youtuber.jpg

YouTuber ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?

13 ก.พ. 66

YouTuber เตรียมให้พร้อม! ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้องบอกว่า ธุรกิจที่เน้นระบบออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการไลฟ์สดขายสินค้า สตรีมเมอร์ หรือการเป็น YouTuber ก็มีมากหน้าหลายตา เกิด YouTuber หน้าใหม่มากขึ้น นั่นเลยเป็นผลให้ "กรมสรรพากร" วางแผนตั้งกองสำรวจและติดตามธุรกิจนอกระบบ ทำหน้าที่ตรวจสอบคนหรือธุรกิจที่อยู่นอกระบบภาษีให้เข้ามาอยู่ในระบบภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการในส่วนนี้เข้าสู่ระบบภาษีมากถึง 200,000 ราย

สำหรับกลุ่มธุรกิจนอกระบบที่เป็นเป้าหมายหลัก ก็คือ กลุ่มที่มีรายได้ค่อนข้างสูง ซึ่งปัจจุบัน คือ แม่ค้าออนไลน์, การไลฟ์สดขายสินค้า, Influencer และ YouTuber โดยเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ช่วยทำให้รายได้ภาษีขยายตัว 

ดังนั้น เพื่อไม่ให้พลาด และเข้าถึงกระบวนการเสียภาษีอย่างถูกต้อง Thai PBS ชวน YouTuber หน้าใหม่ มาทำความเข้าใจกับขั้นตอนการยื่นเสียภาษี ว่าต้องเสียอะไรบ้าง ?

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 2 วิธี โดยต้องทำทั้งคู่แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน แล้วให้เลือกเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้มากกว่า
 

  • วิธีที่ 1 คำนวณภาษีจาก "เงินได้สุทธิ" (เงินได้หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน)
    จำนวนภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • วิธีที่ 2 คำนวณภาษีจาก "เงินได้พึงประเมิน" (เงินได้ประเภทที่ 2-8 ตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป)
    จำนวนภาษี* = เงินได้พึงประเมิน x 0.5%
    (*กรณีคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีชำระไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับยกเว้นภาษีจากการคำนวณตามวิธีที่ 2 แต่ยังต้องเสียภาษีตามวิธีที่ 1)

ภาษีเงินได้สำหรับ YouTuber ที่เป็น “บุคคลธรรมดา”

  1. เลขประจำตัวประชาชน = เลขประจำตัวผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาไทย
  2. จัดทำรายงานเงินสดรับจ่าย และเก็บเอกสาร/หลักฐานเกี่ยวกับรายได้/รายจ่ายไว้
  3. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง ณ สรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตทาง www.rd.go.th
    กำหนดยื่นแบบ
    - ภ.ง.ด.90 : เดือน ม.ค. - มี.ค. (ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้)
    - ภ.ง.ด. 94 : เดือน ก.ค. - ก.ย. (ของปีที่ได้รับเงินได้)

YouTuber ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?

13 ก.พ. 66

YouTuber เตรียมให้พร้อม! ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้องบอกว่า ธุรกิจที่เน้นระบบออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการไลฟ์สดขายสินค้า สตรีมเมอร์ หรือการเป็น YouTuber ก็มีมากหน้าหลายตา เกิด YouTuber หน้าใหม่มากขึ้น นั่นเลยเป็นผลให้ "กรมสรรพากร" วางแผนตั้งกองสำรวจและติดตามธุรกิจนอกระบบ ทำหน้าที่ตรวจสอบคนหรือธุรกิจที่อยู่นอกระบบภาษีให้เข้ามาอยู่ในระบบภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการในส่วนนี้เข้าสู่ระบบภาษีมากถึง 200,000 ราย

สำหรับกลุ่มธุรกิจนอกระบบที่เป็นเป้าหมายหลัก ก็คือ กลุ่มที่มีรายได้ค่อนข้างสูง ซึ่งปัจจุบัน คือ แม่ค้าออนไลน์, การไลฟ์สดขายสินค้า, Influencer และ YouTuber โดยเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ช่วยทำให้รายได้ภาษีขยายตัว 

ดังนั้น เพื่อไม่ให้พลาด และเข้าถึงกระบวนการเสียภาษีอย่างถูกต้อง Thai PBS ชวน YouTuber หน้าใหม่ มาทำความเข้าใจกับขั้นตอนการยื่นเสียภาษี ว่าต้องเสียอะไรบ้าง ?

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 2 วิธี โดยต้องทำทั้งคู่แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน แล้วให้เลือกเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้มากกว่า
 

  • วิธีที่ 1 คำนวณภาษีจาก "เงินได้สุทธิ" (เงินได้หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน)
    จำนวนภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • วิธีที่ 2 คำนวณภาษีจาก "เงินได้พึงประเมิน" (เงินได้ประเภทที่ 2-8 ตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป)
    จำนวนภาษี* = เงินได้พึงประเมิน x 0.5%
    (*กรณีคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีชำระไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับยกเว้นภาษีจากการคำนวณตามวิธีที่ 2 แต่ยังต้องเสียภาษีตามวิธีที่ 1)

ภาษีเงินได้สำหรับ YouTuber ที่เป็น “บุคคลธรรมดา”

  1. เลขประจำตัวประชาชน = เลขประจำตัวผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาไทย
  2. จัดทำรายงานเงินสดรับจ่าย และเก็บเอกสาร/หลักฐานเกี่ยวกับรายได้/รายจ่ายไว้
  3. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง ณ สรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตทาง www.rd.go.th
    กำหนดยื่นแบบ
    - ภ.ง.ด.90 : เดือน ม.ค. - มี.ค. (ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้)
    - ภ.ง.ด. 94 : เดือน ก.ค. - ก.ย. (ของปีที่ได้รับเงินได้)