5 วิธีปฏิบัติตัวเมื่อ "ลิฟต์ค้าง"

ไลฟ์สไตล์
21 ม.ค. 67
20:30
4,634
Logo Thai PBS
5 วิธีปฏิบัติตัวเมื่อ "ลิฟต์ค้าง"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ลิฟต์ค้าง" อาจไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย และคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนหรือคนรู้จัก แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว วิธีการปฏิบัติตนเพื่อเอาตัวรอดขณะเกิดเหตุ มีดังนี้

1.ตั้งสติ

ไม่ว่าจะเกิดเหตุฉุกเฉินใดๆ การตั้งสติ คือสิ่งจำเป็นอันดับแรกที่ต้องทำ อย่าตื่นตระหนกตกใจ ให้พยายามหายใจเข้า-ออกเป็นจังหวะ โดยปกติลิฟต์จะมีระบบความปลอดภัยสำรอง และมีระบบการระบายอากาศ รวมถึงไฟฉุกเฉิน

ภาพประกอบข่าว : รีบแจ้งเหตุให้คนภายนอกรับรู้

ภาพประกอบข่าว : รีบแจ้งเหตุให้คนภายนอกรับรู้

ภาพประกอบข่าว : รีบแจ้งเหตุให้คนภายนอกรับรู้

2.ปุ่มฉุกเฉิน

ในลิฟต์ส่วนใหญ่จะมีปุ่มฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือ "เป็นรูปกระดิ่งหรือระฆัง" ผู้โดยสารที่ติดลิฟต์ ให้กดปุ่มเพื่อขอความช่วยเหลือ เพื่อส่งสัญญาณให้ภายนอกรับรู้ 

แต่ในกรณีที่ปุ่มฉุกเฉินไม่สามารถใช้งานได้ ให้ใช้วิธีการตะโกนออกไปหรือทุบประตูลิฟต์เพื่อขอความช่วยเหลือจากภายนอก แต่ห้ามงัดแงะประตูลิฟต์ หรือปีนขึ้นบนเพดานลิฟต์เด็ดขาด เพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าของลิฟต์เสีย จะทำให้การช่วยเหลือล่าช้าไปอีกได้

ภาพประกอบข่าว : ปุ่มฉุกเฉินรูปกระดิ่งหรือระฆัง

ภาพประกอบข่าว : ปุ่มฉุกเฉินรูปกระดิ่งหรือระฆัง

ภาพประกอบข่าว : ปุ่มฉุกเฉินรูปกระดิ่งหรือระฆัง

ปุ่มฉุกเฉิน ต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น อย่ากดเล่นเด็ดขาด! 

3.โทรศัพท์แจ้งเหตุ

ตามปกติลิฟต์ในปัจจุบันจะมีระบบไฟฟ้าสำรองซึ่งจะสว่างขึ้นเมื่อลิฟต์ค้าง แต่หากประสบเหตุในลิฟต์ที่ไม่มีไฟสำรองหรือไฟสำรองเสีย ให้ใช้โทรศัพท์มือถือสร้างแสงสว่าง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย โดยให้ส่องแสงไปทางประตูลิฟต์ เพื่อเป็นสัญญาณให้คนภายนอกรับรู้ รวมถึงแจ้งเหตุกับผู้คนภายนอก ไม่ว่าจะโทรหาหรือพิมพ์ข้อความ โดยให้แจ้งว่า

  • จำนวนผู้โดยสารที่ติดในลิฟต์มีกี่คน
  • มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือไม่
  • ตอนนี้ลิฟต์อยู่ชั้นไหน
  • หากไม่รู้ให้บอกว่าเรากำลังขึ้นหรือลงมาจากชั้นไหน 
ภาพประกอบข่าว : พยายามติดต่อคนภายนอกเพื่อขอความช่วยเหลือ

ภาพประกอบข่าว : พยายามติดต่อคนภายนอกเพื่อขอความช่วยเหลือ

ภาพประกอบข่าว : พยายามติดต่อคนภายนอกเพื่อขอความช่วยเหลือ

ห้ามใช้ไฟแช็กเด็ดขาด เพราะจะทำให้ออกซิเจนหมดไวมากขึ้น!

4.เคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด

ให้พยายามอดทนรอความช่วยเหลือจากภายนอกให้มากที่สุด ในขณะที่รอให้เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุดด้วย เช่น พูดให้น้อย อยู่เฉยๆ นิ่งๆ หายใจช้าๆ หากใส่เสื้อผ้าหนาๆ ให้ถอดออกเพื่อไม่ให้ร่างกายร้อนอบอ้าวจนต้องหายใจเยอะๆ 

5.อย่านั่งหรือนอน

เมื่อลิฟต์ค้าง ให้ผู้โดยสารในลิฟต์ยืนเกาะราวหรือยืนหลังพิงผนังลิฟต์ อย่านั่งหรือนอนเด็ดขาด เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ร่างกายหายใจออกมา จะลงสู่ที่ต่ำ และก๊าซออกซิเจนจะลอยตัวขึ้นสูง หากร่างกายได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ จนหมดสติได้ 

ภาพประกอบข่าว : ห้ามนั่งหรือนอน ให้ยืนพิงผนังลิฟต์หรือหาราวเกาะ

ภาพประกอบข่าว : ห้ามนั่งหรือนอน ให้ยืนพิงผนังลิฟต์หรือหาราวเกาะ

ภาพประกอบข่าว : ห้ามนั่งหรือนอน ให้ยืนพิงผนังลิฟต์หรือหาราวเกาะ

แผนช่วยเหลือผู้โดยสารติดลิฟต์

โดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่ประจำอาคารจะมีแผนสำหรับช่วยเหลือคนกรณีลิฟต์ค้างอยู่แล้ว แต่หากคนทั่วไป บังเอิญได้ยินเสียงเคาะประตูลิฟต์ หรือ เสียงขอความช่วยเหลือ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่อาคาร หรือ 1669 ทันทีหากมีผู้ได้รับบาดเจ็บ

โดยแจ้งข้อมูลจำนวนคนในลิฟต์ มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ และตอนนี้ลิฟต์ค้างอยู่ที่ชั้นใด  

และให้แจ้งข้อมูลกับผู้ที่ติดอยู่ในลิฟต์ว่าขณะนี้กำลังให้ความช่วยเหลืออยู่ เพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้ประสบเหตุ รวมถึงห้ามให้คนในลิฟต์แงะงัดประตูอย่างเด็ดขาด เพื่อลดอุบัติเหตุขณะที่กำลังช่วยเหลือ 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

อ่านข่าวเพิ่ม : BTS แจงเหตุไฟฟ้าขัดข้อง ทำ "ตา-ยาย" ติดในลิฟต์นับชั่วโมง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง