“ปรีดี พนมยงค์” ผู้ทรงคุณวุฒิและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย

“ปรีดี พนมยงค์” ผู้ทรงคุณวุฒิและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย

8 พ.ค. 68

11 พฤษภาคม #วันปรีดีพนมยงค์
.
🎖️ #ปรีดีพนมยงค์ หรือ #หลวงประดิษฐ์มนูธรรม นักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง นักการทูต และอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ณ บ้านหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
.
⚖️ ในปี 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม และศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภา โดยอาจารย์เลเดแกร์ (E.LADEKER) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศเป็นผู้สอน ต่อมาในปี 2462 สอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตได้ ในปี 2463 ได้เป็นสมาชิกสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา และในเดือนสิงหาคม 2463 ก็ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาวิชากฎหมาย ณ ประเทศฝรั่งเศส
.
📣 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2470 “ปรีดี พนมยงค์” ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6 คน รวมเป็น 7 คน จัดประชุมเป็นครั้งแรก เพื่อก่อตั้ง #คณะราษฎร ที่กรุงปารีส ประกอบด้วย “ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี” นายทหารกองหนุน “ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ” (ต่อมาคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม)” นักศึกษาโรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส “ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี” นักศึกษาโรงเรียนนายทหารม้าฝรั่งเศส “ตั้ว ลพานุกรม” ทหารอาสาไทย “หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)” อดีตนายสิบตรีกองทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส “แนบ พหลโยธิน” เนติบัณฑิตอังกฤษ หลานพระยาพหลพลหยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และ “ปรีดี พนมยงค์”
.
♟️ จนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 “คณะราษฎร” พร้อมสมาชิกทั้งทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน โดยมี “พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)” เป็นหัวหน้าคณะราษฎร ได้ทำการอภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่อมาคือ #วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
.
✨ “ปรีดี พนมยงค์” ได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นอนุกรรมการคนหนึ่งในจำนวน 9 คน มีหน้าที่ร่างธรรมนูญปกครองแผ่นดินถาวร ซึ่งต่อมาคือ #รัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็น “รัฐธรรมนูญ” ฉบับ 10 ธันวาคม 2475 และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2476 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “ปรีดี พนมยงค์” ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
.
🧑‍🎓 นอกจากนี้ “ปรีดี พนมยงค์” ยังเสนอรัฐบาลให้จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” พร้อมร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 เพื่อเสนอสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2477 ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้อยู่เป็นเวลากว่า 18 ปี
.
🪂 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 “ปรีดี พนมยงค์” ได้เป็นส่วนหนึ่งของ #เสรีไทย #FreeThaiMovement ขบวนการใต้ดินในสงครามมหาเอเชียบูรพา ส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 2484 - 2488) เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นแหล่งข่าวสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร รวมถึงรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย โดย “ปรีดี พนมยงค์” ใช้ชื่อรหัสว่า “รูท”
.
👑 ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม 2488 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่อง “ปรีดี พนมยงค์” ไว้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส เนื่องจากทรงพระราชดำริเห็นว่า ได้เคยรับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาแล้วหลายตำแหน่ง รวมถึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นในวันที่ 24 มีนาคม 2489 ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ “ปรีดี พนมยงค์” เป็นนายกรัฐมนตรี
.
🖤 “ปรีดี พนมยงค์” ต้องลี้ภัยทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การ #รัฐประหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2480 โดยเดินทางไปสิงคโปร์และจีน เมื่อถึงปี 2513 จึงเดินทางจากจีนไปอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะอายุได้ 83 ปี
.
🔰 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 ครบรอบ 100 ปี ชาตกาล “ปรีดี พนมยงค์” #องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ #ยูเนสโก #UNESCO ได้ประกาศให้ “ปรีดี พนมยงค์” เป็นบุคคลสำคัญของโลก
.
🔖 คลิกอ่าน “ปรีดี พนมยงค์” ผู้ทรงคุณวุฒิและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย 🖱️ www.thaipbs.or.th/now/infographic/447
.
🗝 เล่าอดีต บันทึกปัจจุบัน รอบรู้ทุกวัน กับ Thai PBS On This Day | www.thaipbs.or.th/OnThisDay 📢 บริการ #TextToSpeech คลิกฟังฉบับ #AIvoice 🎧 www.thaipbs.or.th/ai-audio-news
.
▶ #วันสำคัญ #บุคคลสำคัญ #ThaiPBSOnThisDay #ThaiPBSDigitalMedia #ThaiPBS 

“ปรีดี พนมยงค์” ผู้ทรงคุณวุฒิและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย

8 พ.ค. 68

11 พฤษภาคม #วันปรีดีพนมยงค์
.
🎖️ #ปรีดีพนมยงค์ หรือ #หลวงประดิษฐ์มนูธรรม นักกฎหมาย อาจารย์ นักกิจกรรม นักการเมือง นักการทูต และอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ณ บ้านหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
.
⚖️ ในปี 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม และศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภา โดยอาจารย์เลเดแกร์ (E.LADEKER) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศเป็นผู้สอน ต่อมาในปี 2462 สอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตได้ ในปี 2463 ได้เป็นสมาชิกสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา และในเดือนสิงหาคม 2463 ก็ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาวิชากฎหมาย ณ ประเทศฝรั่งเศส
.
📣 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2470 “ปรีดี พนมยงค์” ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6 คน รวมเป็น 7 คน จัดประชุมเป็นครั้งแรก เพื่อก่อตั้ง #คณะราษฎร ที่กรุงปารีส ประกอบด้วย “ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี” นายทหารกองหนุน “ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ” (ต่อมาคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม)” นักศึกษาโรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส “ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี” นักศึกษาโรงเรียนนายทหารม้าฝรั่งเศส “ตั้ว ลพานุกรม” ทหารอาสาไทย “หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)” อดีตนายสิบตรีกองทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส “แนบ พหลโยธิน” เนติบัณฑิตอังกฤษ หลานพระยาพหลพลหยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และ “ปรีดี พนมยงค์”
.
♟️ จนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 “คณะราษฎร” พร้อมสมาชิกทั้งทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน โดยมี “พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)” เป็นหัวหน้าคณะราษฎร ได้ทำการอภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่อมาคือ #วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
.
✨ “ปรีดี พนมยงค์” ได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นอนุกรรมการคนหนึ่งในจำนวน 9 คน มีหน้าที่ร่างธรรมนูญปกครองแผ่นดินถาวร ซึ่งต่อมาคือ #รัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็น “รัฐธรรมนูญ” ฉบับ 10 ธันวาคม 2475 และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2476 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “ปรีดี พนมยงค์” ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
.
🧑‍🎓 นอกจากนี้ “ปรีดี พนมยงค์” ยังเสนอรัฐบาลให้จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” พร้อมร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 เพื่อเสนอสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2477 ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้อยู่เป็นเวลากว่า 18 ปี
.
🪂 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 “ปรีดี พนมยงค์” ได้เป็นส่วนหนึ่งของ #เสรีไทย #FreeThaiMovement ขบวนการใต้ดินในสงครามมหาเอเชียบูรพา ส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 2484 - 2488) เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นแหล่งข่าวสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร รวมถึงรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย โดย “ปรีดี พนมยงค์” ใช้ชื่อรหัสว่า “รูท”
.
👑 ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม 2488 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่อง “ปรีดี พนมยงค์” ไว้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส เนื่องจากทรงพระราชดำริเห็นว่า ได้เคยรับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาแล้วหลายตำแหน่ง รวมถึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นในวันที่ 24 มีนาคม 2489 ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ “ปรีดี พนมยงค์” เป็นนายกรัฐมนตรี
.
🖤 “ปรีดี พนมยงค์” ต้องลี้ภัยทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การ #รัฐประหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2480 โดยเดินทางไปสิงคโปร์และจีน เมื่อถึงปี 2513 จึงเดินทางจากจีนไปอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะอายุได้ 83 ปี
.
🔰 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 ครบรอบ 100 ปี ชาตกาล “ปรีดี พนมยงค์” #องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ #ยูเนสโก #UNESCO ได้ประกาศให้ “ปรีดี พนมยงค์” เป็นบุคคลสำคัญของโลก
.
🔖 คลิกอ่าน “ปรีดี พนมยงค์” ผู้ทรงคุณวุฒิและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย 🖱️ www.thaipbs.or.th/now/infographic/447
.
🗝 เล่าอดีต บันทึกปัจจุบัน รอบรู้ทุกวัน กับ Thai PBS On This Day | www.thaipbs.or.th/OnThisDay 📢 บริการ #TextToSpeech คลิกฟังฉบับ #AIvoice 🎧 www.thaipbs.or.th/ai-audio-news
.
▶ #วันสำคัญ #บุคคลสำคัญ #ThaiPBSOnThisDay #ThaiPBSDigitalMedia #ThaiPBS