.2463 ที่หมู่บ้านหนองคันน้ำ ต.หนองคันน้ำ อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี โดยหลวงปู่นิยมเป็นบุตรคนที่ 8

หลวงปู่อุปสมบทครั้งแรกเมื่ออายุ 30 ปี จากนั้นลาสิกขามาใช้ชีวิตทางโลก มีครอบครัวตามปกติ กระทั่งอายุ 69 ปี หลวงปู่อุปสมบทเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2532 มี พระมหาวิเชียร วิชโย วัดนาหว้า เป็นพระอุปัชฌาย์ พระประทง ชาคโร วัดป่งคอม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ , พระจำปา ปญฺญาวโร วัดวังม่วง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงปู่นิยมเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนงทั้งการรักษาโรค และวิชาอาคม อีกทั้งยังได้ออกแสวงหาโมกธรรมฝึกฝนภาวนาตามถ้ำ ตามภูผาต่าง ๆ และยังสืบหาครูบาอาจารย์ตามประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เขมร ฯลฯ

ขอบคุณภาพ กรุงเทพธุรกิจ

“หลวงพ่อทอง” หรือ พระครูวิชิต เขมากร

ล่วงเข้า วันที่ 1 มิ.ย.2566

“หลวงพ่อทอง” หรือ พระครูวิชิตเขมากร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว และเจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ เกจิชื่อดังของชาวอรัญประเทศ ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และติดเชื้อที่ปอด สิริอายุ 100 ปี

หลวงพ่อทอง อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.2497 จบนักธรรมชั้นเอกจาก จ.สกลนคร กลับมาจำพรรษาที่ วัดสุทธาวาส ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ก่อนจะย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดหลวงอรัญญ์ เมื่อ พ.ศ.2516

กระทั่ง พ.ศ.2523 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ แทนพระครูอรัญประเทศคณาจารย์ (ลี อินทโชโต) เจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ และเป็นเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ ซึ่งมรณภาพ

อ่านข่าว : รวม 10 เหตุการณ์โลกสะเทือนตลอดปี 2566

“หลวงพ่อทอง” หรือ พระครูวิชิต เขมากร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว และเจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ เกจิชื่อดังของชาวอรัญประเทศ

“หลวงพ่อทอง” หรือ พระครูวิชิต เขมากร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว และเจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ เกจิชื่อดังของชาวอรัญประเทศ

“หลวงพ่อทอง” หรือ พระครูวิชิต เขมากร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว และเจ้าอาวาสวัดหลวงอรัญญ์ เกจิชื่อดังของชาวอรัญประเทศ

ขอบคุณภาพ : มติชน

“หลวงปู่แสง ญาณวโร”

วันที่ 19 มิ.ย.2566

“หลวงปู่แสง ญาณวโร” เกจิอาจารย์แห่งวัดป่าดงสว่างธรรม ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ละสังขาร สิริอายุ 98 ปี พรรษา 76 ท่ามกลางความอาลัยของศิษยานุศิษย์

หลวงปู่แสง จันดะโชโต (ญาณวโร) เดิมชื่อ นายแสง ดีหอม เกิดเมื่อวันที่ 1 ก.ย.2467 ที่ อ.ฟ้าหยาด จ. อุบลราชธานี (ปัจจุบัน คือ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร) เข้าอุปสมบท วันที่ 1 มิ.ย.2490 ณ วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

จากนั้นเข้าศึกษาธรรมและปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ก่อนจะไปจำพรรษากับ หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย ระหว่าง พ.ศ.2494-2496

จากนั้นเดินทางไปพำนักและสร้างวัดถ้ำขาม กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ใน พ.ศ.2497 ก่อนจะไปจำพรรษากับ หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย 1 พรรษา และมาจำพรรษากับ หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดราษฎร์สงเคราะห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี นานถึง 20 พรรษา

ระหว่างนั้นท่านได้เดินทางไปปฏิบัติกับครูอาจารย์สายวิปัสสนา อีกหลายรูป อาทิ พระอาจารย์แบน ธนากโร ที่วัดธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

อ่านข่าว : 10 ที่สุดแห่งปี แวดวงกีฬาไทย ปี 2566

“หลวงปู่แสง ญาณวโร” เกจิอาจารย์แห่งวัดป่าดงสว่างธรรม ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

“หลวงปู่แสง ญาณวโร” เกจิอาจารย์แห่งวัดป่าดงสว่างธรรม ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

“หลวงปู่แสง ญาณวโร” เกจิอาจารย์แห่งวัดป่าดงสว่างธรรม ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้วิเวกธุดงค์ที่ภูเกล้า ภูเวียง จ.ขอนแก่น หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์วัน อุตตะโม หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ได้วิเวกธุดงค์ร่วมกันที่ถ้ำสาลิกา ภูสิงห์ ภูทอง ภูพานคำ และ ภูทอก ฯลฯ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม ได้จำพรรษาด้วยกัน (ปี 2532-2533)

จากนั้นเดินทางกลับจำพรรษาที่วัดป่านาเกิ้งญาณวโร บ้านนาเกิ้ง อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ ใน พ.ศ.2552

ล่วงปีรุ่งขึ้น วันที่ 21 พ.ศ.2553 เดินทางไปจำพรรษาที่ วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (สำนักสงฆ์ภูทิดสา) บ้านห้วยฆ้อง ต.หนองข่า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ พ.ศ.2556 จำพรรษาที่สำนักสงฆ์บ้านเวินชัย อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร

ก่อนกลับมาจำพรรษาที่ วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ต.โคกนาโก อ. ป่าติ้ว จ.ยโสธร จนละสังขาร

หลวงปู่ทองผุด ญาณวโร

หลวงปู่ทองผุด ญาณวโร พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แห่ง วัดภูเขาดิน อ.เชียงคาน จ.เลย

หลวงปู่ทองผุด ญาณวโร พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แห่ง วัดภูเขาดิน อ.เชียงคาน จ.เลย

หลวงปู่ทองผุด ญาณวโร พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แห่ง วัดภูเขาดิน อ.เชียงคาน จ.เลย

วันที่ 26 มิ.ย.2566

หลวงปู่ทองผุด ญาณวโร พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แห่ง วัดภูเขาดิน อ.เชียงคาน จ.เลย ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 89 ปี พรรษา 70

หลวงปู่ทองผุด ญาณวโร เกิดวันที่ 29 ส.ค.2476 ที่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ อุปสมบท วันที่ 23 พ.ค.2496 ณ พัทธสีมาวัดสว่างอารมณ์ บ้านอุ่มเม่า อ.ยางตลาด ก่อนจะเดินทางไปฝากตัวปฏิบัติและศึกษาธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ และครูบาอาจารย์อีกหลายรูป

หลวงปู่ทองผุด เป็นพระที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ตามแนวทางศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฟั่น อาจาโร หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่คำดี และหลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน จ.เลย

หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธัมโม

วันเดียวกัน 26 มิ.ย.2566
ศิษยานุศิษย์ชาวนครปฐม และทั่วประเทศ ต้องสูญเสียเกจิอาจารย์ไปอีกรูป

หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธัมโม หรือ พระครูปราการลักษาภิบาล อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 86 ปี พรรษา 66

หลวงพ่อสมพงษ์ เดิมชื่อ สมพงษ์ นามสกุล พวงสุข เกิดวันที่ 21 พ.ย.2479 ที่บ้าน ต.หันคา อ.หันคา จ.ชัยนาท อุปสมบท วันที่ 15 มิ.ย.2499 ณ อุโบสถวัดท่ากฤษณา อ.หันคา มีพระครูสรชัยวิชิต เจ้าอาวาสวัดท่ากฤษณา เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธัมโม หรือ พระครูปราการลักษาภิบาล อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม

หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธัมโม หรือ พระครูปราการลักษาภิบาล อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม

หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธัมโม หรือ พระครูปราการลักษาภิบาล อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม

จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาราม ต.ดอนกะพี้ อ.หันคา พ.ศ.2502 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดพระงาม จ.นครปฐม

พ.ศ.2507 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม และได้รับถวายปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันราชภัฏนครปฐม

“หลวงพ่อทอง” หรือ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (สุวรรณ สุวิชาโน)

วันที่ 27 ก.ค.2566

ศิษยานุศิษย์สายพุทธาคมต้องสูญเสีย “หลวงพ่อทอง” หรือ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (สุวรรณ สุวิชาโน) เกจิชื่อดังแห่งวัดดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซึ่งท่านมรณภาพด้วยโรคชรา สิริอายุ 107 ปี พรรษา 83

“หลวงปู่ทอง” เป็นศิษย์ของ “หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร” วัดท่ากระบือ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำท่าจีน

หลวงปู่ทอง เดิมชื่อสุวรรณ รุ่งอารีย์ เกิดวันที่ 27 เม.ย.2460 ที่บ้านดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร อุปสมบท พ.ศ.2483 ที่วัดดอนไก่ดี มีพระครูสังวรศีลวัตร (หลวงพ่ออาจ) วัดดอนไก่ดี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุทรคุณาจารย์ (หลวงปู่ฮะ) วัดดอนไก่ดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อเล็ก วัดหงอนไก่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับการอบรมสมาธิภาวนาจากพระอุปชฌาย์มาระยะหนึ่ง จึงไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อรุ่งวัดท่ากระบือ จนได้รับการถ่ายทอดวิชาเขียนยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ลงตะกรุด ทำน้ำมนต์
“หลวงปู่ทอง” เป็นศิษย์ของ “หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร” วัดท่ากระบือ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำท่าจีน

“หลวงปู่ทอง” เป็นศิษย์ของ “หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร” วัดท่ากระบือ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำท่าจีน

“หลวงปู่ทอง” เป็นศิษย์ของ “หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร” วัดท่ากระบือ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำท่าจีน

จนเป็นที่กล่าวถึงและเคารพบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความเข้มขลัง ซึ่งวัตถุมงคลที่ท่านสร้างขึ้นและเป็นที่นิยม เช่น พระขุนแผนมหาเมตตาใหญ่, นางกวัก, เหรียญหลวงปู่ทอง รุ่นมหาลาภ เป็นต้น

ต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระปลัดสุวรรณ สุวิชาโน ฐานานุกรมใน พระไพโรจน์วุฒาจารย์ หรือ หลวงพ่อรุ่ง ติสฺสโร วัดท่ากระบือ ก่อนจะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชมงคลวุฒาจารย์” เมื่อ พ.ศ.2564

หลวงปู่ขันธ์ สิริวณฺโณ หรือ พระราชมงคลวชิรโสภิต

วันที่ 19 ส.ค.2566

หลวงปู่ขันธ์ สิริวณฺโณ หรือ พระราชมงคลวชิรโสภิต ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าอาวาสวัดมงคลโสภิต (วัดต้นสน) ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 100 ปี พรรษา 80

หลวงปู่ขันธ์ สิริวณฺโณ เป็นพระผู้ปฏิบัติที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ใส่ใจกัมมัฎฐาน มีความเชี่ยวชาญวิทยาค

หลวงปู่ขันธ์ เกิดในครอบครัว คงสาคร เมื่อวันที่ 20 ก.ค.2466 ที่บ้าน อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนในหมู่บ้าน

อายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดโพธาราม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา วันที่ 22 เม.ย.2486 มีพระครูวิจารณ์ธรรมานุวัตร วัดโพธาราม อ.เมืองฉะเชิงเทรา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบู่ วัดประเวศวัฒนาราม อ.บ้านโพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์แม้น วัดโพธาราม ต.บางพระ อ.เมืองฉะเชิงเทรา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงปู่ขันธ์ สิริวณฺโณ หรือ พระราชมงคลวชิรโสภิต ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าอาวาสวัดมงคลโสภิต (วัดต้นสน) ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงปู่ขันธ์ สิริวณฺโณ หรือ พระราชมงคลวชิรโสภิต ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าอาวาสวัดมงคลโสภิต (วัดต้นสน) ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

หลวงปู่ขันธ์ สิริวณฺโณ หรือ พระราชมงคลวชิรโสภิต ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าอาวาสวัดมงคลโสภิต (วัดต้นสน) ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม จนสำเร็จนักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนวัดมงคลโสภิต อ.บ้านโพธิ์ ก่อนจะธุดงค์จาริกไปศึกษาปฏิบัติกับครูบาอาจารย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลายรูป อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู (เดิม จ.อุดรธานี) หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

หลวงปู่ขันธ์ ธุดงค์อยู่หลายปีจึงเดินทางกลับวัดมงคลโสภิต และจำพรรษาที่นั่นตลอดมา คอยช่วยเหลืองานศาสนกิจ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สอนกรรมฐาน ฯลฯ และด้วยเพราะเป็นพระปฏิบัติดีเคร่งครัดพระธรรมวินัย จึงได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมงคลโสภิต พ.ศ.2511

“หลวงปู่จันทร์ กตปุญฺโญ” หรือ พระราชธรรมาลังกา

วันที่ 11 ก.ย.2566

สิ้นเกจิดังลำปาง “หลวงปู่จันทร์ กตปุญฺโญ” หรือ พระราชธรรมาลังกา อดีตเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหารพระอารามหลวง

หลวงปู่จันทนร์ นามเดิม จันทร์ วรรณปลูก เกิดวันที่ 23 ก.ย.2472 บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 23 ก.ย.2482 ณ วัดศรีหมวดเกล้า โดยมี เจ้าอธิการอินทร์ อินฺทปญฺโญ วัดเข้าหมู่หนองยาง เป็นพระอุปัชฌาย์

สิบปีต่อมา อุปสมบท เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2492 ณ อุโบสถวัดศรีหมวดเกล้า มี เจ้าอธิการอินทร์ อินฺทปญฺโญ วัดเข้าหมู่หนองยาง เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นศึกษาพระธรรมจนสอบนักธรรมชั้นเอกได้ เมื่อ พ.ศ.2496 และเดินทางมาศึกษาเปรียญธรรมที่กรุงเทพฯ และสอบเปรียญธรรม ประโยค 4 ได้เมื่อ พ.ศ.2502 ที่สำนักเรียนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ และ พ.ศ.2512 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) จากมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย

ด้านการปกครอง ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดศรีหมวดเกล้า กระทั่ง พ.ศ.2514 ได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดศรีหมวดเกล้า พ.ศ.2518 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวง พ.ศ.2521 เป็น รองเจ้าคณะอำเภอเมืองลำปาง พ.ศ.2523 เป็นพระอุปัชฌาย์

“หลวงปู่จันทร์ กตปุญฺโญ” หรือ พระราชธรรมาลังกา อดีตเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหารพระอารามหลวง

“หลวงปู่จันทร์ กตปุญฺโญ” หรือ พระราชธรรมาลังกา อดีตเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหารพระอารามหลวง

“หลวงปู่จันทร์ กตปุญฺโญ” หรือ พระราชธรรมาลังกา อดีตเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหารพระอารามหลวง

พ.ศ.2527 เป็นเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวง พ.ศ.2528 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองลำปาง พ.ศ.2532 รองเจ้าคณะจังหวัดลำปาง พ.ศ.2548-2552 เป็นเจ้าคณะจังหวัดลำปาง พ.ศ.2552 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดลำปาง และ พ.ศ.2561 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6

ด้านการศึกษา เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ลำปาง และได้รับการถวายปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พ.ศ.2541

สมณศักดิ์ พ.ศ.2518 เป็น พระครูปลัด พ.ศ.2528 เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ที่ พระครูสิริบุญวาท พ.ศ.2532 เป็น พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2539 รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุนทรมุนี พ.ศ.2549 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชธรรมาลังการ สุวิธานศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

“หลวงพ่อพัฒน์” หรือ พระราชมงคลวัชราจารย์

วันที่ 24 พ.ย.2566

“หลวงพ่อพัฒน์” หรือ พระราชมงคลวัชราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยด้วน เกจิอาจารย์ชื่อดังนครสวรรค์ มรณภาพ สิริอายุ 101 ปี พรรษา 77

หลวงพ่อพัฒน์ เกิดวันที่ 12 พ.ค.2465 ที่บ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.2489 ณ อุโบสถวัดสระทะเล มี พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด อกฺกวโส) วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่กัน วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการชั๊ว วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “ปุญฺญกาโม”

หลวงพ่อพัฒน์ได้รับสืบทอดวิชาจากหลวงปู่เทศ วัดสระทะเล ผ่าน หลวงปู่เดิม วัดหนองโพ หลวงปู่อิน วัดหางน้ำสาคร หลวงปู่หมึก วัดสระทะเล และหลวงปู่โหมด วัดโคกเดื่อ

“หลวงพ่อพัฒน์” หรือ พระราชมงคลวัชราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยด้วน เกจิอาจารย์ชื่อดังนครสวรรค์

“หลวงพ่อพัฒน์” หรือ พระราชมงคลวัชราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยด้วน เกจิอาจารย์ชื่อดังนครสวรรค์

“หลวงพ่อพัฒน์” หรือ พระราชมงคลวัชราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยด้วน เกจิอาจารย์ชื่อดังนครสวรรค์

ต่อมาเรียนวิชาเมตตามหานิยมกับ หลวงปู่ชุบ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์ และเป็นเจ้าอาวาสที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งนาน 6 ปี ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดสระทะเล และย้ายมาจำพรรษาที่วัดห้วยด้วน อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ตั้งแต่ พ.ศ.2513 จนถึงมรณภาพ

ระหว่างนั้นท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ตั้งแต่ พ.ศ.2505 เป็นพระครูประทวนสมณศักดิ์ที่ พระครูพัฒน์ ปุญฺญกาโม พ.ศ.2526 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบล ชั้นตรี ที่ พระครูนิวิฐปุญญากร

พ.ศ.2543 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบล ชั้นโท ในราชทินนามเดิม พ.ศ.2545 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม พ.ศ.2564 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชมงคลวัชราจารย์ ไพศาลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

“หลวงปู่หา สุภโร” พระเทพมงคลวชิรมุนี วิ.

วันที่ 24 พ.ย.2566

“หลวงปู่หา สุภโร” พระเทพมงคลวชิรมุนี วิ. หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์แห่งเมืองน้ำดำ อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ ละสังขาร สิริอายุ 99 ปี พรรษา 77 อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ พระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด สุดยอดพระอภิญญาผู้เปิดโลกไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลวงปู่หา มีนามเดิม หา ภูบุตตะ เกิดวันที่ 2 ก.ค.2468 ที่บ้านนาเชือก ต.เว่อ (ปัจจุบัน ต.นาเชือก) อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์

อุปสมบทที่สิมน้ำ วัดสว่างนิวรณ์นาแก ต.นาเชือก อ.ยางตลาด มีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดมหานิกาย พ.ศ.2489 ย้ายมาอยู่ที่วัดนาเชือกใต้ (วัดสุวรรณชัยศรี) ต.นาเชือก

เมื่อท่านอายุ 22 ปี เข้าเป็นพระภิกษุสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติ มีพระครูประสิทธิ์สมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูปลัดอ่อน ขนฺติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระทองสุข เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายา สุภโร แปลว่า ผู้เลี้ยงง่าย

พ.ศ.2494 จำพรรษาที่วัดสุวรรณชัยศรี จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.2495 สอบได้นักธรรมชั้นโท จากสำนักวัดขวัญเมือง จ.กาฬสินธุ์ พ.ศ.2497 ศึกษาต่อที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ สำเร็จนักธรรมชั้นเอก

ท่านได้มีโอกาสอุปัฏฐากสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต) และด้วยความที่ท่านมีนิสัยใฝ่เรียนรู้จึงเรียนบาลีเป็นประจำทุกวัน และเดินทางไปเรียนกรรมฐานจากพระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) วัดธรรมมงคล และพระสุทธิธรรมรังสี (ลี ธมฺมธโร) ที่วัดบรมนิวาส ด้วย

พ.ศ.2510 ได้พัฒนาวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ต.โนนศิลา อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ โดยการสร้างอุโบสถ วิหาร เมรุเผาศพ และตัดถนนรอบวัด ก่อนจะนอนหลับฝันเห็นไดโนเสาร์ตัวใหญ่คอยาวเดินอยู่บริเวณเชิงเขาภูกุ้มข้าว เมื่อตื่นขึ้นจึงให้ลูกศิษย์ไปตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว

ขณะนั้นฝนตกหนัก พื้นดินสูงโดนน้ำเซาะจนเห็นกระดูกชิ้นใหญ่หลายสิบชิ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปจึงสั่งให้คนเก็บกระดูกนั้นไว้ และส่งข่าวไปยังนายอำเภอเพื่อตรวจสอบ

กระทั่งวันที่ 10 ก.ย.2537 เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี เข้ามาตรวจสอบบริเวณร่องน้ำ ข้างถนนเชิงเขาภูกุ้มข้าว ขุดพบซากฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ ปรากฏว่า เป็นไดโนเสาร์พันธุ์กินพืชที่ใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา ภายหลังตั้งชื่อว่า “อีสานโนซอรัสสิรินธรเน่” และมีการขอขุดค้นเพิ่มเติม ปัจจุบันคือ “อาคารหลุมขุดค้นไดโนเสาร์พระญาณวิสาลเถร” เพื่อเป็นอนุสรณ์

อีกทั้งยังมีการรวบรวมฟอสซิลไดโนเสาร์ จากทั่วสารทิศ มารวมที่วัดสักกะวัน และก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสัตว์โลกล้านปี ได้รับพระราชทานนามว่า “พิพิธภัณฑ์สิรินธร”ในปัจจุบัน
“หลวงปู่หา สุภโร” พระเทพมงคลวชิรมุนี วิ. หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์แห่งเมืองน้ำดำ อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์

“หลวงปู่หา สุภโร” พระเทพมงคลวชิรมุนี วิ. หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์แห่งเมืองน้ำดำ อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์

“หลวงปู่หา สุภโร” พระเทพมงคลวชิรมุนี วิ. หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์แห่งเมืองน้ำดำ อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์

หลวงปู่หา เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ชั้น เอก โท ตรี เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง ในคณะธรรมยุติภาคอีสาน

พ.ศ.2498 เป็นเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ต.โนนศิลา อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์, เป็นเจ้าคณะตำบล (ธ) โนนศิลา พ.ศ.2502 เป็นเจ้าคณะอำเภอ (ธ) ปกครอง 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สหัสขันธ์ กุฉินารายณ์ และท่าคันโท พ.ศ.2539 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) พ.ศ.2548 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ)

ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พ.ศ.2505 เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ พ.ศ.2508 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ในราชทินนามเดิม พ.ศ.2520 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2541 รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระญาณวิสาลเถร,วิ.

พ.ศ.2564 รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในที่ พระเทพมงคลวชิรมุนี,วิ. ภาวนาวิธีวราจารย์ ไพศาลศาสนกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง