ชะลอปรับแผนระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา หวั่นกระทบลุ่มต่ำ

ภัยพิบัติ
8 ส.ค. 67
06:56
3,443
Logo Thai PBS
ชะลอปรับแผนระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา หวั่นกระทบลุ่มต่ำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมชลประทานเตรียมปรับแผนการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เป็น 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที คาดว่าในช่วงกลางเดือน ส.ค.นี้ ภาคเหนือจะมีฝนตกหนัก แต่แผนนี้ถูกสั่งให้ทบทวน

ผศ.สิตางศุ์ พิลัยหล้า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ในฐานะคณะที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ประชุมหารือหน่วยงานด้านน้ำเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน เตรียมแผนรับมือฝนตกหนักในช่วงปลายเดือน ส.ค.ถึงเดือน ก.ย.นี้

ผศ.สิตางศุ์ พิลัยหล้า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ในฐานะคณะที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ประชุมหารือหน่วยงานด้านน้ำเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน เตรียมแผนรับมือฝนตกหนักในช่วงปลายเดือน ส.ค.ถึงเดือน ก.ย.นี้

ผศ.สิตางศุ์ พิลัยหล้า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ในฐานะคณะที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ประชุมหารือหน่วยงานด้านน้ำเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน เตรียมแผนรับมือฝนตกหนักในช่วงปลายเดือน ส.ค.ถึงเดือน ก.ย.นี้

ผศ.สิตางศุ์ พิลัยหล้า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ในฐานะคณะที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ประชุมหารือหน่วยงานด้านน้ำเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีน เตรียมแผนรับมือฝนตกหนักในช่วงปลายเดือน ส.ค.ถึงเดือน ก.ย.นี้

ในที่ประชุมกรมชลประทาน รายงานปรับแผนการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพิ่มขึ้น เป็น 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ในอีก 2 วันข้างหน้า แต่ถูกขอให้ทบทวนใหม่กลางวงประชุมเพื่อไม่ให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำได้รับผลกระทบ

ผศ.สิตางศุ์ พิลัยหล้า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ในฐานะคณะที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์

ผศ.สิตางศุ์ พิลัยหล้า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ในฐานะคณะที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์

ผศ.สิตางศุ์ พิลัยหล้า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ในฐานะคณะที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์

เนื่องจากเขื่อนภูมิพลน้ำต้นทุนของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำใช้การยังคงมีน้อย จึงไม่ควรระบายน้ำมาเพิ่ม แต่หากฝนหนักในช่วงปลายเดือน ส.ค.ค่อยมาปรับแผนการจัดการน้ำใหม่อีกครั้ง

รวมทั้งสั่งให้สำรวจการเก็บเกี่ยวข้าวในพื้นที่แก้มลิงว่า ยังอยู่ระหว่างรอเก็บเกี่ยวมากน้อยแค่ไหน เตรียมใช้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำได้เต็มศักยภาพหากฝนเกิดตกหนักมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

ในที่ประชุมกรมชลประทาน รายงานปรับแผนการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพิ่มขึ้น เป็น 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ในอีก 2 วันข้างหน้า แต่ถูกขอให้ทบทวนใหม่เพื่อไม่ให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำได้รับผลกระทบ

ในที่ประชุมกรมชลประทาน รายงานปรับแผนการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพิ่มขึ้น เป็น 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ในอีก 2 วันข้างหน้า แต่ถูกขอให้ทบทวนใหม่เพื่อไม่ให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำได้รับผลกระทบ

ในที่ประชุมกรมชลประทาน รายงานปรับแผนการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพิ่มขึ้น เป็น 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ในอีก 2 วันข้างหน้า แต่ถูกขอให้ทบทวนใหม่เพื่อไม่ให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำได้รับผลกระทบ

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมปีนี้ รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติ กล่าวว่า สถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจแม้ปีนี้ไทยเสี่ยงเจอพายุในฤดู 1-2 ลูกเท่านั้น แต่ฝนที่ตกหนักกระจายทั่วประเทศ ช่วงเดือน ส.ค. - ก.ย.จะทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยาถูกน้ำท่วม ระดับน้ำใกล้เคียงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ได้ เตือนให้ประชาชนขนย้ายข้าวของขึ้นสู่ที่สูง ก่อนปลายเดือน ส.ค.นี้ เพื่อป้องกันความเสียหาย

เมื่อถามถึงโอกาสที่ไทยจะเจอพายุมากว่า 3 ลูก ได้หรือไม่ปีนี้ รศ.เสรี บอกว่า พายุที่จะก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกมีประมาณ 15 ลูก แต่ปีนี้ไทยยังไม่มีปัจจัยเสี่ยงเผชิญกับพายุมากกว่า 2 ลูกเท่านั้น แต่ฝนที่ตกหนักตกนาน แม้จะเป็นเพียงร่องมรสุม จะทำให้หลายพื้นที่น้ำท่วมรุนแรงได้

อ่านข่าว : รอดหรือจมบาดาล ? ไทยลุ้น "น้ำท่วม" 2567  

น้ำยมเพิ่มสูงไหลผ่านสุโขทัย เฝ้าระวังจุดเสี่ยงล้นตลิ่ง 

สภาพอากาศวันนี้ เตือน "เหนือ - ตะวันออก - ใต้" ฝนตกหนักบางแห่ง 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง