ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ธรรมศาสตร์” อบรมผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ (AD) ส่งเสริม "คนพิการทางสายตา" เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

สังคม
10:24
76
“ธรรมศาสตร์” อบรมผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ (AD) ส่งเสริม "คนพิการทางสายตา" เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

การให้บริการเสียงบรรยายภาพ (Audio description) หรือ AD นอกจากจะเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ของคนพิการทางการเห็น ยังเป็นการยกระดับการพัฒนาคุณภาพของคนในประเทศให้ทัดเทียมในระดับสากลด้วย

สื่อ AD ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงสื่อสำหรับคนพิการทางการเห็นในประเทศไทย ยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเดินหน้าสานต่อ “โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตบริการเสียงบรรยายภาพเพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนพิการ” จากการสนับสนุนของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.)

เปิดอบรมให้กับประชาชนทั่วไป ที่มีความสนใจในการผลิตเสียงบรรยายภาพทางออนไลน์ในรูปแบบ pre-recorded video

อมีนา ทรงศิริ คนพิการทางการเห็น ที่ปรึกษาด้านสื่อและเสียงบรรยายภาพ หนึ่งในวิทยากรที่ร่วมถ่ายทอดความรู้ด้าน AD จะชวนผู้เข้าอบรมทำความเข้าใจกับโลกที่ไม่มีภาพ กับการบรรยายในหัวข้อ “การสื่อสารเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการทางการเห็น” กล่าวว่า โลกที่ไม่มีภาพ อาจจะทำความเข้าใจได้ยากสำหรับคนที่สายตาปกติ

อมีนา ทรงศิริ คนพิการทางการเห็น ที่ปรึกษาด้านสื่อและเสียงบรรยายภาพ หนึ่งในวิทยากรที่ร่วมถ่ายทอดความรู้ด้าน AD

อมีนา ทรงศิริ คนพิการทางการเห็น ที่ปรึกษาด้านสื่อและเสียงบรรยายภาพ หนึ่งในวิทยากรที่ร่วมถ่ายทอดความรู้ด้าน AD

อมีนา ทรงศิริ คนพิการทางการเห็น ที่ปรึกษาด้านสื่อและเสียงบรรยายภาพ หนึ่งในวิทยากรที่ร่วมถ่ายทอดความรู้ด้าน AD

ดังนั้นการผลิตสื่อ AD จำเป็นต้องทำความรู้จักว่า ความพิการทางการเห็นไม่ได้มีแค่ตาบอดสนิทเท่านั้น บางคนก็สายตาเลือนรางซึ่งยังมองเห็นภาพ ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป บางคนเห็นเป็นภาพเบลอ เห็นแค่บางมุมของลูกตา ในขณะที่บางคนมองไม่เห็นด้านข้างหรือไม่เห็นตรงกลาง

การทำสื่อเพื่อคนกลุ่มนี้ จึงจำเป็นต้องรู้ว่าคนเหล่านี้เข้าใจภาพแบบไหน อย่างไร มีการใช้ชีวิตโดยรวมเป็นอย่างไร ซึ่งถ้าเรารู้จักผู้ใช้สื่อก่อนก็จะช่วยให้การผลิตงาน AD ตอบโจทย์ความต้องการ เซกชั่นนี้จึงเกิดขึ้น” อมีนา เกริ่นนำถึงเนื้อหาที่ตนเตรียมจะถ่ายทอด

นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรที่จะมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกัน เช่น รศ.ดร.กุลนารี เสือโรจน์ นักวิชาการด้านสื่อและคนพิการ คณะวารสารศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเล่าถึงประวัติและความสำคัญของเสียงบรรยายภาพ ทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์

รศ.ดร.อารดา ครุจิต นักวิชาการด้านเสียงบรรยายภาพผู้มากประสบการณ์ จากคณะวารสารศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนบทเสียงบรรยายภาพที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจเนื้อหาและได้รับอรรถรส

ดร.พันธกานต์ ทานนท์ ภาคีเครือข่ายจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะมาแบ่งปันประสบการณ์และความท้าทาย ในการทำเสียงบรรยายภาพสำหรับรายการสาระและบันเทิง กมลวรรณ สุนทรธรรม ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 มีประสบการณ์ลงเสียงบรรยายงาน AD จะอธิบายเทคนิคการลงเสียงบรรยายภาพ และเล่าถึงความแตกต่างของงานลงเสียงบรรยายภาพกับงานลงเสียงประเภทอื่น

ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล และปิยะวัลย์ องค์สุวรรณ จากมูลนิธิด้วยกัน เพื่อคนพิการและสังคม ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Vohan และ Pannana จะมาแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้การผลิตและเข้าถึงเสียงบรรยายภาพง่ายขึ้นและใกล้ตัวมากขึ้น

และปิยะวัลย์ องค์สุวรรณ จากมูลนิธิด้วยกัน เพื่อคนพิการและสังคม ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Vohan และ Pannana (ขวา)
อมีนา ทรงศิริ คนพิการทางการเห็น ที่ปรึกษาด้านสื่อและเสียงบรรยายภาพ (ซ้าย)

และปิยะวัลย์ องค์สุวรรณ จากมูลนิธิด้วยกัน เพื่อคนพิการและสังคม ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Vohan และ Pannana (ขวา) อมีนา ทรงศิริ คนพิการทางการเห็น ที่ปรึกษาด้านสื่อและเสียงบรรยายภาพ (ซ้าย)

อมีนากล่าวต่อว่า ถ้าคนทั่วไปเข้ามาเรียนรู้กันเยอะๆ และมีทักษะการผลิตเพิ่มขึ้น สื่อ AD ก็จะขยายวงกว้าง คนที่ใช้ก็จะเข้าถึงสื่อได้หลากหลาย ตรงกับความต้องการของคนพิการทางการเห็นมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองได้ จะเป็น Content Creator ก็ยังได้ อย่างในต่างประเทศ

ตอนนี้ EU มีกฎหมายที่ผลักดันให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม เพราะการเข้าถึงเป็นสิทธิ สิ่งสำคัญอยากให้เข้าใจว่า การทำเรื่องนี้ เราไม่ได้ทำเพื่อการกุศล แต่เป็นบริการเพื่อความเท่าเทียมกัน ลดความเหลื่อมล้ำ ตามหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สากลให้การยอมรับ

ถ้าหากมีคนมาทำสื่อ AD เพิ่มมากขึ้น คนตาบอดมีโอกาสเข้าถึงสื่อได้มากขึ้น ก็จะช่วยยกระดับการพัฒนาเทียบเท่าสากลอีกรูปแบบหนึ่ง

ด้าน ปิยะวัลย์ องค์สุวรรณ จากมูลนิธิด้วยกัน เพื่อคนพิการและสังคม ที่พัฒนาแอปพลิเคชัน Vohan และ Pannana ที่จะมาร่วมถ่ายทอดความรู้สื่อ AD ผ่านนวัตกรรมที่ยกระดับกระบวนการผลิตและการเผยแพร่เสียงบรรยายภาพ นอกจากทำให้เข้าถึงในสื่อภาพเคลื่อนไหวของคนพิการทางการเห็นมีความเท่าเทียมในการรับรู้ ผ่านเสียงแล้วยังช่วยให้มีส่วนร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้ด้วย

Vohan คือ โปรแกรมผลิตเสียงบรรยายกึ่งอัตโนมัติ ส่วนแอป Pannana คือเสียงบรรยายภาพที่คนพิการทางการเห็นสามารถติดตั้งไว้บนสมาร์ทโฟน และเปิดใช้ได้สะดวกเวลาที่ต้องการดูสื่อต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ ละครทีวี หรือข่าวสาร

ที่ผ่านมาระบบเสียงไม่ได้มีการพัฒนาในรูปแบบนี้ ยังเป็นเสียงที่มาพร้อมกับลำโพง แต่เสียงบรรยายภาพ Pannana เพียงแค่กดเชื่อมต่อ ฟังผ่านหูฟัง ดูหนัง ฟังเพลงไปพร้อม ๆ กับคนตาดีได้โดยที่เสียงไม่รบกวนคนอื่น

นอกจากนี้เราได้ยังเตรียมที่เล่าประสบการณ์ ให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ว่า นวัตกรรมง่ายๆ ที่ช่วยให้คนพิการทางการเห็น มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม กับคนอื่น ๆ ได้นั้นเป็นอย่างไร เช่น การช่วยให้เค้าได้ออกไปวิ่งออกกำลังกาย ด้วยการเป็นไกด์รันเนอร์-Guide Runner” หรือผู้นำทางให้ความช่วยเหลือระหว่างวิ่ง ก็ทำให้คนพิการทางสายตา สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย และมีความสุขได้

ลองหลับตา แล้วจินตนาการถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว สามารถรับรู้อะไรได้บ้าง หากยังมีข้อสงสัย เสียงบรรยายภาพ มีคำตอบ ผู้ที่สนใจการอบรมสามารถติดตามข่าวสารและกำหนดการเปิดลงทะเบียนได้ทางเพจ JC Thammasat

อ่านข่าว : เตือน 16 จังหวัดเหนือ-อีสาน เฝ้าระวังน้ำท่วม-ดินถล่ม ถึง 13 ก.ค.นี้

ยกเลิกเวียนเทียน "เจ้าอาวาสวัดใหญ่จอมปราสาท" หายตัว

"ทักษิณ" เข้าบ้านพิษณุโลก ร่วมถก "ทีมไทยแลนด์" รับมือภาษีทรัมป์