เมื่อวันที่ 26 มี.ค.2565 ในงาน "เฉลิมฉลองโนราภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน" มีชาวบ้านเดินทางมาให้โนราใหญ่ทำพิธี "เหยียบเสน" ที่โรงครู โดยมี "โนราไข่น้อย ดาวจรัสศิลป์" และ "โนรานที มณีศิลป์ ศ.ยกชูบัว" เป็นผู้ทำพิธีให้ สำหรับปานแดงนูน หรือเรียกว่า "เสน" บนตัวทารก เชื่อว่าเป็นเครื่องหมายก่อนที่จะกลับมาเกิด จะมีเพียงโนราใหญ่เท่านั้นที่ "เหยียบเสน" ไม่ให้ลุกลามบนร่างกาย น.ส.ศศิธร พุทธสองสี เดินทางมาจาก จ.สตูล ระยะทาง 130 กิโลเมตร เพราะดูข่าวช่อง Thai PBS เมื่อเช้าวันที่ 25 มี.ค.2565 เห็นในข่าวว่า "งานเฉลิมฉลองโนราภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน" มีโรงครู จึงพาลูกชายมาให้โนราใหญ่รักษา เพราะคนใต้ทั่วไปเชื่อว่า โนราใหญ่มีอำนาจในการสื่อสารกับวิญญาณ มีอาคมแกร่งกล้า สามารถรักษาความเจ็บป่วยบางประการได้ ระหว่างทำพิธีโนราใหญ่จะกล่าวว่า "หายเสียนะ" โดยผู้เป็นพ่อก็รับคำว่า "หาย" นายธีรศักดิ์ ดำนุ้ย พ่อผู้อุ้มลูกชายเข้าพิธีวันนี้ก็บอกว่า นี่เป็นครั้งแรกของตนที่ได้เห็นพิธีนี้
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
มีเรื่องเล่าในอดีต ชาวกะเหรี่ยงจะต้องจ่ายภาษี ช้าง วัว ควาย ค่าเตาไฟ ภาษีที่ดิน และภาษีหัวหมู ปกติแล้วการเลี้ยงหมูของคนกะเหรี่ยงยุคนั้นไม่ต้องเสียภาษี เมื่อใดที่ฆ่าหมู จะต้องเสียภาษีถึงตัวละ 30 บาท และเงิน 30 บาท มีค่าเท่ากับการรับจ้างทำงาน 1 ปี