ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 27 ตุลาคม 2567

สังคม
27 ต.ค. 67
13:50
8,046
Logo Thai PBS
กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 27 ตุลาคม 2567
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

วันนี้ 27 ตุลาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร 

การฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 1 การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

การฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 1 การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

การฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 1 การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

ในครั้งนี้ การจัดรูปขบวนเรือ ประกอบด้วย เรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา ดังนี้

1.เรือพระที่นั่ง 4 ลำ เรือสุพรรณหงส์ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เรืออนันตนาคราช เรืออเนกชาติภุชงค์

2. เรือรูปสัตว์ 8 ลำ เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือพาลีรั้งทวีป และเรือสุครีพครองเมือง

3. เรือพิฆาต 2 ลำ เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์

4. เรือคู่ชัก 2 ลำ เรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง

5. เรือประตู 2 ลำ เรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น

6. เรือกลอง 2 ลำ เรืออีเหลือง และเรือแตงโม

7. เรือตำรวจ 3 ลำ

8. เรือดั้ง 22 ลำ

9. เรือแซง 7 ลำ

การฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 1 การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

การฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 1 การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

การฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 1 การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค นั้นคือ การให้จังหวะแก่ฝีพายให้พายตามจังหวะทำนอง เพื่อให้เรือแล่นไปอย่างพร้อมเพรียง และสวยงาม ที่เรียกว่า "การเห่เรือ"  

การแห่เรือมีวัตถุประสงค์ คือ การให้จังหวะแก่ฝีพายจำนวนมากในการพายเรือพระราชพิธี ซึ่งนอกจากจำทำให้เกิดความพร้อมเพรียงแล้ว ยังปลุกเร้าฝีพายให้มีพลัง ไม่เหน็ดเหนื่อยง่าย

อ่านข่าว : ประชาชนจองพื้นที่รอชม "ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" 27 ตุลาคม 2567

การฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 1 การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

การฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 1 การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

การฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 1 การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567

กาพย์เห่เรือ เฉลิมพระเกียรติ

คำประพันธ์สำหรับใช้เป็นแบบอย่างของบทเห่เรือเก่าที่สุดที่เหลือเป็นหลักฐานสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือ กาพย์เห่เรือ บทพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือ "เจ้าฟ้ากุ้ง" ในสมัยอยุธยาตอนปลาย 

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏหลักฐานการนำบทเห่เรือ ทั้งที่มีมาแต่เดิมและประพันธ์ขึ้นใหม่มาใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเนื่องในการพระราชพิธีต่าง ๆ สืบมา

และ ในวันที่ 27 ต.ค.2567 กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม  

ประพันธ์โดย "พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย" ประกอบด้วย 4 บท ได้แก่ บทสรรเสริญพระบารมี, บทชมเรือกระบวน, บทบุญกฐิน และบทชมเมือง ดังต่อไปนี้ 

บทที่ 1 สรรเสริญพระบารมี

บทที่ 2 ชมเรือกระบวน

บทที่ 3 บุญกฐิน 

บทที่ 4 ชมเมือง 

การเห่เรือ

การเห่เรือของไทยปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่า เดิมการเห่เรือน่าจะมีที่มาจากการให้จังหวะเพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียง ต่อมาจึงค่อย ๆ พัฒนาเป็นทำนองที่ชัดเจน ประกอบด้วย

  • ช้าลวะเห่ (ช้า-ละ-วะ-เห่) เป็นการเห่ที่มีการเอื้อนเป็นทำนองช้า ๆ ใช้ในการเห่เรือเมื่อพายเรือ ตามน้ำซึ่งไม่ต้องการจังหวะที่รวดเร็วมากนัก
  • มูลเห่ (มูน-ละ-เห่) เป็นการเห่ที่มีทำนองเร็วกว่าช้าลวะเห่ ใช้ในการเห่เรือเมื่อพายเรือทวนน้ำ ซึ่งต้องการจังหวะฝีพายที่รวดเร็ว
  • สวะเห่ (สะ-วะ-เห่) เป็นการเห่ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีความเก่าแก่ที่สุด ใช้ในการเห่เมื่อเรือพระที่นั่งจะเข้าเทียบท่า

เกร็ดน่ารู้ วิธีพายเรือให้สัมพันธ์กับการเห่เรือ

การพายเรือในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นพระราชพิธีแบบโบราณนั้น มีระเบียบการพายอยู่ 4 วิธี คือ

  • พายนกบิน เป็นท่าพายที่ยกพายขึ้น พ้นน้ำเป็นมุม 45 องศา ประดุจนกบิน ท่าพายนี้จะใช้กับเรือพระที่นั่งเท่านั้น คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
  • พายพลราบ เป็นท่าการพายโดยไม่ให้พายพ้นกราบเรือ ท่าพายนี้จะใช้กับเรือร่วมในกระบวนทั้งหมด โดยแบ่งการพายเป็น 4 จังหวะ
  • พายผสม เป็นท่าการพายที่ผสมกัน ระหว่างท่าพายพลราบกับท่าพายนกบิน มักใช้ตอนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ซึ่งเป็นการพายเรือทวนน้ำ โดยมีวิธีการพาย คือ พายพลราบ 2 พาย ต่อด้วยพายนกบินอีก 1 พาย จึงมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พาย 3 พาย
  • พายธรรมดา เป็นท่าการพายในท่าธรรมดาของการพายเรือโดยทั่ว ๆ ไป
การพายเรือพระราชพิธีในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เฉพาะเรือพระที่นั่งจะพายท่านกบินเป็นหลัก หากจะเปลี่ยนท่าพายเรือ ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินใด ๆ ก็ตามต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อนเสมอ

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ที่ประกอบด้วยศิลปะในท่วงท่าการพายเรืออย่างพร้อมเพรียงสง่างาม ตลอดจนศิลปะในการประพันธ์ การร้องบทเห่ที่มีถ้อยคำและท่วงทำนองอันไพเราะก้องกังวาน จึงสะท้อนภาพวัฒนธรรมอันงดงาม นับเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของแผ่นดิน

อ้างอิงข้อมูล : พระลาน, กรมศิลปากร, กองทัพเรือ Royal Thai Navy

อ่านข่าว : จัดเดินรถทางเดียว - เปิด 18 จุดบริการด้านการแพทย์ พระราชพิธีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

อัปเดต เส้นทางพายุโซนร้อน "จ่ามี" 27 ต.ค. จังหวัดไหนฝนตกหนัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง