เขตเวสต์แบงก์มีพื้นที่ประมาณ 5,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เป็นจุดที่องค์การสหประชาชาติแบ่งให้สําหรับก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์ ชีวิตในเขตเวสต์แบงก์ของชาวอาหรับและชาวยิวต่างกันอย่างยิ่ง บ้านเรือนของชาวยิวตั้งอยู่ในชุมชนหรือนิคมที่มีรั้วสูงกั้น มีทหารคอยคุ้มกันความปลอดภัย สาธารณูปโภคพร้อม แต่ชาวปาเลสไตน์ต้องผ่านด่านความมั่นคง ต่อคิวยาวเหยียด และเสียเวลาไปไม่น้อยในแต่ละวัน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ชาวยิวที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเวสต์แบงก์เริ่มเพิ่มขึ้น นับตั้งแต่ เบนจามิน เนทันยาฮู กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในปี 2009 การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวยิวมากและเป็นระบบมากขึ้น กําแพงสูงถูกสร้างขึ้นเพื่อกั้นระหว่างอิสราเอลและเขตเวสต์แบงก์ คอนกรีตแบริเออร์ที่ตั้งตระหง่านสุดสายตานี้มีความยาวกว่า 700 กิโลเมตร พรั่งพร้อมไปด้วยหอสังเกตการณ์ทางการทหาร กล้องและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สําหรับตรวจจับ
การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในเวสต์แบงก์นําไปสู่การปะทะระหว่างชาวยิวและชาวปาเลสไตน์ ชาวยิวบางส่วนบุกเผาและทําลายทรัพย์สินของชาวปาเลสไตน์ สถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่อิสราเอลทําสงครามกับฮามาสในฉนวนกาซา เพราะชาวปาเลสไตน์ต้องรับมือกับทั้งชาวยิวและกองกําลังป้องกันอิสราเอลที่เข้ามาปราบปรามกลุ่มติดอาวุธ
เมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ กลับมาดำรงตำแหน่ง ปธน.สหรัฐฯ สมัยที่2 เมื่อวันที่ 20 มกราคม ที่ผ่านมา โดยทรัมป์ยกเลิกการคว่ำบาตรกลุ่มหัวรุนแรงที่เป็นแกนนำก่อเหตุโจมตีชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ ภาพจากกล้องวงจรปิดเผยให้เห็นกลุ่มคนร่วมร้อยจุดไฟเผารถของชาวปาเลสไตน์บริเวณเขตชินซาฟุตทางตอนเหนือของเวสต์แบงก์เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์เปิดทางให้อิสราเอลขยายอํานาจเหนือเวสต์แบงก์ แนวทางสองรัฐเคยเป็นแสงสว่างในการแก้ปมปัญหาที่ดําเนินมาอย่างยาวนานกําลังถูกท้าทาย หากท่าทีเช่นนี้ของมหาอํานาจอย่างสหรัฐฯ ยังคงเหมือนเดิม โอกาสที่เวสต์แบงก์จะเป็นส่วนหนึ่งของการก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์ก็จะยิ่งลดน้อยถอยลงเรื่อย ๆ
สถานการณ์ในเวสต์แบงก์มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงและท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ การขยายตัวของการตั้งถิ่นฐานของชาวยิวและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ทําให้อนาคตของรัฐปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ดูมืดมนและไม่แน่นอนมากขึ้น
ติดตามได้ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอนเวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์ วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
สงครามนิวเคลียร์
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
สงครามนิวเคลียร์
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ