"DRAG" ผู้สร้างศิลปะผ่านโชว์แห่งความภาคภูมิใจของ LGBTQIA+

ไลฟ์สไตล์
29 พ.ค. 67
12:54
341
Logo Thai PBS
"DRAG" ผู้สร้างศิลปะผ่านโชว์แห่งความภาคภูมิใจของ LGBTQIA+
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จากที่เคยมีพื้นที่แสดงที่จำกัดและเป็นที่รู้จักเฉพาะกลุ่ม จนมาถึงยุคที่มีพื้นที่สื่อและเป็นกระแสมากขึ้น ทำให้จำนวนของ Drag Queen ในไทยมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำความรู้จัก Drag ให้มากขึ้น สกิลการครีเอทโชว์ผ่านการแต่งตัว การแสดง ที่ใช้คำว่า "Art ตัวแม่" ได้จริง ๆ

แดร็ก (DRAG) คือใคร

Drag เป็นรูปแบบของศิลปะแขนงหนึ่งที่มีมานานหลายศตวรรษ รวมทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย Drag เริ่มต้นจากชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศก่อนพัฒนาไปทุกเพศ 

การแสดงแดร็ก เป็นการผสมผสานองค์ประกอบของการแต่งกาย การแต่งหน้า การเต้น การลิปซิงค์ ดนตรี และการแสดงตลก สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือ แดร็กก็เหมือนกับงานศิลปะรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถแสดงออกไปได้หลากหลายรูปแบบ ในต่างประเทศ Drag สามารถทำการแสดงได้ตั้งแต่ไนท์คลับ จนถึงการแสดงสำหรับโรงเรียน ห้องสมุด และชุมชน

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

แดร็กควีน หมายถึงกลุ่มคนที่ร่างกายเป็นผู้ชาย แต่มีความสามารถแต่งตัวเป็นผู้หญิงได้อย่างสวยงาม คำนี้มีที่มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "Dressed Resembling A Girl" หรือ "แต่งตัวเหมือนผู้หญิง" จุดประสงค์เพื่อการแสดงหรือความบันเทิง เรียกว่าพวกเธอมีความสามารถไม่เฉพาะการแต่งหน้า แต่งตัวเท่านั้น แต่ทุกอย่างต้องแฝงไปด้วยความโดดเด่น เอกลักษณ์เฉพาะตัว แหวกแนว คอสตูมชุดที่ Mix and Match ให้เข้ากับคอนเซปต์การแสดง ที่ต้องส่งพลังไปถึงคนดูให้ตะลึงกับความอลังการ 

สำหรับผู้หญิงที่แต่งตัวเป็นผู้ชาย เรียก แดร็ก คิง (Drag King)

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

อ่านข่าว : เราจะรู้อะไรบ้างจากเดือนแห่งความภาคภูมิใจ Pride Month 2024

Drag Queen Story Time การสื่อสารเรื่องเพศในเด็ก

ในสหรัฐอเมริกามีกิจกรรม Drag Queen Story Time ที่เริ่มต้นในซานฟรานซิสโกตั้งแต่ปี 2558 โดยมีชาวแดร็กเป็นเสมือนคุณครู เล่านิทานให้เด็ก ๆ ฟัง หรือบางที่ก็มีครอบครัวเด็ก ๆ เข้าร่วมด้วย หนังสือที่ใช้จะเป็นหนังสือประเภทส่งเสริมหัวข้อการยอมรับความหลากหลายและการแสดงออก นำเสนอตัวละครและครอบครัวจากภูมิหลังที่หลากหลาย ตอบคำถามที่เด็ก ๆ สงสัย เล่นเกม ทำงานฝีมือ หรือโพสท่าถ่ายรูปกับเด็ก ๆ เพื่อส่งข้อความ สร้างทัศนคติเชิงบวกแก่เด็ก ๆ เกี่ยวกับความหลากหลายในการแสดงออกทางเพศ

การพัฒนาอัตลักษณ์ทางเพศในเด็กเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ในเด็กบางคนอาจเกิดความสับสนในตัวเองได้ เมื่อเด็กไม่ปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมตามเพศกำเนิดของตัวเอง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอารมณ์เชิงลบและนำไปสู่ปัญหาด้านพฤติกรรมหรือสุขภาพจิต

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

การสอนเด็กให้รู้จักถึงการแสดงออกทางเพศที่หลากหลาย จึงไม่ควรส่งเสริมว่าเป็นความผิดปกติทางเพศหรือความสับสน แต่ควรทำให้พวกเด็ก ๆ เข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญสำหรับพัฒนาการของเด็ก คือ พ่อแม่ โรงเรียน และชุมชน ที่ต้องสนับสนุนเด็กในการสำรวจและแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางเพศในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและน่าอยู่

Drag สู่มูลค่าการเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก

แม้ตัวตนของ Drag เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ปัจจุบันบาร์ที่แสดง Drag Show กลับมีอยู่ประมาณ 8 แห่ง กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งเพราะทัศนคติที่มองว่ายังเป็นการแสดงของกลุ่ม LGBTQIAN+ เท่านั้น แม้ว่ายังไม่เคยมีหน่วยงานใดเก็บสถิติอย่างเป็นทางการ ถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรม Drag Show ในไทย

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ผลพวงของการแสดง Drag ไม่ได้สร้างเม็ดเงินให้กับธุรกิจสถานบันเทิง หรือแม้แต่ตัวนักแสดง Drag เท่านั้น ถ้ามองไปรอบ ๆ กว่าจะมาเป็น Drag ได้ ยังมีธุรกิจระดับฐานรากอีกจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลพวงนี้ไปด้วย

  • วิกผม-สิ่งสำคัญที่ต้องมี ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 600-10,000 บาท ในแต่ละเดือนมีลูกค้ากลุ่ม Drag เข้ามาซื้อวิกเฉลี่ย 20-30 ชิ้น 

  • ชุด เสื้อผ้า-องค์ประกอบ เจ้าของร้านตัดเสื้อผ้าสำหรับ Drag ในศูนย์การค้าวอเตอร์เกท พาวิลเลี่ยน ย่านประตูน้ำ ยอมรับว่าการตัดเย็บไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องทำตามแบบที่เหล่า Drag ออกไอเดียให้

    ทีมข่าว The Active ลงพื้นที่สำรวจพบว่าราคาเสื้อผ้าสูงได้ถึง 30,000 บาท ไม่นับรวมเครื่องประดับอื่น ๆ เช่น สร้อย, ต่างหู, กำไล ราคาตกอยู่ที่ 100-1,000 บาท, ถุงน่อง 100-1,000 บาท, ค่าแต่งหน้า 1,500-5,000 บาท, รองเท้า 600-1,000 บาท
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ไจ๋ ซีร่า Drag Queen พันหน้า มาดอนน่าเมืองไทย

ศิรม์วิชญ์ กมลวรวุฒิ หรือที่เป็นที่รู้จักกันในนาม "ไจ๋ ซีร่า" บิวตี้บล็อกเกอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ ฉายา "Drag ควีนพันหน้า มาดอนน่าเมืองไทย" ที่นอกจากจับกระแส จนเปิดร้านวิกผมเป็นของตัวเองแล้ว ยังเห็นความเป็นไปได้ทางโอกาส ที่คนตัวเล็กตัวน้อย จะมีรายได้จากการผลักดันให้ Drag เป็นซอฟต์พาวเวอร์ใหม่ของไทย

เห็นได้จากปีนี้ร้านเครื่องประดับ ขายผ้า หรือการจองคิวเพื่อตัดชุดเดินขบวนในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ สำหรับตัวเธอแล้วไม่สามารถหาร้านตัดเย็บชุด Drag ได้แล้ว ไจ๋ ซีร่า กล่าวว่า 

มันมีวลีกะเทยว่า เพชรพาหุรัด สำเพ็งหมดแน่ ผ้าปักเลื่อมต้องเหมาไว้ วลีนี้ไม่เกินจริง

เพราะมีงานใหญ่แบบนี้ มีคนชื่นชอบ Drag มากขึ้น ก็ต้องวางแผนแต่งตัวให้ปัง ยังไม่นับรวมเม็ดเงินที่จะเข้ามาแล้วกระจายไปที่ร้านอาหาร ถ้ารัฐทำอย่างจริงจัง เป็นชั้นตอน สำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ได้จาก Drag Show จะได้ไม่ต้องรอเทศกาล หรือฤดูกาลท่องเที่ยว แต่ขับเคลื่อนด้วยตัวธุรกิจเองในระยะยาวได้

แพนไจน่า ฮีลส์ Drag Queen ไทยแลนด์สู่เวทีโลก

"ปันปัน นาคประเสริฐ" หรือที่รู้จักกันในวงการ Drag คือ "แพนไจน่า ฮีลส์" ต้นแบบและแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านวัฒนธรรม Drag และเสียงของ LGBTQIA+ ช่วงหนึ่งของบทสัมภาษณ์ที่เธอเคยให้ไว้กับบีบีซีไทย เธอมองว่าการเป็น Drag หรือการแต่งหญิงคือสิ่งไม่ผิด เธอไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ในทางกลับกัน เธอสร้างความสุขให้คนอื่น และสร้างความสุขให้ตัวเอง

ปันไม่เคยมองว่า การเป็น Drag หรือแต่งหญิงมันผิดแล้วก็ ปันรู้สึกว่าหลาย ๆ ครั้ง คนในสังคมจะรู้สึกโกรธหรือไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง ในที่สุดมันก็คือภาพ คนฆ่ากันได้เพราะว่าสิ่งที่เราใส่เหรอ ปันก็เลยรู้สึกว่า ก็ฉันก็ไม่ได้เบียดเบียนใคร เผลอ ๆ สร้างความสุขให้คนอื่น และฉันก็สร้างความสุขให้ตัวเอง

เบื้องหลังความสำเร็จก่อนจะเป็น Drag Queen ตัวแม่อีกคนของวงการ Drag ไทย ปันปันเคยผ่านเรื่องราวมากมายที่เกี่ยวกับความแตกต่างทางเพศตั้งแต่เด็ก ชีวิตการโดนกลั่นแกล้ง (Bully) ในโรงเรียน เพราะเขาแสดงออกแตกต่างจากเพื่อน ๆ เด็กผู้ชายคนอื่น ๆ และการยอมรับจากครอบครัวที่เต็มไปด้วยความคาดหวัง รวมไปถึงการยอมรับของสังคมในฐานะ Drag Queen ตัวแม่ของเมืองไทย

สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้เกิดเป็นพลังและการแสดงตัวตนของการเป็นเพศที่ 3 ซึ่งทำให้เกิดพื้นที่ในการแสดงความสามารถของเขาเองได้ และเขายังทำหน้าที่ส่งผ่านแมสเสจนี้ทางผลงานภาพถ่ายที่มีการแต่งตัวเป็น Drag Queen ร่วมกับคุณพ่ออีกด้วย

ปักหมุดประวัติศาสตร์ต้องบันทึก DRAG BANGKOK Festival 2024

กิจกรรม บางกอกไพรด์ เฟสติวัล 2024 ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ ศิลปิน Drag นับร้อยชีวิตทั้งไทย และต่างชาติ จะร่วมขบวนไพรด์พาเหรด ภายใต้ธีม Celebration of Love ในขบวนสีเหลือง Love For Identity แล้ว ยังมีกิจกรรมแสดงพิเศษ Drag Bangkok Festival 2024 พร้อมเวทีเสวนาตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.-3 มิ.ย.2567 ที่ลาน Park Paragon

อ่านข่าว : ไทยพีบีเอส ถ่ายทอดสด Bangkok Pride Festival 2024 ให้ชมทั่วโลก 1 มิ.ย. นี้

โดย The Active ไทยพีบีเอส รับหน้าที่ถ่ายทอดสด Policy Forum นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีรุ้ง ในวันที่ 3 มิ.ย.นี้ เวลา 10.00-12.00 น. 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ที่มา : "DRAG ได้กิน ใช่กิน…เพียงตัว" The Active, BBC 

อ่านข่าว : ปฏิทินมิถุนายน 2567 : หยุดยาวต้นเดือน-เฉลิมฉลอง Pride Month ทั้งเดือน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง