ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"จิตวิทยา AI" อัจฉริยะเทคโนโลยี จำลองตัวเอง "ที่ปรึกษา" วัยชรา

Logo Thai PBS
"จิตวิทยา AI" อัจฉริยะเทคโนโลยี จำลองตัวเอง "ที่ปรึกษา" วัยชรา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เหรียญมีสองด้านเช่นใด AI ก็เป็นแบบนั้น ไม่ว่ามนุษย์จะตื่นเต้นกับการวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าของ AI มากเพียงใด ขณะเดียวกันความหวาดกลัว AI กลับเพิ่มมากขึ้นในสังคมอย่างน่าประหลาด

ไม่ว่าจะเป็นประเด็นของการแย่งตลาดงานของมนุษย์ มีการคาดการณ์ว่า หากใช้ AI มากขึ้น จะทำให้การเรียนรู้ของมนุษย์ลดต่ำลง และหากใช้เพื่อทำทุกอย่างแทน มีแนวโน้มว่า มนุษย์อาจจะถูกครอบงำจนทำอะไรไม่เป็นอีกต่อไป

ด้วยว่าทักษะถึง 5 ประเภทที่ AI ทำได้ดีกว่ามนุษย์ หรือทำได้เหนือกว่า กระทั่งคนที่เก่งกาจในทักษะทั้ง 5 ด้านนี้ในตลาดแรงงานยังไม่อาจต่อกรได้ คือ การอ่านจับใจความ, การเขียน ,การกล่าวสุนทรพจน์, การจดจำภาพ ,การใช้ภาษา หรือการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของ "ความเป็นมนุษย์" ทั้งสิ้น

แม้จะเข้าใจได้ถึงความอัจฉริยะของ AI หากมีการตั้งคำถามในมุมกลับกันว่า เป็ เป็นไปได้หรือไม่? ที่จะใช้ AI ไม่ใช่ในฐานะของการแทนที่ความเป็นมนุษย์ แต่เป็นการใช้เพื่อ "ยกระดับความงอกงาม (Flourishing)" ของความเป็นมนุษย์ 

ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

Future You จำลองตัวเองเป็น "เพื่อนคู่คิด" ในวัยชรา

ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร Postdoctoral Research at MIT Media Lab ยกตัวอย่าง AI เปรียบเทียบกับตัวละคร "โดราเอมอน" เพราะไม่ว่าโนบิตะ จะโง่เขลาเบาปัญญาขนาดไหน แต่โดราเอมอนก็ทำให้โนบิตะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น ผ่านการช่วยเหลือด้วยของวิเศษต่าง ๆ ไม่ได้เข้ามาครอบงำโนบิตะโดยสมบูรณ์ กลับกัน โนบิตะได้ประโยชน์จากโดราเอมอนมากกว่าเสียอีก

ดังนั้น AI จึงเป็น Intelligent Augmentation หรือส่วนขยายเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ หรือตามประสงค์ของเราจริง ๆ AI ต้องยกสถานะเป็น AI เพื่อ Human Flourishing หรือการใช้ AI เพื่อความเจริญงอกงามในความเป็นมนุษย์

ดร.พัทน์ กล่าวว่า จริง ๆ แล้ว การสร้างความเจริญงอกงามในความเป็นมนุษย์ทำได้หลายแบบ และที่ช่วยเหลือได้มากที่สุด คือ ประเด็นด้าน "จิตวิทยา" ว่าด้วย กระบวนการคิดและการตัดสินใจ (Cognitive and Decision-making) ของมนุษย์ ซึ่งเดิมเป็นเรื่องยากมาก เพราะต้องอาศัยชุดข้อมูลระดับมหาศาล หรือการคิดให้รอบคอบ ขณะที่สมองของมนุษย์ไม่สามารถที่จะคาดการณ์ (Speculate) ถึงผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการได้โดยง่าย จึงทำให้การตัดสินใจเกิดความผิดพลาดและอาจนึกเสียใจภายหลัง

AI จะเข้ามาช่วยเหลือตรงนี้ ด้วยการสร้างตัวแบบของมนุษย์ในอนาคต เพื่อสร้างตัวเราขึ้นมาในอีก 40-50 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างตัวเราในวัยไม้ใกล้ฝั่งที่เพียบพร้อมทั้งประสบการณ์ ความคิดที่ตกผลึก หรือมุมมองที่กว้างกว่าตัวเราในวัยเรียนหรือวัยทำงานในตอนนี้ โดย ดร.พัชน์ เรียกโปรเจ็กต์นี้ว่า "Future You"

จะเป็นเรื่องดีมากขนาดไหน หากมีตัวเราในอนาคต อาจจะวัย 90 ปี เพื่อสอบถามความไม่มั่นใจในการตัดสินใจของเราในตอนนี้ ผมจึงวิจัยและพัฒนา Future You ขึ้นมา เพื่อสร้างตัวแบบที่ไม่ใช่เพียงตัวเราที่แก่ขึ้น แต่จำลองตัวเราที่ผ่านโลกมาช้านาน เพื่อเป็นเหมือนเพื่อนคู่คิด

จากบทความวิจัย Future You: A Conversation with an AI-Generated Virtual Future Self Reduces Anxious Feelings and Increases Motivation พบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้สนทนากับ AI ที่จำลองตนเองในอนาคต มีอัตรา "ความวิตกกังวล (Anxiety)" ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียกับการคุยกับครอบครัว คนรัก เพื่อน การปรึกษานักจิตวิทยา หรือการจัดการด้วยตนเอง มากถึงเกือบ 5 เท่า

ยิ่งไปกว่านั้น การได้คุยกับตนเองในอนาคต ยังช่วยให้เกิด "ความมั่นใจ (Confident)" มากกว่าการคุยกับครอบครัว คนรัก เพื่อน การปรึกษานักจิตวิทยา หรือการจัดการด้วยตนเอง มากเกินกว่า 4 เท่า หมายความว่า กระบวนการคิดและการตัดสินใจของมนุษย์จะเพิ่มมากขึ้น ก็ต่อเมื่อได้ทราบว่าตนเองในอนาคตนั้นมีกระบวนการคิดและตัดสินใจอย่างไร

ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

Future You จะช่วยให้เกิดคุณูปการต่อวงการ Mental Health อย่างมาก เพราะมีประเด็นของการลดความไม่มั่นคงด้านการตัดสินใจของมนุษย์ ในอีก 40-50 ปี กระบวนการคิดของเราจะเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่ออนาคตของเราได้

ตามหลักจิตวิทยา มนุษย์เรามักจะมี "การคิดทางลัด (Cognitive Shortcut) " หรือ "การคิดบนฐานความเป็นจริงที่จำกัด (Restrain Counterfactual)" หมายถึง ข้อมูลในการตัดสินใจมีมหาศาล มากกว่าสมองมนุษย์จะรับไหว มนุษย์จึงตัดสินใจผ่านอะไรง่าย ๆ ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในตอนนั้น ซึ่งลดทอนความซับซ้อนลง แต่การมาถึงของ Future You สามารถจะทำให้ลดเงื่อนไขการตัดสินใจทั้งสองดังกล่าว เพิ่มฐานการตัดสินใจที่เพิ่มมากขึ้น จากการทราบอนาคตจำลองของตนเอง

อัจฉริยะ AI เติมเต็ม ในส่วน "ขาดหาย" ของมนุษย์

นอกจากนี้ ยังมีอีกประเด็นที่ AI จะเข้ามาช่วยให้มนุษย์สมบูรณ์แบบมากขึ้น คือ "การป้องปราม" การใช้ AI อย่างไม่ระมัดระวัง โดย ดร.พัชน์ ยกตัวอย่างกรณีศึกษา มีเด็กชายชาวสหรัฐฯ ผู้หนึ่งที่ฆ่าตัวตายเพื่อไปอยู่กับ AI เพราะผู้ตายคบหาดูใจกับ AI และหลังจากคุยปรึกษากัน AI ชวนมาอยู่ด้วย

เป็นเรื่องที่หดหู่ใจอย่างมาก แต่ในฐานะผู้ทำวิจัยด้านนี้ ผมมีคำถามสำคัญ เรากล่าวโทษ AI ได้อย่างเต็มปากหรือไม่

ดร.พัทน์ เรียกสิ่งดังกล่าวว่า "Addictive Intelligence" หมายถึง AI เป็นเพื่อนคู่คิดของมนุษย์มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการสานสัมพันธ์ปกติ เพราะ AI สามารถที่จะ "ตอบสนองความต้องการ" ของมนุษย์ในฐานะ "สิ่งที่อยากให้เป็น" ได้อย่างทันท่วงที

งานวิจัย AI-generated virtual instructors based on liked or admired people can improve motivation and foster positive emotions for learning เสนอว่า แม้ว่าผู้คนจะรู้ทั้งรู้ว่า AI ไม่มีตัวตน มีแต่ลักษณะแบบดิจิทัล แต่หาก AI ผู้นั้นเป็นภาพจำลองของบุคคลที่มีชื่อเสียง ทรงภูมิปัญญา หรือเป็นเอกด้านใดด้านหนึ่ง ผู้คนก็อยากที่จะคุยด้วย มากกว่าบุคคลจริง ๆ ที่เป็นใครก็ไม่รู้

ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

กลุ่มตัวอย่าง 134 คน อยากคุยกับ AI ของ อีลอน มัสก์ มากกว่า AI ที่เป็นใบหน้าของผู้อื่น ทั้งที่กำหนดตัวแปรเรื่องที่จะพูดแบบเดียวกัน ตรงนี้ นับเป็นความน่ากังวลว่า ผู้คนจะไม่สนใจเนื้อหาสาระ แต่สนใจความดังและความสามารถจากบุคคลจริง ๆ ที่มาสวมทับกับ AI แทน

ขณะที่ Chatbot Companionship: A Mixed Method Study of Companion Chatbot Usage Patterns and their Relationship to Loneliness in Active Users เสนอว่า ในกลุ่มอายุ 30-35 ปี ไม่ได้ใช้ AI ในฐานะเครื่องมือ (Toolkits) แต่ใช้งานในฐานะ "เพื่อนคู่คิด (Companion) " ซึ่งจะใช้เวลากับ AI เกือบ 2 ชั่วโมงต่อวัน และความถี่ในการใช้งานมากกว่า 15 วันต่อเดือน แต่กลับมีความรู้สึกเหงาและเติมเต็มในอัตราที่เท่ากัน

ความแตกต่างอย่างสุดขั้วนี้ หมายความว่า มี AI บางรูปแบบเท่านั้นที่จะเติมเต็มมนุษย์ จนยอมเสียเวลาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งหนีไม่พ้น AI ที่มีใบหน้าของทรงภูมิปัญญา จะทำให้รู้สึกสนิทชิดเชื้อมากกว่า … เป็นเรื่องของภูมิทัศน์ทางจิตวิทยาล้วน ๆ
ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

สร้างเรื่องเล่า ผ่าน AI ส่งต่อแรงบันดาลใจ

อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่า AI สามารถทำให้มนุษย์มีสมบูรณ์แบบขึ้นด้วยการช่วยเหลือด้านกระบวนการคิดและการตัดสินใจ และช่วยให้เห็นถึงข้อควรระวังในการใช้งาน AI เอง แต่ ดร.พัชน์ เสนอว่า มีอีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดไปไม่ได้ คือ AI ช่วยให้สร้าง "เรื่องเล่า (Narrative)"

มนุษย์ไม่อาจตัดขาดจากเรื่องเล่าได้ เพราะเรื่องเล่าจะมีการเสริมสร้างจินตนาการและแรงบันดาลใด ซึ่งส่งผลต่อแรงผลักดันในการดำรงอยู่ของมนุษย์ จะโดราเอมอนก็ดี หรือโลกอนาคตที่ AI ล้างบางมนุษย์ก็ดี ล้วนทำให้เราสรรค์สร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมาได้อย่างไม่หยุดยั้ง

ดร.พัทน์ เสนอแนะว่า สำหรับประเทศไทย อาจต้องใช้ AI ในการ Localised หรือทำให้ใกล้ชิดกับท้องถิ่นและประเด็นทางสังคมเฉพาะที่มนุษย์ประสบพบเจอ เช่น ประเด็นด้าน AI ต่อวงการศาสนา โดยอาจจะสร้างเรื่องราวว่า AI ทำให้มนุษย์ยังคงมีศาสนาเป็นจริยศาสตร์ ความเชื่อ หรือที่พึ่งทางใจต่อไปอีกหรือไม่

ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

ที่มา: MIT Media Lab

โดยทั่วไป เราอยากให้ AI นั้นมีความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น แต่เราอาจจะหลงลืมว่า การปกครอง การศึกษา หรือการกล่อมเกลาทางสังคมของไทย ล้วนถูกออกแบบมาให้เกิดผลผลิตที่เป็นอนาคตของชาติแบบเดียวกันทั้งหมด ไม่แตกต่างอะไรกับหุ่นยนต์

"ตรงนี้ ประเทศไทยต้องตอบให้ได้ ว่า ในขณะที่เราอยากได้ผลผลิตที่เต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันประเทศ แต่สิ่งที่เป็นมาตอบโจทย์หรือไม่" ดร.พัทน์ ทิ้งท้ายคำถาม

อ่านข่าว

มนุษย์อยู่อย่างไร ? เมื่อ AI กำลังจะ "ครองโลก"

"อัลกอริทึม" ทำลาย VS สร้างสรรค์ "สุนทรียภาพ" มนุษย์

"นิวเคลียร์" ขับเคลื่อน AI พัฒนาเทคโนโลยียั่งยืน "บนทางคู่ขนาน"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง