ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปภ.ยกระดับ เตือนภัยพิบัติ พร้อมปิดข้อจำกัด "Cell Broadcast"

ภัยพิบัติ
2 พ.ค. 68
12:10
637
Logo Thai PBS
ปภ.ยกระดับ เตือนภัยพิบัติ พร้อมปิดข้อจำกัด "Cell Broadcast"
อ่านให้ฟัง
08:47อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปภ.เตรียมพร้อมใช้ระบบ "Cell Broadcast " เตือนภัยพิบัติ ให้ผู้ใช้โทรศัพท์กว่า 130 ล้านเลขหมายในไทย พร้อมแจ้งเตือนผ่าน SMS ปิดข้อจำกัด Cell Broadcast ของผู้ใช้โทรศัพท์ ระบบ 2G - 3G พร้อมยืนยันชาวต่างชาติใช้โรมมิงได้รับการแจ้งเตือนภัยเช่นกัน

จากกรณีการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2568 ที่ผ่านมา ต่อมากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ยกระดับการเตือนภัยพิบัติ โดยผลักดันระบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่าน Cell Broadcast

ล่าสุด นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการแจ้งเตือนภัยผ่านระบบ Cell Broadcast ทางรายการสถานีประชาชน ไทยพีบีเอส โดยระบุว่า ปภ.ยกระดับการแจ้งเตือนภัย โดยจะทดสอบระบบการแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่าน Cell Broadcast ในวันที่ 2 พ.ค.2568 วันที่ 7 พ.ค.2568 และวันที่ 13 พ.ค.2568 

ทั้งนี้ จะทดสอบใน 3 ระดับ ได้แก่ระดับเล็ก (ภายในอาคาร) ระดับกลาง (ระดับอำเภอ) และระดับใหญ่ (ระดับจังหวัด) ซึ่งผู้ที่อยู่ในพื้นที่ตามแผนการทดสอบดังกล่าว จะได้รับข้อความทดสอบการแจ้งเตือนผ่านระบบ Cell Broadcast ไปยังโทรศัพท์มือถือ ทั้งรูปแบบเสียงเตือนและข้อความบนหน้าจอ 

ข้อจำกัด Cell Broadcast

อย่างไรก็ตาม การแจ้งเตือน ผ่าน Cell Broadcast มีข้อจำกัด คือ กรณีการปิดโทรศัพท์ แบตเตอรี่หมด หรือใช้ในโหมดเครื่องบิน (Airplane) จะไม่ได้รับการแจ้งเตือน โดยการแจ้งเตือน Cell Broadcast จะเป็นความถี่พิเศษไม่เบียดกับช่องสัญญาณโทรศัพท์ ดังนั้นเมื่อส่งคลื่นความถี่เข้าไปผู้ใช้โทรศัพท์จะยังสามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ตามปกติ 

นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ทั้งนี้ ในไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์ทั้งระบบแอนดรอยด์ และ IOS กว่า 120 ล้านเลขหมาย โดยเป็นระบบแอนดรอยด์ราว 70 ล้านเลขหมาย และระบบ IOS ราว 50 ล้านเลขหมาย การแจ้งเตือนด้วยระบบ Cell Broadcast จะถูกส่งไปยังผู้ใช้โทรศัพท์ โดยในระบบแอนดรอยด์จะต้องเป็นเวอร์ชัน 12 ขึ้นไป แต่หากเป็นระบบ IOS จะต้องเป็น IOS 18 ขึ้นไป ซึ่งทาง กรมฯได้ประสานไปยังบริษัทแอปเปิลให้ปลดล็อกและอัพเกรดแล้ว โดยได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัด คือ  ประชาชนที่ใช้งานโทรศัพท์ในระบบ 2G และ 3G หรือผู้ใช้งานที่ไม่ใช่เวอร์ชัน IOS 18 หรือแอนดรอยด์เวอร์ชัน 12 จะไม่ได้รับการเตือน โดยทางกรมฯจะแก้ไขโดยใช้ระบบ SMS ซึ่งมีอยู่ราว 3 ล้านเลขหมายซึ่งจะใช้ในลักษณะควบคู่ไปทั้งส่งระบบ Cell Broadcast และจะส่ง SMS โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์ยืนยันว่า จะส่งการแจ้งเตือนได้ภายใน 10 นาที

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

รวมถึง มีระบบเตือนภัย สายด่วน 1784 โดยเมื่อเกิดเหตุทางกรมฯจะมีกลุ่มหมายเลขโทรศัพท์ในมืออยู่แล้ว โดยจะส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ หัวหน้า ปภ.จังหวัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด และผู้สื่อข่าว ซึ่งจะเป็นการส่งข้อความให้ทราบว่าเกิดเรื่องอะไรขึ้นเพื่อให้ทำความเข้าใจกับประชาชน สำรวจความเสียหาย และกรณีที่ต้องการเครื่องจักรกลขนาดใหญ่สามารถเรียกใช้ได้เพราะส่งไป 18 ศูนย์เขตทั่วประเทศเพื่อให้เตรียมพร้อมในการช่วยเหลือ 

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

นายภาสกร ยังระบุว่า การส่งข้อความช่วงแรกอาจเป็นภาษาราชการ ก็มีการปรับระเบียบปฏิบัติประจำ (Standard Operating Procedure)หรือ SOP และข้อความ โดยกำหนดตัว SOP และข้อความไว้แล้ว และเมื่อ SOP สมบูรณ์ก็จะส่ง SOP ไปให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือด้วยว่า จะส่งเป็น Code ไป เช่น กรณีแผ่นดินไหวใช้ EarthQuake ก็จะมีโค้ด EarthQuake 01 ,EarthQuake 02, EarthQuake 03 มีข้อความอะไร โดยมีข้อความที่กำหนดอยู่แล้ว เช่น ข้อปฏิบัติต่าง ๆ หรือ แจ้งจุดปลอดภัย ซึ่งจะระดมข้อมูลความคิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี และสื่อมวลชน มาช่วยพิจารณาข้อความที่เหมาะสม 

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ยกตัวอย่าง กรณีเหตุแผ่นดินไหว ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ภายใต้ ปภ.ซึ่งมีหน้าที่หลัก ในการแจ้งเตือนประชาชน จะเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการจัดการสาธารณภัยทั้งหมด โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ดินฟ้าอากาศ จาก กรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องแผ่นดินไหว จากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ในส่วนของเรื่องน้ำ จะรับข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) เรื่อง ปริมาณน้ำฝน ซึ่งมีทั้งผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือเมื่อส่งข้อมูลมา

จากนั้นจะวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ และสื่อสารข้อมูลออกไป ด้วยหมายเลข 1784 ในช่วงต้นจะใช้ SMS แต่ก็มีข้อจำกัดที่ตัวอักขระที่น้อย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเร่งปรับปรุงระบบ Cell Broadcast 

แจ้งเตือน "ก่อน ระหว่าง-หลัง" เกิดเหตุ 

ทั้งนี้ การแจ้งเตือนระบบ Cell Broadcast จะดำเนินการทั้ง ก่อนเกิดเหตุ (Early Warning) ระหว่างเกิดเหตุ และ หลัง เกิดเหตุ โดย กรณีการแจ้งเตือนก่อนการเกิดเหตุ สาธารณภัยทุกประเภทยกเว้นสามารถแจ้งเตือนได้ล่วงหน้า ยกเว้นแผ่นดินไหวยังไม่สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้  

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

กรณีระหว่างเกิดเหตุก็จะสามารถแจ้งเตือนเพื่อให้ประชาชนทราบว่า จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร และภายหลังเกิดเหตุจะแจ้งให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์ว่าคลี่คลายแล้วหรือไม่ การนำ Cell Broadcast  มาใช้จะนำมาใช้ในการแจ้งเตือนเป็นระยะ โดยจากนี้ไปจะนำมาใช้ทันที หลังจากเริ่มทดสอบในระดับเล็ก กลาง และใหญ่ โดยระหว่างนี้จะส่งแบบสอบถามผ่านกูเกิลฟอร์มไปยังประชาชนเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของ Cell Broadcast ให้ดียิ่งขึ้น

เตรียมแจ้งเตือนผ่าน "TV - วิทยุ"  

นายภาสกร ยังกล่าวว่า กรณีผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือนั้นจะแจ้งเตือนผ่าน โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียงต่าง ๆ เพราะต้องการให้ประชาชนรับทราบข้อมูลได้มากที่สุด โดยระบบ Cell Broadcast จะเริ่มจากโทรศัพท์มือถือเป็นลำดับแรกก่อน จากนั้นจะเป็นโทรทัศน์ และสถานีวิทยุกระจายเสียง ในการแจ้งเตือนพร้อม ๆ กันต่อไป  

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ปภ.เตรียมทดสอบระบบการแจ้งเตือนผ่าน Cell Broadcast กำหนดแผนการทดสอบ 3 ระดับ ในช่วงเดือน พ.ค.นี้

ขณะที่ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ยังกล่าวว่า กรณีชาวต่างชาติ แม้ว่าจะใช้จะเปิดการใช้บริการข้ามเครือข่ายหรือโรมมิง (Roaming) มาจากต่างประเทศ แต่เมื่อมาอยู่ที่ไทย ผู้ให้บริการโทรศัพท์จะเชื่อมสัญญาณพร้อมในการแจ้งเตือน ซึ่ง Cell Broadcast มีข้อดี คือ ไม่ขึ้นอยู่กับหมายเลขโทรศัพท์แต่ขึ้นอยู่กับการเกาะสัญญาณ Cell site ใด ก็จะส่งแจ้งเตือนไปให้ทราบ โดยไม่ได้คำนึงถึงสัญญาณโทรศัพท์

จะมีการแจ้งเตือนทันที ในพื้นที่ที่แจ้งเตือนและในเวลาที่แจ้งเตือน สัญญาณเสียงจะมาก่อนเล็กน้อย แต่ก็จะมาพร้อม ๆ กับข้อความ โดยสัญญาณเสียงจะดังยาว 8 วินาที และจะมีข้อความเด้งขึ้นมาโดยจะแจ้งเตือนให้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู   

 

 

อ่านข่าว : 2 พ.ค. เช็ก 5 จุด ทดสอบระบบ แจ้งเตือนภัยพิบัติ Cell Broadcast  

ปภ.สุพรรณบุรี - สงขลา พร้อมซ้อมเตือนภัย “Cell Broadcast”

กทม.ขยายยื่นขอรับเงินช่วยเหลือประสบภัยแผ่นดินไหวถึง 2 พ.ค.    

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง