ในอดีตสงครามคือการเผชิญหน้าตัวต่อตัวบนสนามรบ แต่ในโลกศตวรรษที่ 21 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการรบแบบดั้งเดิม อุปกรณ์ไร้คนขับอย่างโดรน เข้ามามีบทบาทในการรบในโลกสมัยใหม่ โลกที่อุปกรณ์ราคาหลักหมื่น ขับเคี่ยวกับยุทโธปกรณ์หลักล้านอย่างสูสี จากตะวันออกกลางจนถึงยูเครน นี่คือสนามการประลองกำลังกันด้วยโดรนที่ดุเดือดและเข้มข้นมากที่สุดในวันนี้
ปลายปี 2024 ที่ฐานใต้ดินแห่งหนึ่งไม่ไกลมากนักจากกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน โดรนหลากหลายรุ่นล่าสุดที่ประดิษฐ์โดยกองทัพยูเครนถูกวางจัดไว้เพื่อเตรียมอวดโฉมกับโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในขณะนั้น เนื่องจากบทบาทของอาวุธไร้คนขับที่มีอิทธิพลต่อสงครามที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปเป็นที่ประจักษ์ ทำให้บริษัทโดรนจำนวนมากสนใจเข้ามาลงทุนในยูเครน ผู้นำหลายชาติต้องการเห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของการทำสงคราม สงครามในยูเครนกลายเป็นฐานผลิตยุทโธปกรณ์ที่ผู้คนให้ความสนใจ
ข้อมูลล่าสุดจากหน่วยงานทางการยูเครนชี้ว่า ในระหว่างปี 2022 ถึง 2024 หรือสองปี ยูเครนมีผู้ผลิตโดรนมากกว่า 200 ราย
การผลิตโดรนเติบโตแบบก้าวกระโดด:
การผลิตโดรนจำนวนมหาศาลต้องอาศัยการทำงานระดับล่างสุดอย่างบุคคล ไปจนถึงระดับบนสุดอย่างโรงงานอุตสาหกรรมอย่างการซ่อมแซมด้วยมือมนุษย์ที่ศูนย์ซ่อมโดรน ไปจนถึงการใส่เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มอานุภาพที่ต้องใช้การผลิตระดับโรงงานอุตสาหกรรม
โดรนลำเล็กทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าพร้อมอุปกรณ์ที่ดูมีขนาดใหญ่กว่าตัวภายใต้การควบคุมของทหารหญิง ทั้งแม่นยำ ราคาไม่แพง มีอำนาจในการทำลายล้าง คือนิยามของยุทโธปกรณ์แห่งยุคใหม่ทหารจากหน่วยโดรนบอกว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
โดรนนี้จะถูกผูกไว้กับพื้นด้วยสายเคเบิลใยแก้วนำแสงบาง ๆ ซึ่งจะคลายออกเมื่อโดรนบินไกลจากตัวควบคุมและระบบก่อกวนอิเล็กทรอนิกส์ของฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถทำลายหรือก่อกวนให้ตกได้ซึ่งแตกต่างจากโดรนที่ควบคุมด้วยวิทยุ
สงครามที่ลากยาวทำให้ยูเครนยกระดับการรบด้วยโดรนไปสู่เส้นทางใหม่ นั่นคือการสู้รบด้วยโดรนเรือ ที่สามารถทำให้ยูเครนต่อกรกับกองเรือดำอันเกรียงไกรของรัสเซียในทะเลดำได้ แม้จะไม่มีกองเรือเป็นของตนเองก็ตาม
โดรนเรือหลักสองตัวของยูเครนที่ใช้ในปฏิบัติการทะเลดำคือ Sea Baby และ MAGURA V5 พัฒนาโดยหน่วยข่าวกรองความมั่นคงยูเครน ที่ได้สร้างวีรกรรมทางการทหารในฐานะโดรนทางทะเลลำแรกที่จมเรือรบได้สำเร็จในการสู้รบจริง
ที่ศูนย์ซ่อมโดรนพื้นที่รวมช่างมากฝีมือของยูเครน ทุกครั้งที่หัวแร้งเจาะที่ตัวโดรนจะมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโดรนเหล่านี้ให้พร้อมรบช่างซ่อมโดรนบอกกับเราว่า งานของพวกเขาคือ การกำจัดข้อบกพร่องของโดรนที่เพิ่งได้รับการทดสอบ และพัฒนาโมเดลใหม่ของโดรนจากการโหลดแบบพิมพ์สามมิติในอินเทอร์เน็ต
ในส่วนที่ระดับใหญ่ขึ้นอย่างอุตสาหกรรม ยูเครนกำลังผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้าไปในโดรน ทำให้สามารถล็อกเป้าหมายที่ระบุได้โดยผู้ปฏิบัติการในช่วงสุดท้ายของการบินก่อนจะเกิดระเบิดได้ การทำเช่นนี้ช่วยให้โดรนสู้กับระบบก่อกวนและระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียได้ดีขึ้น ไม่เฉพาะจำนวนที่มากขึ้น แต่โดรนของยูเครนมีพิสัยการทำการได้ไกลมากขึ้น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ฐานทัพอากาศเอนเกลส์-2 หนึ่งในฐานทัพหลักของกองทัพอากาศรัสเซียที่ตั้งอยู่ในนครซาราตอฟ ห่างจากชายแดนยูเครนไปกว่า 700 กิโลเมตร ถูกโดรนหลายลำพุ่งถล่มเข้าใส่เป้าหมาย คือคลังเก็บขีปนาวุธของรัสเซีย หลักฐานจากภาพถ่ายดาวเทียมบ่งชี้ถึงความเสียหายหนัก ฐานทัพแห่งนี้เป็นที่ประจำการของเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียหลายรุ่น
หลังการโจมตีฐานทัพอากาศเอนเกลส์-2 โดรนจากยูเครนก็ถูกส่งเข้าดินแดนรัสเซียต่อเนื่อง เป้าหมายหลายจุดเป็นคลังน้ำมัน - แหล่งรายได้หลักของรัฐบาลรัสเซีย คลังน้ำมันทั้งหมดที่ตกเป็นเป้าโจมตีตั้งอยู่ห่างจากชายแดนยูเครนไม่น้อยกว่า 500 กิโลเมตร เป็นเป้าหมายที่ยูเครนต้องการทำลายแต่ก่อนหน้านี้ทำไม่ได้เนื่องจากไม่มีอาวุธที่มีพิสัยไกลพอ
ต้นปี 2024 ยูเครนได้ร้องขอไปที่รัฐบาลสหรัฐ ที่ในขณะนั้นยังอยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เพื่อขอให้ไฟเขียวอนุญาตให้ยูเครน ใช้ระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธีกองทัพบกหรือ ATACMS ซึ่งมีพิสัยทำการไกลประมาณ 350 กิโลเมตร ที่สามารถยิงเข้าทำลายคลังอาวุธของรัสเซียในดินแดนรัสเซียได้ ซึ่งประธานาธิบดีไบเดนก็ไฟเขียวในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567
แต่การเปิดทางให้ยูเครนใช้ ATACMS ไม่เพียงช้าเกินไป ยังเกิดขึ้นท่ามกลางข้อจำกัด คือหัวรบที่สหรัฐฯ ให้มีจำนวนหลักสิบหัวเท่านั้น ยูเครนจำเป็นต้องหาทางออกอื่น
โดรนที่มีพิสัยไกลถึง 1,000 กิโลเมตร ที่ผลิตได้เองจึงอาจจะคือคำตอบ แต่จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดหรือไม่? โดรนเหล่านี้จะสามารถชดเชยหรือทดแทนขีปนาวุธระยะไกลจากสหรัฐได้หรือไม่ ยังคงเป็นคำถาม
ติดตามได้ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน โดรน โฉมหน้าสงครามในอนาคต วันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
สงครามนิวเคลียร์
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
สงครามการค้าสะเทือนโลก
แคชเมียร์ จุดปะทะ 2 ชาตินิวเคลียร์เอเชียใต้
โดรน โฉมหน้าสงครามในอนาคต
สงครามน้ำ อินเดีย-ปากีสถาน
เอลซัลวาดอร์ อาชญากรรม เรือนจำและความหวัง
ศึก 2 ตระกูล อิทธิพลแห่งฟิลิปปินส์
17.00 น. EP.60 เงิน 12 ล้าน…สะท้านองค์กรอิสระ | FlashTalk | 11 มิ.ย. 68
ดีอาร์คองโก - สมรภูมิเลือดที่โลกลืม ตอนที่ 1
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
สงครามนิวเคลียร์
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
สงครามการค้าสะเทือนโลก
แคชเมียร์ จุดปะทะ 2 ชาตินิวเคลียร์เอเชียใต้
โดรน โฉมหน้าสงครามในอนาคต
สงครามน้ำ อินเดีย-ปากีสถาน
เอลซัลวาดอร์ อาชญากรรม เรือนจำและความหวัง
ศึก 2 ตระกูล อิทธิพลแห่งฟิลิปปินส์
17.00 น. EP.60 เงิน 12 ล้าน…สะท้านองค์กรอิสระ | FlashTalk | 11 มิ.ย. 68
ดีอาร์คองโก - สมรภูมิเลือดที่โลกลืม ตอนที่ 1