ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สงครามการค้าสะเทือนโลก

ออกอากาศ30 เม.ย. 68

ภาษีศุลกากร อาวุธหนักแห่งสงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ

นับตั้งแต่จีนเข้าสู่ระบบการค้าเสรีแบบเต็มตัวจากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกหรือ WTO เมื่อปี 2001 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าจีนอย่างหนักติดต่อกันนานกว่า 3 ทศวรรษ

ปี 2023 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากจีนคิดเป็นมูลค่า 427,000 ล้านดอลลาร์ แต่สินค้าที่ส่งออกไปจีนมีเพียง 148,000 ล้านดอลลาร์ นั่นเท่ากับว่า สหรัฐขาดดุลการค้าจีนอยู่ถึง 279,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ทำให้ 2 เมษายน 2025 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทำสิ่งที่ไม่ใครคาดคิดและกำลังจะเปลี่ยนระเบียบการค้าโลกไปอีกนาน นั่นคือ การประกาศปลดปล่อยสหรัฐฯ ออกจากการถูกเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากชาวโลก

เครื่องมือที่ถูกนำมาใช้คือ ภาษีศุลกากร

แผ่นบอร์ดในมือของผู้นำสหรัฐฯ มีชื่อประเทศต่าง ๆ หลายสิบประเทศที่ถูกระบุว่าเอาเปรียบทางการค้าสหรัฐฯ ซึ่งหมายเลขหนึ่งคือ จีน ทรัมป์เปิดฉากด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจีนร้อยละ 34 พร้อมภาษีพื้นฐานร้อยละ 10 กับสินค้าทั่วโลก และขู่ว่า หากใครไม่อยากโดนภาษี ต้องย้ายฐานการผลิตกลับมาสหรัฐฯ

จีนในฐานะชาติใหญ่ด้านเศรษฐกิจและคู่แข่งสำคัญของสหรัฐฯ ตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีศุลกากรร้อยละ 34 ตามมาด้วยการโต้กลับกันอีกหลายรอบ

ภายใน 8 วันหลังทรัมป์ปลดปล่อยอเมริกา สินค้าจีนที่เข้าสหรัฐฯ เจอภาษีสูงถึงร้อยละ 145 และสินค้าสหรัฐฯ ที่เข้าไปจีนโดนภาษีร้อยละ 125 ตลาดหุ้นร่วงหนัก พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ถูกเทขายไม่น้อยภายในสงครามการค้าแค่ 3 วัน

ชิป ไพ่ตายสงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ

ท่ามกลางความผันผวน ทรัมป์ยอมถอยบางส่วน เช่น ชะลอขึ้นภาษีสินค้ากลุ่มเทคโนโลยี แต่เดินหน้าสู้กับจีนต่อโดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มไมโครชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ที่มีความสำคัญต่อทั้งเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ เพราะ ชิปคือหัวใจของเทคโนโลยี ตั้งแต่สมาร์ทโฟน จนถึงขีปนาวุธ

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯ พยายามควบคุมองค์ความรู้และการผลิตสินค้ากลุ่มชิปไม่ให้ตกไปอยู่ในมือจีน และชิปถือเป็นเครื่องมือในการทำสงครามการค้ามาตลอด

ในยุคประธานาธิบดีไบเดน สหรัฐฯ ต้องลดการพึ่งพาจีน จึงออกกฎหมาย CHIPS and Science Act สนับสนุนการผลิตชิปในประเทศ พร้อมกับขึ้นภาษีสินค้าจากจีน ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ และไมโครชิป

แต่การแข่งขันทางการค้ามาดุเดือดในยุคของทรัมป์

หลังเกิดสงครามการค้า จีนตอบโต้ด้วยการระงับการส่งออกแร่หายาก (Rare Earth) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเทคโนโลยีล้ำสมัย ทั้งของพลเรือนและทหาร

นี่คือไพใบใหญ่ในมือจีน เพราะปัจจุบัน จีนผลิตแร่หายากกว่าร้อยละ 60 ของตลาดโลก ทำให้ยิ่งตอกย้ำอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าสหรัฐฯ

สงครามการค้า ชิงความเป็นใหญ่ด้านเทคโนโลยี

แม้จะมีความพยายาม decoupling หรือแยกห่วงโซ่อุปทานจากจีน แต่โลกยุคใหม่ที่ทุกอย่างเชื่อมโยงกัน ทำให้การแยกเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะในสินค้าขั้นสูงอย่างเซมิคอนดักเตอร์

นักวิเคราะห์ประเมินว่าสงครามการค้ารอบใหม่นี้ลึกและรุนแรงกว่ารอบปี 2018 เพราะผลกระทบครอบคลุมวงกว้างกว่า และสหรัฐฯ อาจเสียหายมากกว่าเดิม โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ขณะที่จีนหันไปพึ่งพันธมิตรใหม่เช่น บราซิล อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

สงครามการค้าครั้งนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องตัวเลขการส่งออกหรือภาษีอีกต่อไป แต่เป็นการต่อสู้เพื่อความเป็นใหญ่ด้านเทคโนโลยี อำนาจทางเศรษฐกิจ และการนิยามระเบียบโลกใหม่ที่อาจไม่ใช่โลกเสรีแบบที่เรารู้จัก

ติดตามได้ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน Arctic วันพุธที่ 30 เมษายน 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ภาษีศุลกากร อาวุธหนักแห่งสงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ

นับตั้งแต่จีนเข้าสู่ระบบการค้าเสรีแบบเต็มตัวจากการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกหรือ WTO เมื่อปี 2001 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าจีนอย่างหนักติดต่อกันนานกว่า 3 ทศวรรษ

ปี 2023 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากจีนคิดเป็นมูลค่า 427,000 ล้านดอลลาร์ แต่สินค้าที่ส่งออกไปจีนมีเพียง 148,000 ล้านดอลลาร์ นั่นเท่ากับว่า สหรัฐขาดดุลการค้าจีนอยู่ถึง 279,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ทำให้ 2 เมษายน 2025 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ทำสิ่งที่ไม่ใครคาดคิดและกำลังจะเปลี่ยนระเบียบการค้าโลกไปอีกนาน นั่นคือ การประกาศปลดปล่อยสหรัฐฯ ออกจากการถูกเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากชาวโลก

เครื่องมือที่ถูกนำมาใช้คือ ภาษีศุลกากร

แผ่นบอร์ดในมือของผู้นำสหรัฐฯ มีชื่อประเทศต่าง ๆ หลายสิบประเทศที่ถูกระบุว่าเอาเปรียบทางการค้าสหรัฐฯ ซึ่งหมายเลขหนึ่งคือ จีน ทรัมป์เปิดฉากด้วยการขึ้นภาษีสินค้าจีนร้อยละ 34 พร้อมภาษีพื้นฐานร้อยละ 10 กับสินค้าทั่วโลก และขู่ว่า หากใครไม่อยากโดนภาษี ต้องย้ายฐานการผลิตกลับมาสหรัฐฯ

จีนในฐานะชาติใหญ่ด้านเศรษฐกิจและคู่แข่งสำคัญของสหรัฐฯ ตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีศุลกากรร้อยละ 34 ตามมาด้วยการโต้กลับกันอีกหลายรอบ

ภายใน 8 วันหลังทรัมป์ปลดปล่อยอเมริกา สินค้าจีนที่เข้าสหรัฐฯ เจอภาษีสูงถึงร้อยละ 145 และสินค้าสหรัฐฯ ที่เข้าไปจีนโดนภาษีร้อยละ 125 ตลาดหุ้นร่วงหนัก พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ถูกเทขายไม่น้อยภายในสงครามการค้าแค่ 3 วัน

ชิป ไพ่ตายสงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ

ท่ามกลางความผันผวน ทรัมป์ยอมถอยบางส่วน เช่น ชะลอขึ้นภาษีสินค้ากลุ่มเทคโนโลยี แต่เดินหน้าสู้กับจีนต่อโดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มไมโครชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ที่มีความสำคัญต่อทั้งเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ เพราะ ชิปคือหัวใจของเทคโนโลยี ตั้งแต่สมาร์ทโฟน จนถึงขีปนาวุธ

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯ พยายามควบคุมองค์ความรู้และการผลิตสินค้ากลุ่มชิปไม่ให้ตกไปอยู่ในมือจีน และชิปถือเป็นเครื่องมือในการทำสงครามการค้ามาตลอด

ในยุคประธานาธิบดีไบเดน สหรัฐฯ ต้องลดการพึ่งพาจีน จึงออกกฎหมาย CHIPS and Science Act สนับสนุนการผลิตชิปในประเทศ พร้อมกับขึ้นภาษีสินค้าจากจีน ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ และไมโครชิป

แต่การแข่งขันทางการค้ามาดุเดือดในยุคของทรัมป์

หลังเกิดสงครามการค้า จีนตอบโต้ด้วยการระงับการส่งออกแร่หายาก (Rare Earth) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเทคโนโลยีล้ำสมัย ทั้งของพลเรือนและทหาร

นี่คือไพใบใหญ่ในมือจีน เพราะปัจจุบัน จีนผลิตแร่หายากกว่าร้อยละ 60 ของตลาดโลก ทำให้ยิ่งตอกย้ำอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าสหรัฐฯ

สงครามการค้า ชิงความเป็นใหญ่ด้านเทคโนโลยี

แม้จะมีความพยายาม decoupling หรือแยกห่วงโซ่อุปทานจากจีน แต่โลกยุคใหม่ที่ทุกอย่างเชื่อมโยงกัน ทำให้การแยกเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะในสินค้าขั้นสูงอย่างเซมิคอนดักเตอร์

นักวิเคราะห์ประเมินว่าสงครามการค้ารอบใหม่นี้ลึกและรุนแรงกว่ารอบปี 2018 เพราะผลกระทบครอบคลุมวงกว้างกว่า และสหรัฐฯ อาจเสียหายมากกว่าเดิม โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ขณะที่จีนหันไปพึ่งพันธมิตรใหม่เช่น บราซิล อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

สงครามการค้าครั้งนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องตัวเลขการส่งออกหรือภาษีอีกต่อไป แต่เป็นการต่อสู้เพื่อความเป็นใหญ่ด้านเทคโนโลยี อำนาจทางเศรษฐกิจ และการนิยามระเบียบโลกใหม่ที่อาจไม่ใช่โลกเสรีแบบที่เรารู้จัก

ติดตามได้ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน Arctic วันพุธที่ 30 เมษายน 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย