23 พ.ค.นี้ ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญจำหน่ายคำร้อง 40 สว.

การเมือง
22 พ.ค. 67
19:44
961
Logo Thai PBS
23 พ.ค.นี้ ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญจำหน่ายคำร้อง 40 สว.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จับตาศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่ง "จำหน่ายคดี" หรือไม่ หลัง "พิชิต ชื่นบาน" ลาออกจากตำแหน่ง สืบเนื่องจาก สว. 40 คนร่วมลงชื่อยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ เหตุขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

วันนี้ (22 พ.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนการประชุม-หารือในรอบสัปดาห์จากวันนี้ เนื่องจากเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นวันที่ 23 พ.ค. และเป็นที่คาดการณ์ว่าคำร้องของ 40 สว. ที่ประธานวุฒิสภาส่งถึงฝ่ายธุรการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา จะเข้าสู่การพิจารณาด้วย

แต่หลังนายพิชิต ชื่นบาน ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถึงนายกรัฐมนตรี และขอให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.2567 พร้อมร้องขอโอกาสให้นายกฯ เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศโดยไร้ข้อกังวล และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการขอถอนคำร้อง

เว้นแต่นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม 1 ใน 40 ที่ลงชื่อยื่นคำร้อง ซึ่งประกาศลาออกจาก รองประธานกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ ของวุฒิสภา พร้อมยอมรับว่า "น้อยใจ" ที่เพื่อน สว.ตำหนิและกล่าวหาว่าทำตามใบสั่งทางการเมือง ทั้งที่ตั้งใจทำเพื่อประเทศ กรณีขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบคุณสมบัตินายกฯ และนายพิชิต

สำหรับคำร้องขอให้วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน และนายพิชิต ชื่นบาน ต้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวหรือไม่ เหตุกระทำการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง และกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ กรณีเสนอชื่อ-แต่งตั้งนายพิชิต ทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญปี 2560

นักวิชาการเห็นต่างตีความคำร้อง

มีรายงานจากศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ข้อกล่าวหาตามคำร้องของ 40 สว.ร้องผู้ถูกร้อง 2 คน และโดยข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัยผูกโยงผู้ร้องที่ 1 ซึ่งหมายถึงนายเศรษฐา ไปยังผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เป็นนายพิชิต ดังนั้นการลาออกของนายพิชิต ไม่ได้เป็นผลต่อการพิจารณารับหรือไม่รับคำร้อง หรือแม้แต่จะจำหน่ายคดี

เช่นเดียวกับอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ชี้ว่า การจำหน่ายคดีขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลฯ โดยเฉพาะ "การพิจารณาที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ" ก่อนจะอธิบายความเหมือนของคำสั่งศาลฎีกากับคำพิพากษา และความต่างในรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 วงเล็บ 7 คือ โทษจำคุกที่พ้นมาแล้ว 10 ปี กับมาตรา 160 วงเล็บ 7 ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก ซึ่งต้องตีความกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายพิชิต

ขณะที่ รศ.ยุทธพร อิสรชัย เชื่อว่า การลาออกของนายพิชิต ทำให้เหตุของคำร้องหมดไป จึงอาจไม่รับคำร้อง 40 สว. ส่วนที่เห็นแย้งเรื่องความผิดสำเร็จไปแล้วน่าจะเกิดจากการตีความบิดเบือน เพราะโดยส่วนตัวเห็นว่านายพิชิตไม่ได้ขาดคุณสมบัติ และการเสนอชื่อ-แต่งตั้งก็มีองค์กรอย่างกฤษฎีการับรองแล้ว

อ่านข่าว

สมัคร สว.วันที่ 3 นักวิชาการแห่สมัคร "สันธนะ" ยื่นเอกสารเขตปทุมวัน

10 ปีรัฐประหาร "ยิ่งลักษณ์" หวังเห็น รธน.ฉบับใหม่ พาประเทศสู่ ปชต.

บวท.พร้อมรับมือสภาพอากาศกระทบเที่ยวบิน-รองรับภาวะฉุกเฉิน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง