รู้จักเจ้าป่าเลือดผสม "Liger และ Tigon"

สิ่งแวดล้อม
17 พ.ค. 67
17:00
3,396
Logo Thai PBS
รู้จักเจ้าป่าเลือดผสม "Liger และ Tigon"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไขคำตอบ "เจ้าป่าเลือดผสม" ความต่างระหว่าง ไลเกอร์ และไทกอน ลูกครึ่งระหว่างสิงโตกับเสือโคร่ง กรมอุทยานฯ สั่งตรวจสอบหากพบมีหลุดรอดเข้าไทยเข้าข่ายสัตว์ป่าควบคุมในบัญชีไซเตส

กรณีเจ้าหน้าที่กู้ภัยและชาวบ้าน ช่วยกันล้อมจับ "ลูกเสือโคร่ง" ในซอยบางวัว-บางจาก 7 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา แต่เจ้าของอ้างว่าเป็นไลเกอร์ และนำมาเพ็นต์ลายเป็นลูกเสือโคร่งเพื่อใช้ถ่ายทำหนัง

หลายคนอาจจะอยากรู้ว่าไลเกอร์ คือสัตว์ป่าชนิดไหน ข้อมูลจากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โพสต์ข้อมูลเรื่องนี้ว่า รู้จักเจ้าป่าเลือดผสม "Liger และ Tigon"

โดย Liger (ไลเกอร์) และ Tigon (ไทกอน) เป็นลูกที่เกิดจากการผสมเทียมของสิงโตกับเสือโคร่งLiger(ไลเกอร์) นั้นเกิดมาจากสิงโตตัวผู้ และเสือโคร่งตัวเมีย

"ไลเกอร์" Liger  มีลายมาจากแม่ ได้แผงขนหนา ๆ มาจากพ่อ และมีแนวโน้มจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่เกิน ไลเกอร์ตัวเดียวอาจมีน้ำหนักได้มากพอ ๆ กับสิงโตและเสือโคร่งรวมกัน

ลูกสิงโต  (ภาพกรมอุทยานแห่งชาติ)

ลูกสิงโต (ภาพกรมอุทยานแห่งชาติ)

ลูกสิงโต (ภาพกรมอุทยานแห่งชาติ)

สถิติโลกของไลเกอร์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นของไลเกอร์ที่มีชื่อว่า "เฮอคิวลีส" มันมีความยาวถึง 3.6 เมตร และหนักถึง 408 กิโลกรัม แมวขนาดมหึมานี้ดูน่าอัศจรรย์ แต่ขนาดใหญ่โตของมัน ก็มาพร้อมกับปัญหาสุขภาพ และมักจะอายุสั้น

อ่านข่าว คนละตัว! ลูกเสือโคร่ง-สิงโต กรมอุทยานฯ สั่งยึด-เช็กสัตว์ทุกตัว

"ไทกอน" Tigon เกิดมาจากเสือโคร่งตัวผู้และสิงโตตัวเมีย ไทกอน มีลาย และเพศผู้มีแผงขนสั้น ๆ โดยปกติไทกอนมีขนาดพอ ๆ กับพ่อหรือแม่ การผสมลักษณะนี้พบไม่บ่อยเท่าไลเกอร์ (อาจเป็นเพราะมันไม่สามารถเจริญได้จนเต็มวัย) และโชคร้ายที่ไทกอนมีปัญหาสุขภาพเช่นเดียวกับที่พบในไลเกอร์

ไลเกอร์ และไทกอน ที่มีในโลกส่วนมากแล้วนั้น เกิดขึ้นจากการผสมเทียมโดยคนทั้งสิ้น เพราะในความปกติแล้ว เสือและสิงโตนั้นมีพฤติกรรมไม่เหมือนกัน และยังอยู่อาศัยกันคนละถิ่นคนละภูมิประเทศ

สำหรับประเทศไทย ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่ามีไลเกอร์ ในกรงเลี้ยงหรือไม่ กระทั่งมีข่าวเกิดขึ้นเมื่อช่วง 2-3 วันก่อน ทำให้กรมอุทยานฯ เตรียมให้กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา (ไซเตส) ตรวจสอบแล้ว และหากพบว่าเป็นไลเกอร์ ก็อาจเข้าข่ายต้องเตรียมควบคุมแบเดียวกับสิงโต ซึ่งอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าควบคุม ประเภท ก.ของไซเตสด้วย 

อ่านข่าวอื่นๆ

เจ้าของอ้าง "ไลเกอร์" เพ้นท์ลาย ไม่ใช่ "ลูกเสือโคร่ง"

ล้อมจับ "ลูกเสือโคร่ง" โผล่กลางชุมชนย่านบางปะกง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง