ตลาดวโรรส หรือกาดหลวงของเมืองเชียงใหม่ เมื่ออดีตพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นข่วงเมรุที่ใช้สำหรับจัดพิธีศพของเจ้าหลวงเชียงใหม่มาก่อน แต่หลังเสร็จสิ้นงานพระศพของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงองค์ที่7 ของเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2444 เจ้าแก้วนวรัฐ ซึ่งเป็นโอรสของพระองค์ได้สร้างตลาดแม่ข่าขึ้นบนพื้นที่ดังกล่าว
ต่อมา พระเจ้าอินทวโรรสก็ขอซื้อตลาดพร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น “ตลาดวโรรส” แต่หลังจากที่พระเจ้าอินทวโรรสถึงแก่พิลาลัย ด้วยปัญหาเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของตลาด ทำให้ในปี พ.ศ.2456 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีต้องเข้ามาซื้อและบริหารตลาดด้วยพระองค์เอง อีกทั้งได้พัฒนาปรับปรุงตลาดให้ดีขึ้น สร้างเป็นโรงเรือนสำหรับนั่งขายของจนถึง พ.ศ.2476 ที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีสิ้นพระชนม์ ตลาดวโรรสก็ต้องเปลี่ยนเจ้าของอีกครั้งโดยมีเจ้าแก้วนวรัฐซึ่งในเวลานั้นครองตำแหน่งเจ้าหลวงองค์ที่ 9 พร้อมพระญาติของท่านรับช่วงร่วมกันดูแลตลาดเรื่อยมา
ตลาดวโรรสถือเป็นตลาดใหญ่และสำคัญของคนเชียงใหม่และรอบนอก ทว่าปี พ.ศ. 2511 เหตุการณ์ไฟไหม้ตลาดถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ซึ่งทางหนึ่งได้ทำให้ชีวิตชาวตลาดต้องล้มสลายไป เกิดการโยกย้ายถิ่นฐานและที่ทำมาหากินของเหล่าพ่อค้าแม่ขาย แต่ในอีกทางหนึ่งก็นำการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์เมื่อตระกูลนิมมานเหมินท์-ชุติมา เข้าเป็นเจ้าของ และพัฒนาปรับปรุงรูปแบบตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น จากแรกสร้างถึงปัจจุบันแม้บทบาทและสถานะของตลาดวโรรสจะผันเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่ก็คือ เป็นตลาดคู่เมืองเชียงใหม่นั่นเอง
ติดตามในรายการ จากรากสู่เรา ตอน กาดหลวงเชียงใหม่ : จากสุสานเก่า สู่ตลาดคู่เมือง วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
จากรากสู่เรา
เจริญกรุง - ถนนตก : ชาวเดนมาร์ก และรถรางสายแรกของเอเชีย
โต๊ะจีนกับวัฒนธรรมกินเลี้ยงของสังคมไทย
มุสลิมบางกอกน้อย : แขกแพ ข้าวหมกสามสี และที่นอนยัดนุ่น
หนังสือพิมพ์จีน การส่งผ่านแนวคิดทางการเมืองในสังคมไทย
จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์
จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์
ย่านประดิพัทธ์ สะพานควาย กับการขยายเมืองทางตอนเหนือของพระนคร
ชุมชนประชานฤมิตร จากสวนผลไม้ สู่ถนนสายไม้แห่งบางโพ
ชุมชนมัสยิดยะวา
สี่แยกราชประสงค์ : รู้จักย่านธุรกิจใหญ่ ด้วยความเข้าใจพื้นที่เก่า
สุสาน - ป่าช้า : พื้นที่ประวัติศาสตร์ของเมือง
ชาวปาร์ซี บนเส้นเวลาประวัติศาสตร์สยาม
การไปรษณีย์โทรเลข : เล่าเรื่องวันวาน สู่ดิจิทัลอิโคโนมี่
ประวัติศาสตร์แฟชั่น จากผ้าแถบ และรัฐนิยม สู่ Y2K
เชียงใหม่ : สร้างบ้านแปงเมือง
แกงโฮะหม้อใหญ่: เชียงใหม่เมืองพหุวัฒนธรรม
ล้านนาลายมังกร : ตำนานการค้าขายของจีนฮ่อ-จีนโพ้นทะเล
กาดหลวงเชียงใหม่ : จากสุสานเก่า สู่ตลาดคู่เมือง
เชียงใหม่กับฝรั่งค้าไม้ : ช่วงชีวิตที่รุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง
คนซิกข์และฮินดู : อัตลักษณ์ ความสัมพันธ์และวัฒนธรรมล้านนา
241 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ : จากรากและกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง
ชุมชนมุสลิมจีนในเชียงใหม่ ชาติพันธุ์ ศาสนา และการรักษาอัตลักษณ์
สมโภช 700 ปี เชียงใหม่ กับทิศทางฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนา
ภาพถ่ายเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์และความทรงจำของคนเมือง
หมอสอนศาสนา: กับยุคเปลี่ยนผ่านของเชียงใหม่
เชียงใหม่เมืองท่องเที่ยว ย่านวัดเกตการาม คลองโอตารุเชียงใหม่
โฟล์คซองคำเมือง วัฒนธรรมคนเมืองในบทเพลง และอาหาร
คนเมืองเชียงใหม่ : ญี่ปุ่นและจีนอพยพใหม่
อัญมณีแห่งบูรพาทิศ : จันทบุรีและบ้านเมืองภาคตะวันออก
เมืองท่าริมเขาสระบาป : จันทบุรียุคแรกเริ่ม
จากรากสู่เรา
เจริญกรุง - ถนนตก : ชาวเดนมาร์ก และรถรางสายแรกของเอเชีย
โต๊ะจีนกับวัฒนธรรมกินเลี้ยงของสังคมไทย
มุสลิมบางกอกน้อย : แขกแพ ข้าวหมกสามสี และที่นอนยัดนุ่น
หนังสือพิมพ์จีน การส่งผ่านแนวคิดทางการเมืองในสังคมไทย
จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์
จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์
ย่านประดิพัทธ์ สะพานควาย กับการขยายเมืองทางตอนเหนือของพระนคร
ชุมชนประชานฤมิตร จากสวนผลไม้ สู่ถนนสายไม้แห่งบางโพ
ชุมชนมัสยิดยะวา
สี่แยกราชประสงค์ : รู้จักย่านธุรกิจใหญ่ ด้วยความเข้าใจพื้นที่เก่า
สุสาน - ป่าช้า : พื้นที่ประวัติศาสตร์ของเมือง
ชาวปาร์ซี บนเส้นเวลาประวัติศาสตร์สยาม
การไปรษณีย์โทรเลข : เล่าเรื่องวันวาน สู่ดิจิทัลอิโคโนมี่
ประวัติศาสตร์แฟชั่น จากผ้าแถบ และรัฐนิยม สู่ Y2K
เชียงใหม่ : สร้างบ้านแปงเมือง
แกงโฮะหม้อใหญ่: เชียงใหม่เมืองพหุวัฒนธรรม
ล้านนาลายมังกร : ตำนานการค้าขายของจีนฮ่อ-จีนโพ้นทะเล
กาดหลวงเชียงใหม่ : จากสุสานเก่า สู่ตลาดคู่เมือง
เชียงใหม่กับฝรั่งค้าไม้ : ช่วงชีวิตที่รุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง
คนซิกข์และฮินดู : อัตลักษณ์ ความสัมพันธ์และวัฒนธรรมล้านนา
241 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ : จากรากและกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง
ชุมชนมุสลิมจีนในเชียงใหม่ ชาติพันธุ์ ศาสนา และการรักษาอัตลักษณ์
สมโภช 700 ปี เชียงใหม่ กับทิศทางฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนา
ภาพถ่ายเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์และความทรงจำของคนเมือง
หมอสอนศาสนา: กับยุคเปลี่ยนผ่านของเชียงใหม่
เชียงใหม่เมืองท่องเที่ยว ย่านวัดเกตการาม คลองโอตารุเชียงใหม่
โฟล์คซองคำเมือง วัฒนธรรมคนเมืองในบทเพลง และอาหาร
คนเมืองเชียงใหม่ : ญี่ปุ่นและจีนอพยพใหม่
อัญมณีแห่งบูรพาทิศ : จันทบุรีและบ้านเมืองภาคตะวันออก
เมืองท่าริมเขาสระบาป : จันทบุรียุคแรกเริ่ม