กว่า 70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นสิ่งที่โลกหวาดกลัว แต่ก็ยังเป็นเป้าหมายของชาติที่ต้องการ “อำนาจสูงสุด” ในการต่อรอง โดยเฉพาะกับอิหร่าน
โครงการนิวเคลียร์อิหร่านเริ่มต้นจากความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในทศวรรษ 1950 โดยสหรัฐได้ประโยชน์ด้านสัมปทานน้ำมัน ได้อิหร่านเป็นตัวขวางอิทธิพลของสหภาพโซเวียต เพื่อแลกกับการค้ำบัลลังก์ให้พระเจ้าชาห์ แต่หลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979 ทุกอย่างพลิกผัน อิหร่านหันหลังให้ตะวันตก ภายใต้หลักศาสนา อิหร่านไม่ต้องการพัฒนานิวเคลียร์เพราะเป็นสัญลักษณ์ของชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม จุดเปลี่ยนสำคัญของโครงการนิวเคลียร์เกิดขึ้นเมื่ออิหร่านถูกอิรักบุก
อิหร่านไม่ต้องการพัฒนานิวเคลียร์เพราะเป็นสัญลักษณ์ของชาติตะวันตก แต่เมื่อเมื่ออิหร่านถูกอิรักโจมตี ความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น อัคบาร์ ฮาเชมี ราฟซันจานี ประธานาธิบดีอิหร่านในขณะนั้นตัดสินใจนำโครงการพัฒนานิวเคลียร์กลับมา
สิงหาคม ปี 2002 หน่วยข่าวกรองของชาติตะวันตกออกมาเปิดเผยว่า อิหร่านประสบความสำเร็จในการมีโรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียมแห่งแรกที่มีชื่อว่า นาทันซ์ ก่อนที่ในปี 2008 ซึ่งเป็นปีที่มีรายงานการมีอยู่ของโรงงานเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมนาทันซ์
อิหร่านทำการทดสอบขีปนาวุธที่มีพิสัยการยิงไปถึงอิสราเอล โดยได้เดินหน้าผลิตและทดสอบ จนสร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐฯ และชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค นับแต่นั้นความหวาดระแวงระหว่างอิหร่านกับอิสราเอลก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
หนึ่งในชาติที่หวาดระแวงโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านมากที่สุดคือ อิสราเอล ในช่วงที่มาห์มูด อัคมาดิเนจาดเป็นผู้นำอิหร่าน
อิสราเอลมีนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ เบนจามิน เนทันยาฮู ซึ่งชนะเลือกตั้งในปี 2009 หลังรับตำแหน่งคือ เนทันยาฮูรีบเดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อโน้มน้าวประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ ให้จัดการกับอิหร่าน แต่ไม่สำเร็จ เพราะนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนไปหลังจากล้มเหลวในการทำสงครามในตะวันออกลาง
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา อิหร่านพยายามเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียม โดยยืนยันว่าทำเพื่อการแพทย์และพลังงาน ทว่าเมื่อระดับความบริสุทธิ์พุ่งแตะ 60% ซึ่งใกล้ระดับผลิตอาวุธ ความหวาดระแวงของโลกก็ตามมา
ที่ผ่านมา โลกพยายามหาข้อตกลงกับอิหร่านเพื่อไม่ให้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ข้อตกลงดังกล่าวมีชื่อว่า JCPOA ทำเมื่อปี 2015 และมีผลทำให้อิหร่านยอมจำกัดโครงการ แลกกับการยกเลิกคว่ำบาตร แต่เมื่อทรัมป์ถอนตัวในปี 2018 ทุกอย่างก็พังทลาย ทรัมป์ประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงนี้ เนื่องจากมองว่าชาติตะวันตกยอมอิหร่านมากเกินไป โครงการนิวเคลียร์อิหร่านดำเนินไปอย่างเงียบ ๆ หลังจากนั้น
จนกระทั่งเดือนมิถุนายน 2025 องค์การพลังงานปรมาณูสากล (IAEA) เปิดเผยว่าอิหร่านครอบครองยูเรเนียมเกิน 400 กิโลกรัม ซึ่งมากพอสำหรับผลิตหัวรบนิวเคลียร์ถึง 9 ลูกภายในเวลาไม่กี่เดือน
24 ชั่วโมงถัดมา อิสราเอลส่งเครื่องบินรบกว่า 200 ลำ ถล่มศูนย์วิจัยและโรงงานนิวเคลียร์อิหร่าน ตามมาด้วยพันธมิตรอย่าง สหรัฐฯ ที่ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด B-2 โจมตีโรงงานใต้ภูเขาด้วย GBU-57
ทรัมป์ประกาศว่า “โครงการนิวเคลียร์อิหร่านจบลงแล้ว” แต่รายงานข่าวกรองกลับระบุว่า อิหร่านอาจย้ายยูเรเนียมออกก่อนการโจมตี
อิหร่านตอบโต้ทันที ผู้นำสูงสุดอยาตอลเลาะห์ คาเมเนอี ชี้ว่า ทรัมป์พูดเกินจริง และประกาศว่าอิหร่านจะไม่หยุดการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์
ปัจจุบัน ความพยายามทางการทูตล้มเหลว ไม่มีใครตอบได้ว่าอิหร่านจะกลับมาคุยข้อตกลงนิวเคลียร์อีกหรือไม่
หากวันหนึ่งอิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์อย่างแท้จริง นั่นอาจไม่ใช่แค่การเปลี่ยนดุลอำนาจในตะวันออกกลาง แต่จะทำให้ “พลังงานเพื่อสันติภาพ” กลายเป็น “อาวุธเพื่อความอยู่รอด” ในภูมิภาคที่อำนาจชาติผูกติดกับหัวรบ การมีระเบิดนิวเคลียร์จึงไม่ใช่ทางเลือก แต่คือหลักประกันในการอยู่รอดของระบอบอิสลามอิหร่าน
ติดตามได้ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน อิหร่าน นิวเคลียร์เขย่าโลก วันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
สงครามนิวเคลียร์
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
สงครามการค้าสะเทือนโลก
แคชเมียร์ จุดปะทะ 2 ชาตินิวเคลียร์เอเชียใต้
โดรน โฉมหน้าสงครามในอนาคต
สงครามน้ำ อินเดีย-ปากีสถาน
เอลซัลวาดอร์ อาชญากรรม เรือนจำและความหวัง
ศึก 2 ตระกูล อิทธิพลแห่งฟิลิปปินส์
ดีอาร์คองโก - สมรภูมิเลือดที่โลกลืม ตอนที่ 1
ดีอาร์คองโก - สมรภูมิเลือดที่โลกลืม ตอนที่ 2
สหรัฐฯ - อิหร่าน คู่แค้นครึ่งศตวรรษ
อิสราเอล - อิหร่าน คู่แค้นครึ่งศตวรรษ
เคอร์ดิสถาน ชาติไร้รัฐและอนาคตตะวันออกกลาง
อิหร่าน นิวเคลียร์เขย่าโลก
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
ยูเครน จุดร้อนแห่งศตวรรษ
ทะเลดำ ผืนน้ำแห่งความขัดแย้ง
บอลติก ด่านหน้าชาตินาโต
ซาเฮล หลุมดำแห่งจีฮัดและขุมทรัพย์ของมหาอำนาจ
คาบสมุทรเกาหลี สงครามที่ไม่มีวันจบ
ไต้หวัน จุดร้อนแห่งเอเชีย
ทะเลจีนใต้ จุดปะทะของมหาอำนาจในอินโด-แปซิฟิก
การกลับมาของชายที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมป์
สงครามนิวเคลียร์
จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น
สงครามซีเรีย ตอนที่ 1 อเลปโปล่ม
สงครามซีเรีย ตอนที่ 2 การล่มสลายของระบอบอัล-อัสซาด
สงครามรถยนต์ไฟฟ้า
โปแลนด์ : เสาหลักความมั่นคงของยุโรป
กรีนแลนด์ ด่านหน้าสมรภูมิอาร์กติก
เกาหลีใต้ เสาหลักประชาธิปไตยแห่งเอเชีย
โคลอมเบีย ดินแดนเดือด แห่งลาตินอเมริกา
ปานามา ในเงื้อมมือของมหาอำนาจ
เวสต์แบงก์ อนาคตที่ริบหรี่ของรัฐปาเลสไตน์
จอร์เจีย จุดเสี่ยงแห่งคอเคซัส
2 ฝั่งแอตแลนติกร้าวสะเทือนโลก
ฉนวนกาซา ประวัติศาสตร์การพลัดถิ่น
ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความสุขใต้เงาสงคราม
เชชเนีย ความขมขื่นแห่งคอเคซัส
เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง
ทะเลแดง สมรภูมิใหม่ในตะวันออกกลาง
อาร์กติก ดินแดนหนาวเหน็บที่ร้อนระอุ
สงครามการค้าสะเทือนโลก
แคชเมียร์ จุดปะทะ 2 ชาตินิวเคลียร์เอเชียใต้
โดรน โฉมหน้าสงครามในอนาคต
สงครามน้ำ อินเดีย-ปากีสถาน
เอลซัลวาดอร์ อาชญากรรม เรือนจำและความหวัง
ศึก 2 ตระกูล อิทธิพลแห่งฟิลิปปินส์
ดีอาร์คองโก - สมรภูมิเลือดที่โลกลืม ตอนที่ 1
ดีอาร์คองโก - สมรภูมิเลือดที่โลกลืม ตอนที่ 2
สหรัฐฯ - อิหร่าน คู่แค้นครึ่งศตวรรษ
อิสราเอล - อิหร่าน คู่แค้นครึ่งศตวรรษ
เคอร์ดิสถาน ชาติไร้รัฐและอนาคตตะวันออกกลาง
อิหร่าน นิวเคลียร์เขย่าโลก