วันนี้ (16 พ.ค.2568) รศ.ดร.อัจฉรา ชลายนนาวิน คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า พฤติกรรมของมารดาวัย 34 ปี มีบุตร 9 คน ทำคลิปอนาจารขายในกลุ่มลับนั้น เข้าข่ายความผิดฐานค้ามนุษย์และการกระทำลามกอนาจารเพื่อหาผลประโยชน์ทางเพศ แม้ว่าบุตรซึ่งเป็นเด็กจะทำด้วยความสมัครใจ แต่เกือบทั้งหมดมีอายุไม่ถึง 18 ปี นั่นจึงถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย
รศ.ดร.อัจฉรา กล่าวว่า ในต่างประเทศมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันนี้เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ หลายบริษัทเลิกจ้างพนักงาน ประชาชนขาดรายได้ ยากจน ไม่มีทางเลือก
ผู้ปกครองจึงเริ่มหันมารายได้ด้วยแนวทางเหล่านี้ เนื่องจากได้เงินง่ายและรวดเร็ว ส่วนตัวกังวลว่าในประเทศไทยเองก็อาจจะมีเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก
อ่านข่าว : โรงเรียนชี้แจงปมครูอนุบาล "ไลฟ์โซเชียล" ทำเด็กไม่ได้นอน
รศ.ดร.อัจฉรา กล่าวต่อไปว่า ในหลายประเทศทำงานเชิงรุกและมีกฎหมายที่รุนแรงเพื่อป้องกันปัญหาล่วงละเมิดทางเพศเด็ก เช่น สหรัฐอเมริกามีการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศ โดยบุคคลนั้นจะต้องไปรายงานตัวต่อรัฐตลอดชีวิต มีการจัดทำฐานข้อมูลสาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึง
รวมถึงยังมีการกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตแก่ผู้ที่ผลิต ครอบครอง หรือจำหน่ายสื่อลามกเด็ก หรือหากมีการใช้กำลังบังคับข่มขู่ผู้ที่เป็นเด็ก โทษอาจถึงจำคุกตลอดชีวิตและในบางกรณีไม่มีสิทธิ์ลดหย่อนหรือขอทัณฑ์บน
ขณะที่ ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กในประเทศอเมริกา มีการกำหนดโทษทางกฎหมายให้จำคุกตลอดชีวิต ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มี เว้นแต่เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ที่ร่วมสมคบกันกระทำเป็นเครือข่าย จำนวนเกินกว่า 3 คนขึ้นไป และมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบที่ถือเป็นองค์กรอาชญากรรม จึงจะเข้าข่ายการลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
อ่านข่าว : โดน 3 ข้อหาหนัก! ครูชายอนาจารเด็กชายโพสต์รูปลงโซเชียล
ฉะนั้นกรณีที่เกิดขึ้นใน จ.เพชรบูรณ์ คงต้องขึ้นอยู่กับการทำสำนวนของเจ้าหน้าที่ และการตีความของศาลว่ามีลักษณะของการสมคบกันเกินกว่า 3 คนหรือไม่
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ยังกล่าวว่า จนถึงปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศกับประเทศต้นทางของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งมีคลิปลามกอนาจารเด็กจำนวนมากเผยแพร่อยู่

รศ.ดร.อัจฉรา ชลายนนาวิน คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)
รศ.ดร.อัจฉรา ชลายนนาวิน คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)
ฉะนั้นภาครัฐควรเร่งสร้างกลไกป้องกันเชิงรุกในการจัดการปัญหาสื่อลามกเด็ก การทำอนาจารและล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ด้วยการประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานระหว่างประเทศต่าง ๆ
รวมถึงเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย องค์กรตำรวจสากล หรือกระทั่งใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตรวจจับคลิปที่มีการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก
อ่านข่าว : จับชาย 19 ปีล่วงละเมิดถ่ายคลิปเด็กหญิงผลิตสื่อลามกขาย
นอกจากนี้ ในแง่ของกฎหมายพบว่า ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างเท่าทันต่อสถานการณ์ ยกตัวอย่างในกรณีของประเทศอเมริกา หากนักสังคมสงเคราะห์พิจารณาแล้วเห็นว่า เด็กกำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจก็สามารถที่จะแยกเด็กออกมาจากผู้ปกครองได้ทันที
แต่บริบทของประเทศไทยยังต้องรอขั้นตอนให้ศาลมีคำสั่งอนุมัติเสียก่อน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความล่าช้า และไม่ทันการณ์ต่อการเร่งนำเด็กออกจากภาวะอันตราย
อ่านข่าว : อนาจาร! จับสึกเจ้าอาวาสวัดดังชลบุรี ล่วงละเมิด-ซื้อบริการ 2 เด็กสาว
ทุกวันนี้สังคมมีการล่วงละเมิดสิทธิเด็กโดยไม่รู้ตัว เช่น ครูที่ถ่ายคลิปเด็กนักเรียน หรือพ่อแม่ผู้ปกครองที่ถ่ายรูปบุตรหลานขณะที่ยังไม่สวมเสื้อผ้าลงสื่อโซเชียล จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการค้ามนุษย์จะพบว่าภาพหรือคลิปเหล่านี้ มักจะถูกคนที่มีความชอบทางเพศในเด็กนำไปใช้ หรือนำไปส่งและขายต่อในกลุ่มที่มีพฤติกรรมเดียวกัน ที่สำคัญคือมันจะไปกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิด จึงอยากให้ประชาชนช่วยกันระมัดระวังและให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย
อ่านข่าว : สอบวินัย ผอ. กรณีเด็ก ป.5 ถูก รปภ. ล่วงละเมิดในโรงเรียน
ตร.ยืนยันเหตุ "ฆ่า-ตัดอวัยวะ" ไม่เกี่ยวขบวนการค้ามนุษย์
บุกจับแอดมินเว็บค้ามนุษย์ พบมีหญิงค้าประเวณี 4.6 หมื่นคน
แท็กที่เกี่ยวข้อง: