สงครามในยูเครนไม่ได้เป็นเพียงการปะทะกันของสองประเทศ แต่ยังเป็นเวทีที่ชนกลุ่มน้อยอย่างชาวเชชเนียใช้เป็นโอกาสในการสู้เพื่อเอกราช
กองพันดโชการ์ ดูดาเยฟ ซึ่งประกอบด้วยนักรบเชชเนีย เข้าร่วมรบกับยูเครนมาตั้งแต่ปี 2014 และมีบทบาทสำคัญในแนวรบตะวันออกของประเทศ จุดยืนของกลุ่มนี้ตรงข้ามกับกองกำลังเชชเนียที่นำโดยรามซาน คาดีรอฟ ผู้นำเชชเนียผู้ภักดีต่อรัสเซีย ในเดือนสิงหาคม 2024 ปรากฎภาพของคาดีรอฟนั่งหารือกับผู้นำรัสเซีย
บทสนทนาส่วนหนึ่งคือ การยืนยันว่า ทหารเชชเนียจะยังเป็นส่วนสำคัญของกองทัพรัสเซียในการทำสงครามในยูเครน โดยจำนวนที่ส่งไปรบมีมากถึง 47,000 นาย กลายเป็นสงครามซ้อนสงครามที่สะท้อนความขัดแย้งในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน
เชชเนียเป็นสาธารณรัฐหนึ่งในรัสเซีย ตั้งอยู่ในภูมิภาคคอเคซัสเหนือ มีประชากรประมาณ 1.2 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม
ในซอย-เปเด มีสุสานยุคกลางของบรรพชนชาวเชชเนีย หรือนครแห่งผู้วายชนม์ เป็นสุสานยุคกลางที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในคอเคซัส
นครแห่งผู้วายชนม์แห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่า เชชเนียมีรากหง้าที่เก่าแก่ ผ่านการต่อสู้เพื่ออิสระมาอย่างยาวนาน ผ่านสงครามมาแล้วหลายครั้งหลายคราในรอบกว่าร้อยปี นับตั้งแต่อดีต เชชเนียต่อต้านอิทธิพลจากส่วนกลางของรัสเซียมาโดยตลอด การดิ้นรนเพื่อเอกราชมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิรัสเซีย ผ่านยุคโซเวียต และต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 เชชเนียประกาศอิสรภาพฝ่ายเดียว และจัดตั้งสาธารณรัฐเชชเนียแห่งอิชเคเรียภายใต้การนำของดโชการ์ ดูดาเยฟ แต่รัสเซียไม่ยอมรับและเปิดฉากสงครามในปี 1994 ผลลัพธ์คือการเสียชีวิตกว่า 100,000 คน และดูดาเยฟถูกสังหารในปี 1996
แม้จะมีข้อตกลงหยุดยิงในปี 1997 สันติภาพก็ไม่ยั่งยืน
ปี 1999 รัสเซียตกอยู่ในวิกฤตผู้นำ บอริส เยลต์ซิน ลาออกและแต่งตั้งวลาดิเมียร์ ปูตินเป็นนายกรัฐมนตรีและรักษาการประธานาธิบดี
หลังเหตุระเบิดในกรุงมอสโก รัฐบาลรัสเซียกล่าวหาว่าเป็นฝีมือกลุ่มเชชเนีย ที่ปูตินได้ใช้เรื่องนี้เป็นเหตุเปิดสงครามเชชเนียรอบใหม่ โดยเรียกว่า “ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย”
สงครามเชชเนียรอบสองกินเวลานาน 8 ปี มีการทำลายล้างเมืองหลวงอย่างกรอซนีจนกลายเป็นซากปรักหักพัง
รัฐบาลรัสเซียสนับสนุนคาดีรอฟขึ้นเป็นผู้นำเชชเนียเพื่อควบคุมพื้นที่ แต่กองกำลังต่อต้านอย่างดโชการ์ ดูดาเยฟไม่ยอมแพ้ และยังคงต่อสู้อย่างต่อเนื่อง แม้ต้องลี้ภัยในประเทศอื่นก็ตาม
ปัจจุบันเชชเนียภายใต้การปกครองของคาดียรอฟดูสงบ แต่ภายใต้พื้นผิวยังเต็มไปด้วยรอยร้าว ความเจ็บปวด และความฝันถึงเอกราชที่ยังไม่หายไปไหน
ความขัดแย้งในยูเครนจึงไม่เพียงสะท้อนการเผชิญหน้าระหว่างรัฐสองรัฐ แต่ยังเผยให้เห็นถึงการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยที่ยังไม่ยอมจำนนต่ออำนาจกลางอย่างรัสเซีย
ในวันนี้ สงครามในเชชเนียจบลงในนาม แต่สันติภาพนั้นเปราะบาง รอยร้าวที่ซ่อนอยู่ภายใต้การปกครองของคาดียรอฟและปูตินเด่นชัดขึ้น หลังรัสเซียเข้ารุกรานยูเครน กลุ่มเชชเนียผู้ภักดีต่อระบอบของประธานาธิบดีปูตินและกลุ่มเชชเนียที่เชื่อในเอกราชต่างใช้สนามรบยูเครนเป็นเดิมพัน
ร่วมติดตามกับคุณ กรุณา บัวคำศรี ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส วันพุธที่ 2 เมษายน 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
สงครามนิวเคลียร์
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
สงครามนิวเคลียร์
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ