ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

35 ปี แห่งการต่อต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น

ภูมิภาค
30 พ.ย. 67
11:11
143
Logo Thai PBS
35 ปี แห่งการต่อต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ชาวบ้านตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นกิจกรรมสำคัญที่ทำร่วมกับเครือข่ายสมัชชาคนจนที่เดินทางมาจากทั่วประเทศ รวมทั้งนักอนุรักษ์ นักวิชาการและชาวบ้านในพื้นที่ เป็นหนึ่งในกิจกรรมงานครบรอบ 35 ปี ต่อต้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

นายก้องไมตรี เทศสูงเนิน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ยม กล่าวว่า ป่าดงสักงามอยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่ยม เป็นป่ารอยต่อ 4 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ จังหวัดลำปาง จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน มีพื้นที่โดยรวม 300,000 ไร่ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแม่ยมเนื่องจากในอุทยานแห่งนี้มี “ผืนป่าไม้สักธรรมชาติที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยประมาณ 140,000 ไร่ ในพื้นที่อุทยานฯ มีการสำรวจการถือครองการทำกินของชาวบ้านไว้แล้วพบว่ามีชาวบ้านใช้ประโยชน์เป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยรวม 27,000 ไร่ ในปัจจุบันนับถอยหลังไป 8 ปี ที่ผ่านมาพบว่าไม่มีการบุกรุกเพิ่มขึ้น และพบว่า ชุมชนในพื้นที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาป่า สร้างกฎกติการ่วมกันให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้

ก้องไมตรี เทศสูงเนิน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ยม

ก้องไมตรี เทศสูงเนิน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ยม

ก้องไมตรี เทศสูงเนิน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ยม

ถ้าพูดถึงป่าดงสักงาม ถ้ามีการสร้างเขื่อนจะต้องสูญเสียป่าดงสักงามไปราว 40,000 ไร่ นายก้องไมตรีกล่าวว่า จุดเด่นของดงสักงามคือเป็นป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักเจริญเติมโตตามธรรมชาติ อดีตประเทศไทยเคยส่งไม้สักเป็นสินค้าออก เมื่อผ่านไปยุคหนึ่งได้เล็งเห็นว่าในอนาคตป่าไม้สักจะต้องหมดจากประเทศไทยแน่ๆ จึงมีการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อคุ้มครองและมีการสำรวจก็พบว่าป่าแห่งนี้คือป่าไม้สักที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ และยังเป็นพื้นที่ป่าที่สามารถดูดซับคาร์บอนในอากาศแหล่งใหญ่อีกด้วย จากการสำรวจในภาคเหนือพบว่า ระบบป่าที่เป็นนิเวศแบบนี้จะไม่พบเป็นผืนใหญ่อย่างนี้อีกแล้ว มีเพียงหย่อมเล็กหย่อมน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงถือเป็น”คุณค่าสำคัญของประเทศไทย”ที่ต้องรักษาทรัพยากร “ดงสักงาม” นี้ไว้

อุทยานแห่งชาติแม่ยมจึงกลายเป็นพื้นที่ศึกษาธรรมชาติที่สำคัญ และยังมีโซนวัฒนธรรมในพื้นที่ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ มีทั้ง ชาวอาข่า ชาวเมี่ยน ชาวมาลบลี ด้านโบราณยังพบว่าเป็นพื้นที่เมืองโบราณ “เวียงสะเอียบ” อายุ 660 ปี ในด้านการศึกษาธรรมชาติ ที่อุทยานฯเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมคือ แก่งเสือเต้นในแม่น้ำยม ที่หล่มด้งหรือปากปล่องภูเขาไฟ บริเวณนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก บริเวณชมทะเลหมอกที่ “ผาอิงหมอก” ถือเป็นทะเลหมอกที่สวยงามของเมืองแพร่ ยังมีโซนที่ยังไม่ได้เปิดให้นักศึกษาธรรมชาติและนักท่องเที่ยวเข้าชมคือน้ำตกอีก 3 แห่ง จุดชมวิวป่าสนยักษ์มีต้นใหญ่ขนาดสองคนโอบ ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาสัมผัสป่าจริงๆ มาอาบป่า ที่อุทยานแห่งชาติแม่ยมเหมาะมาก หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ยมกล่าว

นี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ยืนยันความสำคัญ ซึ่งก็สอดคล้องกับ เหตุผลของชาวสะเอียบที่ต้องรักษาผืนป่าดงสักงามแห่งนี้ไว้ เพราะป่าแห่งนี้ให้ประโยชน์กับชุมชนอย่างมาก ป่าดงสักงามมีนิเวศบริการที่ชุมชนสามารถพึ่งพาดำรงชีวิตได้อย่างน่าสนใจ แหล่งอาหารป่า ยารักษาโรค และน้ำที่เป็นประเด็นสำคัญของแม่ยมจนกลายเป็นแหล่งผลิตสุราชั้นดีของเมืองแพร่สร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับชุมชน

35 ปีที่ชาวบ้านร่วมกันต่อสู้เพื่อหยุดโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่กำนันชุม สะเอียบ คง กำนันตำบลสะเอียบที่ออกมาต้านเขื่อนเป็นคนยุคแรก ต่อมากำนันเส็ง ขวัญยืน ก็ขึ้นมานำทัพชาวสะเอียบต่อต้านการสร้างเขื่อน ลุงอุดม ศรีคำภา มารับไม้ต่อในการเป็นแกนนำต้านเขื่อน และผ่านมาถึงนายสมมิ่ง เหมืองร้อง ที่จับมือสมัชชาคนจนทำงานร่วมกับนักวิชาการขับเคลื่อนการสร้างเขื่อนต่อมา นายณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายก อบต.สะเอียบ เป็นคนรุ่นปัจจุบันที่กำลังทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการต้านเขื่อนแก่งเสือเต้นอยู่ในปัจจุบัน ได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ในการต่อสู้มีของชาวบ้านที่มีแรงผลักดันนั้น เอาชีวิตและถิ่นเกิดเป็นเดิมพัน ดังนั้นไม่ว่าชาวบ้านผู้หญิง ผู้ชาย คนเฒ่าคนแก่แม้แต่เด็กเยาวชนก็ยังออกมาหาแนวทางช่วยกันต้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

อริศราพร สะเอียบคง ชาวสะเอียบ

อริศราพร สะเอียบคง ชาวสะเอียบ

อริศราพร สะเอียบคง ชาวสะเอียบ

นางสาวอริศราพร สะเอียบคง หรือน้องแป๋วลูกสาวกำนันชุม สะเอียบคง เล่าว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2537 เด็กและเยาวชนรวมตัวกันคิดช่วยพ่อแม่พี่น้องต้านเขื่อนอย่างไร ผลสรุปของเด็กๆ คือการ ตั้งกลุ่มจัดกิจกรรมแสดงออกถึงเจตนารมณ์ ของเยาวชนร่วมต่อสู้กับพ่อแม่ชาวสะเอียบในปี พ.ศ. 2538 ตั้งชื่อเป็นทางการว่า “กลุ่มตะกอนยม” หมายความว่า เยาวชนเหมือนตะกอนที่อยู่ในแม่น้ำยมดูแล้วอาจไม่เห็นคุณค่า แต่ความจริงแล้วตะกอนในแม่น้ำยมมีคุณค่ามหาศาลสามารถสร้างประโยชน์เป็นปุ๋ยให้กับพืชผักริมตลิ่งและไม้ใต้น้ำ เยาวชนสะเอียบจึงใช้ชื่อตะกอนยมเป็นชื่อกลุ่ม การเคลื่อนไหวเป็นเด็กตัวเล็กๆ สามารถทำหน้าที่ร่วมต่อสู้กับโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นได้ ตะกอนยมจัดนิทรรศการ จัดเข้าค่ายเยาวชน ดูนก ศึกษาสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมชุมชน และเรียนรู้วิถีชีวิตของคนสะเอียบ เพื่อเผยแพร่ให้กับคนข้างนอกว่าเรามีสิ่งที่ดีมากมาย ทรัพยากรป่าไม้น่าหวงแหน หน้าจดจำน่าอนุรักษ์ไว้มีมากมายส่งไม้ต่อให้คนรุ่นหลังๆ ได้ตื่นตัว ผู้ใหญ่ขับเคลื่อนมาเป็นปีที่ 35 ส่วนกลุ่มตะกอนยมขับเคลื่อนมาเป็นปีที่ 32 กับการต่อสู้โครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

น้องแป๋ว ลูกสาวกำนันชุม นักต่อสู้รุ่นแรก บอกว่า ตะกอนยมจากนี้ไปข้างหน้าอีก 30 ปีหรือ 100 ปี จากนี้ไป ก็ยังคงสืบทอดคนรุ่นใหม่ๆ ยืนหยัดสู้กับโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นตลอดไปเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งป่าไม้มีค่าของคนไทยทุกคน รู้สึกภูมิใจมากที่เราเป็นคนเล็กๆ ที่ต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐสามารถปกป้องผืนป่าสำคัญของประเทศไว้ได้ เป็นการปกป้องผืนป่าเพื่อคนทั้งประเทศและคนทั้งโลกด้วยความภูมิใจ

ณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ

ณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ

ณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ

นายณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายก องค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ และ ประธานคณะกรรมการต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น กล่าวว่า ชาวสะเอียบจะมีการรณรงค์กระตุ้นสังคม เช่น การจัดงาน “35 ปีต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น” และกิจกรรมบวชป่า และพิธีกรรมท้องถิ่นที่เกี่ยวกับป่าตลอดไป เพื่อให้เห็นความสำคัญของการรักษาป่าดงสักงามไว้ ในอีก 40 ปีข้างหน้าฯลฯ ในขณะที่ผู้ใหญ่ในรัฐบาล น้ำท่วมครั้งหนึ่งก็แก้ปัญหาครั้งหนึ่ง ไม่คิดแผนระยะยาว การจัดการน้ำที่ผิดพลาด น้ำ 1,900 ลูกบาศก์เมตรพุ่งตรงเข้าเมืองแพร่ ไม่มีการแบ่งน้ำซึ่งมีช่องทางอยู่แล้วถือเป็นการผิดหลักการทำให้น้ำท่วมตัวจังหวัดแพร่

สรุปคือ รัฐไม่ยอมฟังเหตุผลทั้ง 19 แนวทางของตำบลสะเอียบ น้ำท่วมทีไรก็คิดจะสร้างเขื่อนปฏิเสธแนวทางแก้ไขที่ได้เสนอต่อรัฐบาลไปแล้วตามแผน “สะเอียบโมเดล” โครงการสะเอียบโมเดลไม่เพียงการบริหารจัดการน้ำเพียงอย่างเดียว เรามีข้อเสนอการบริหารทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นที่ตั้ง เมื่อรัฐไม่ฟังแนวทางหรือข้อเสนอ ทุกครั้งที่น้ำท่วมชาวสะเอียบ 4 หมู่บ้านเสียสุขภาพจิต เพราะรัฐบาลจะฟื้นคืนชีพโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมาอีก ในนามคณะกรรมการคัดค้านการสร้างเขื่อนจะขอยืนหยัดต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ได้รับผลกระทบ พยายามส่งเสริมสืบสานคนรุ่นใหม่ในรูปแบบกลุ่มตะกอนยมได้เข้าใจโดยมีนักวิชาการมาให้ความรู้

สะเอียบโมเดล คือ แผนงานที่ขาวสะเอียบคิดร่วมกันกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยนเรศวร เรามีแนวทางการเก็บน้ำไว้ในต้นน้ำและชุมชนที่เรียกว่า “หลุมขนมครก” หรืออ่างพวง ให้เกิดขึ้นมากๆ มีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำเมื่อน้ำหลากมา เป็นการป้องกันน้ำท่วมในขณะเดียวกันมีน้ำเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งหลุมขนมครกจะสามารถเก็บน้ำได้มากกว่าเขื่อนใหญ่เนื่องจากมีจำนวนมาก เป็นแนวทางคิดออกแบบร่วมกันระหว่างนักวิชาการกับคนในชุมชนหาแนวทางร่วมกัน เป็นวิธีการที่ประขาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิด รัฐบาลควรเอาวิธีการ “สะเอียบโมเดล” ไปขยายผลทางตอนใต้ของลุ่มน้ำยม ที่มีระยะทางยาวกว่า 700 กม. ด้านบนเหนือเขื่อนแก่งเสือเต้นในแผน สะเอียบโมเดลมีลำน้ำ 11 สาขา ถ้าหลังเขื่อนลุ่มน้ำยมตอนล่างมีลำน้ำสาขาจำนวนมากควรใช้แผนสะเอียบโมเดลหรือหลุมขนมครกไปใช้น่าจะเกิดประโยชน์ในการกักเก็บและการใช้ในฤดูแล้ง

เมื่อมีทั้งการอนุรักษ์ผืนป่าสำคัญของประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากและข้อเสนอการแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในลุ่มน้ำยม แต่ทว่า ทางรัฐบาลมิได้รับข้อเสนอจากชาวบ้านเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ป่า และการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชาวบ้านสะเอียบทำได้สำเร็จสร้างภาษีให้กับรัฐจำนวนมหาศาล นักวิชาการมองเห็นและได้วิเคราะห์แนวทางที่น่าสนใจว่า ในอนาคต รัฐควรเดินหน้าจัดการน้ำ พร้อมทั้งจัดการสังคมแบบมีส่วนร่วม อย่างไร

ผศ.ดร.ชัยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.มหาสารคาม

ผศ.ดร.ชัยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.มหาสารคาม

ผศ.ดร.ชัยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.มหาสารคาม

ผศ.ดร.ชัยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า การต่อสู้ของชาวสะเอียบถือเป็นการต่อสู้ที่ยุ่งใหญ่มากๆ มีไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่จะสามารถสู้กับโครงการของรัฐปกป้องชุมชน และปกป้องผืนป่าไว้ได้ ใช้เวลานานมากถึง 35 ปี ที่ชาวบ้านสามารถต่อสู้ได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวสะเอียบยืนหยัดในเรื่องสิทธิชุมชน และผืนป่าที่จะถูกทำลายเป็นของชาวสะเอียบและเป็นของคนไทยทุกคน ชาวบ้านมีวิธีการต่อสู้ที่หลากหลายมาก ท่ามกลางการถูกปิดล้อมทางด้านข้อมูลข่าวสาร การจะไปเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ให้กับ 5 จังหวัดลุ่มน้ำยมตอนล่าง ซึ่งถูกปลุกระดมว่าจะได้ประโยชน์จากเขื่อนซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ชาวบ้านก็มีวิธีการต่างๆ เช่น การหานิสิตนักศึกษามาช่วยในการรณรงค์ ไปหานักวิชาการมาช่วยในการพูดจัดเวทีในพื้นที่ต่างๆ และการยึดพื้นที่ไม่ให้พวกบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม วิธีการทำงานแบบนี้ทำให้ชาวบ้านมีพันธมิตร ในอดีตมีการจัดเวทีที่เชียงใหม่ ที่กรุงเทพ ทำให้สังคมไทยเกิดความเข้าใจถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแม่ยม เข้าใจว่าคนที่สะเอียบถ้ามีการสร้างเขื่อนพวกเขาจะเดือดร้อนอย่างไร ถือเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชมมากๆ ที่ชาวบ้านสามารถยืนหยัด เจตนารมณ์ในการปกป้องผืนป่า ปกป้องชุมชนและทรัพยากรที่เป็นของคนไทยทุกคน

อ.ชัยณรงค์ กล่าวว่า ข้อเสนอ “สะเอียบโมเดล” นั้นภาครัฐยอมรับมาโดยตลอด แต่พอเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมสุโขทัย ลุ่มน้ำยมตอนล่างเมื่อไหร่ ก็จะมีนักการเมือง ซึ่งมีหัวโจกไม่กี่คนที่ออกมาบอกว่าต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น คนกลุ่มนี้ไม่ฟังอะไรเลยไม่ศึกษาทางเลือก ในหัวคิดมีแต่ว่าจะต้องสร้างเขื่อนอย่างเดียว ซึ่งความคิดเรื่องเขื่อนมันล้าสมัยแล้ว สะเอียบโมเดลเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ที่ชุมชนเสนอ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า นักการเมืองที่อำนาจในการตัดสินใจในเชิงนโยบายโดยเฉพาะรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ทำไมถึงไม่ศึกษาข้อมูล 35 ปีที่แล้วพูดอย่างไรตอนนี้ก็พูดแบบนั้น ความคิดแบบนี้ไม่ทันต่อยุคสมัย โดยเฉพาะปัจจุบันเกิดสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ดังนั้นการแก้ปัญหาควรอิงกับระบบนิเวศ สะเอียบโมเดลสอดคล้องตรงนี้มาก ๆ แต่เขื่อนแก่งเสือเต้นขัดแย้งกับหลักการตรงนี้ โดยตรง

ดังนั้นนักการเมืองในปัจจุบันจะต้องปรับวิธีคิดในการจัดการน้ำ ไม่ใช้เขื่อนคือทางออกหรือเขื่อนคือคำตอบทุกอย่าง มันล้าสมัยไปแล้ว ส่วนชาวบ้านนั้นยังคงต้องยืนหยัดในเรื่องสิทธิชุมชนและทำงานอนุรักษ์ป่าแม่ยมควบคู่กันไป ถึงอย่างไรเขื่อนแก่งเสือเต้นไม่สามารถที่จะสร้างได้ ถ้ารัฐยังดึงดันไม่ฟังเหตุผลจะเดินไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างรัฐกับชุมชนซึ่งไม่อยากเห็นเหตุการณ์ในจุดนั้น ดังนั้นนักการเมืองและข้าราชการจะต้องมีเหตุผล มีข้อมูลทางวิชาการ ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบคือชาวสะเอียบ ต้องให้ชาวสะเอียบมีอำนาจในการตัดสินใจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ผศ.ดร.สิตางค์ พิสัยหล้า อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาการจัดการน้ำในลุ่มน้ำยมนั้นถือเป็นปัญหามานาน จะแก้ไขปัญหา พูดถึงภาครัฐ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่จังหวัดสุโขทัย เคยมีน้ำผ่านร้อยลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเพิ่มเป็น 300 ลูกบาศก์เมตร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง