ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สธ.ชื่นชม นพ.นนชยา สกัดแอนแทรกซ์ทัน หยุดเชื้อเนื้อดิบระบาด

ภูมิภาค
2 พ.ค. 68
13:26
6,220
Logo Thai PBS
สธ.ชื่นชม นพ.นนชยา สกัดแอนแทรกซ์ทัน หยุดเชื้อเนื้อดิบระบาด
อ่านให้ฟัง
03:29อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"แอนแทรกซ์" กลับมาปรากฏอีกครั้งหลังพบผู้เสียชีวิตรายแรก สร้างความกังวลใจให้กับชาวบ้านและเกษตรกร ด้านสาธารณสุข จ.มุกดาหาร ประกาศเกียรติคุณ นพ.นนชยา ใจตรง รพ.ดอนตาล ที่รักษาคนไข้และวินิจฉัยโรคได้รวดเร็ว

เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2568 เพจ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร ได้โพสต์เนื้อหา ระบุว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ประกาศเกียรติคุณชื่นชม นายแพทย์ "นนชยา ใจตรง" แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป รพ.ดอนตาล ศิษย์เก่าแพทย์ขอนแก่น ที่เป็นผู้แม่นยำวินิจฉัยผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ โดยย้อมสีแกรม (Gram Stain) พบเป็นแกรมบวกชนิดแท่ง ร่วมกับพบแผลที่มือคนไข้ ทำให้วินิจฉัยโรคได้รวดเร็ว รู้เร็ว แจ้งเร็ว ทำให้สามารถควบคุมป้องกันโรคและหากลุ่มเสี่ยงโรคแอนแทรกซ์ได้เร็ว ป้องกันความเสียหาย และป้องกันความรุนแรง ที่จะเกิดในวงกว้าง ได้อย่างดีเยี่ยม

ด้านผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 เปิดเผยถึง ผลตรวจจากแล็บของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันว่าเชื้อที่พบในร่างผู้เสียชีวิต คือเชื้อแอนแทรกซ์ จากแบคทีเรีย "บาซิลลัส แอนทราซิส" (Bacillus anthracis) แพร่เชื้อจากวัวสู่คน

หลังจากนี้จะสอบสวนถึงที่มาของวัวเนื่องจากเชื้อชนิดนี้ ไม่ได้มีการแพร่ระบาดในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว แต่ปีที่ผ่านมามีประวัติการระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน จึงกำชับให้สาธารณสุขจังหวัด ลงตรวจสอบพื้นที่ปศุสัตว์ทั้งหมด โดยเฉพาะสัตว์ 4 เท้าโดยประสานงานกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเรียบร้อยแล้ว

ขณะที่รองอธิบดีกรมอนามัย เตือนกลุ่มผู้นิยมเนื้อดิบ ประเภท ซอยจุ๊ ลาบ หลู้ ควรหยุดบริโภค หรือหลีกเลี่ยงไปก่อนจนกว่าการตรวจสอบการระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์จะเสร็จสิ้น ห้ามบริโภค วัว ควาย แพะ แกะ ที่ตายไม่ทราบสาเหตุ ควรปรุงอาหารด้วยความร้อนสูง 100 องศาเป็นเวลานาน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคได้

อย่าสัมผัส หรือชำแหละทำลายสัตว์ป่วยโดยไม่รู้วิธี ควรปรึกษาปศุสัตว์ เนื่องจากยังไม่ทราบว่ายังมีสัตว์ที่ติดโรคอีกหรือไม่ ซึ่งการบริโภคเนื้อดิบนอกจากมีความเสี่ยงเรื่องเชื้อโรคแอนแทรกซ์ ยังมีเรื่องพยาธิและโรคติดต่ออื่น ๆ จากสัตว์สู่มนุษย์อยู่แล้ว

สถานการณ์โรคแอนแทรกซ์ ในประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2567 กรมควบคุมโรคเปิดเผยว่า ประเทศลาวพบผู้ติดเชื้อแอนแทรกซ์ 129 รายเสียชีวิต 1 คน และ เมื่อ พ.ค.2566 เวียดนาม พบการระบาด 3 เหตุการณ์ ผู้ป่วยรวม 13 คน และผู้สัมผัส 132 คน จากการกินเนื้อโคและกระบือเช่นกัน

อ่านข่าวอื่น :

กรมปศุสัตว์เตือนเฝ้าระวัง "โรคแอนแทรกซ์" ออกมาตรการควบคุม-ป้องกัน

รู้จัก "แอนแทรกซ์" ให้ดีขึ้น ป้องกัน-ลดเสี่ยงติดโรค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง