ภาวะตัวเย็น.jpg

"ภาวะตัวเย็นเกิน" ช่วยไม่ทัน เสี่ยงเสียชีวิตได้

31 ม.ค. 66

หมอเตือน! อย่าวางใจท้าลมหนาวเป็นเวลานาน เพราะเสี่ยงภาวะไฮโปเธอร์เมีย หรือภาวะตัวเย็นเกินได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

"ภาวะตัวเย็นเกิน" (Hypothermia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ทำให้ร่างกายสูญเสียกลไกการปรับอุณหภูมิ ไม่สามารถสร้างและเก็บความร้อนในร่างกายได้ เป็นเหตุให้อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมองทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงไปจนถึงเสียชีวิตได้ 

อาการระยะแรก : หนาวสั่น อ่อนเพลีย พูดอ้อแอ้ เดินเซ หงุดหงิด หากอุณหภูมิร่างกายยังลดลงต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะหยุดสั่น ไม่ค่อยรู้สึกตัว มีอาการเพ้อคลั่ง และหมดสติได้  สาเหตุมาจากการสัมผัสความหนาวเย็นเป็นเวลานาน เช่น อยู่ในอากาศหนาว หรือแช่ในน้ำที่เย็นจัด 

  • แนะนำ! สวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ห่มผ้าห่มหรือผ้านวมหนา ๆ หรือผิงไฟให้ความอบอุ่น
  • เลี่ยงการอยู่ในน้ำเย็นหรือสวมเสื้อผ้าที่เปียกเป็นเวลานาน
  • เลี่ยงสัมผัสอากาศหนาวหรือลมหนาวนอกบ้าน หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น
  • ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เพื่อแก้หนาว เพราะจะทำให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ความร้อนจะถูกระบายออกจากร่างกายมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง หากปล่อยให้อุณหภูมิต่ำลงเรื่อย ๆ โดยไม่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวเสี่ยงต่อภาวะเซลล์สมองตาย เนื่องจากภาวะหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด

หากพบผู้ป่วยที่มีภาวะไฮโปเธอร์เมีย ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น ด้วยการใช้ผ้านวม หรือผ้าห่มห่อคลุมตัว หรือสวมใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ในท่านอนหงายบนพื้นที่อบอุ่นหรือมีผ้าหนา ๆ ปูรอง หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่จำเป็น ห้ามนวดหรือแตะต้องตัวผู้ป่วยแรงๆ เนื่องจากอาจกระเทือนส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นได้ หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ให้ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอุ่น ๆ จะช่วยให้ทุเลาได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : หมอเตือนหน้าหนาวระวัง “ไฮโปเธอร์เมีย” ภาวะตัวเย็นเกิน

"ภาวะตัวเย็นเกิน" ช่วยไม่ทัน เสี่ยงเสียชีวิตได้

31 ม.ค. 66

หมอเตือน! อย่าวางใจท้าลมหนาวเป็นเวลานาน เพราะเสี่ยงภาวะไฮโปเธอร์เมีย หรือภาวะตัวเย็นเกินได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

"ภาวะตัวเย็นเกิน" (Hypothermia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ทำให้ร่างกายสูญเสียกลไกการปรับอุณหภูมิ ไม่สามารถสร้างและเก็บความร้อนในร่างกายได้ เป็นเหตุให้อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมองทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงไปจนถึงเสียชีวิตได้ 

อาการระยะแรก : หนาวสั่น อ่อนเพลีย พูดอ้อแอ้ เดินเซ หงุดหงิด หากอุณหภูมิร่างกายยังลดลงต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะหยุดสั่น ไม่ค่อยรู้สึกตัว มีอาการเพ้อคลั่ง และหมดสติได้  สาเหตุมาจากการสัมผัสความหนาวเย็นเป็นเวลานาน เช่น อยู่ในอากาศหนาว หรือแช่ในน้ำที่เย็นจัด 

  • แนะนำ! สวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ห่มผ้าห่มหรือผ้านวมหนา ๆ หรือผิงไฟให้ความอบอุ่น
  • เลี่ยงการอยู่ในน้ำเย็นหรือสวมเสื้อผ้าที่เปียกเป็นเวลานาน
  • เลี่ยงสัมผัสอากาศหนาวหรือลมหนาวนอกบ้าน หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น
  • ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เพื่อแก้หนาว เพราะจะทำให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ความร้อนจะถูกระบายออกจากร่างกายมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง หากปล่อยให้อุณหภูมิต่ำลงเรื่อย ๆ โดยไม่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวเสี่ยงต่อภาวะเซลล์สมองตาย เนื่องจากภาวะหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด

หากพบผู้ป่วยที่มีภาวะไฮโปเธอร์เมีย ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น ด้วยการใช้ผ้านวม หรือผ้าห่มห่อคลุมตัว หรือสวมใส่เสื้อผ้าหนา ๆ ให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ในท่านอนหงายบนพื้นที่อบอุ่นหรือมีผ้าหนา ๆ ปูรอง หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่จำเป็น ห้ามนวดหรือแตะต้องตัวผู้ป่วยแรงๆ เนื่องจากอาจกระเทือนส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นได้ หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ให้ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอุ่น ๆ จะช่วยให้ทุเลาได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : หมอเตือนหน้าหนาวระวัง “ไฮโปเธอร์เมีย” ภาวะตัวเย็นเกิน