"เหล้าพื้นบ้าน" ของดีเมืองแพร่ ผลักขึ้นแท่นสินค้า GI

เศรษฐกิจ
17 ม.ค. 67
14:54
612
Logo Thai PBS
 "เหล้าพื้นบ้าน" ของดีเมืองแพร่ ผลักขึ้นแท่นสินค้า GI
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพย์สินฯ ดันเหล้าพื้นบ้าน ของดีเมืองแพร่ ขึ้นทะเบียน GI สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร ช่วยรัฐเก็บภาษีเพิ่มปีละกว่า 370 ล้านบาท

วันนี่ (17 ม.ค.2567) น.ส.กนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมถึงสุราพื้นบ้าน เมื่อวันที่ 2 ม.ค.2567 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ

กรมฯ ขานรับแนวนโยบายดังกล่าวซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล ที่ต้องการผลักดันสินค้าไทย

นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

จากนั้นได้ลงพื้นที่แหล่งผลิตสุราสักทองแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสุราพื้นบ้านชั้นดีและมีชื่อของ จ.แพร่ เพื่อประเมินกรรมวิธีและกระบวนการผลิตว่า เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียน GI หรือไม่

พร้อมระดมความเห็นคนในพื้นที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมสุราพื้นบ้าน และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

น.ส.กนิษฐา กล่าวต่อว่า สุรากลั่น จ.แพร่ ผลิตจากข้าวเหนียว หมักด้วยลูกแป้งหัวเชื้อสูตรลับเฉพาะ และใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่รวมถึงน้ำพุร้อน ปัจจุบันมีผู้ผลิตสุรากลั่น ใน จ.แพร่กว่า 200 ราย สร้างรายได้ให้แผ่นดินจากการจ่ายอากรแสตมป์สุรากว่าปีละ 370,000,000 บาท

ในอนาคตหากสินค้าดังกล่าว สามารถผลักดันขึ้นทะเบียนเป็น GI สำเร็จ ก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสุรา และสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบด้วย นอกจากสุราพื้นบ้านแล้ว กรมฯ ได้หารือกับผู้ผลิตและหน่วยงานในจังหวัด ซึ่งมีแผนที่จะผลักดันการขึ้นทะเบียน GI ส้มโอขาวน้ำผึ้งเมืองลอง และ ส้มเขียวหวานวังชิ้น

ปัจจุบัน กรมฯ ได้ขึ้นทะเบียนสินค้า GI ไทยแล้ว 195 สินค้า ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่ง จ.แพร่ มีสินค้า GI ผ้าหม้อห้อมแพร่ สร้างรายได้ปีละ 3,218,000 บาท ซึ่งบ้านทุ่งโฮ้ง จ.แพร่ เป็นแหล่งใหญ่ที่สุด มีการสืบทอดการผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยาวนาน

ลักษณะเด่นของหม้อห้อมคือ เป็นผ้าทอพื้นเมือง หรือเสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์ที่ผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ ทำให้เกิดลวดลายด้วยการมัดย้อม การจุ่ม หรือการพิมพ์ลาย

ด้วยภูมิปัญญาการก่อหม้อห้อม ที่ใช้ใบและต้นห้อมที่ปลูกใน จ.แพร่ ทำให้ผ้าทอและเสื้อผ้าที่ผ่านการย้อมเย็นมีเฉดสีฟ้า ถึงสีน้ำเงินเข้ม มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ซึ่งที่ผ่านมากรมฯ ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการผ้าหม้อห้อมแพร่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค

อ่านข่าวอื่นๆ:

เปิดช่องขึ้นราคานม UHT กล่องละ 50 สตางค์ ตามมติ Milk Board

ครม.เห็นชอบลดภาษีดีเซล 1 บาทต่อลิตรนาน 3 เดือน

กกพ.คาดค่าไฟฟ้า "พ.ค.-ส.ค." อยู่ที่ 4.20-4.25 บาทต่อหน่วย

แห้ว “ดิจิทัลวอลเล็ต” 10,000 บาท แจกไม่ทัน พ.ค.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง